การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ จัดการกับอารมณ์ต่าง ๆ ของวัยรุ่น

สมองมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่ส่งผลทำให้เราเติบโตขึ้นทั้งทางร่างกายและความคิด การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของสมองนี้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เหมือนกับการเดินขึ้นบันไดทีละขั้นจากทารก เป็นเด็กเล็ก เป็นเด็กโต แต่พอสู่ช่วงวัยรุ่นปุ๊บ จากที่ค่อย ๆ เดินทีละก้าว ก้าวเดินทีละขั้น ก็เป็นก้าวกระโดดแบบพรวดพราดทันที การเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดนี้จะส่งผลต่อการเติบโตทั้งทางร่างกายของวัยรุ่นอย่างรวดเร็ว เช่น สูงขึ้น แขนขายาว เด็กผู้ชายเสียงแหบ หนวดเคราขึ้น นมแตกพาน ฝันเปียก เด็กผู้หญิงก็เป็นสาว มีประจำเดือน เต้านมขยาย สะโพกผาย และมีความรู้สึกนึกคิด การรับรู้สิ่งต่าง ๆ ในแบบใหม่ วัยรุ่นจึง

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ จัดการกับอารมณ์ต่าง ๆ ของวัยรุ่นเชิงลบ

  • อยากเป็นอิสระ ไม่ชอบอยู่ภายใต้ระเบียบ กฎเกณฑ์
  • เชื่อความคิดตนเอง ชอบคิดเอง ทำเอง พึ่งตัวเอง
  • มีความอยากรู้อยากเห็นอยากลองสูงสุด
  • อาจจะไม่ค่อยสนิทสนมคลุกคลีกับพ่อแม่ที่น้องหมือนกัน แต่จะสนใจเพื่อนมากกว่า
  • อยากได้รับการยอมรับ อยากเป็นที่สนใจ
  • เริ่มมีความสนใจเพศตรงข้าม และเป็นวัยรุ่นอย่างที่ผู้ใหญ่เคยเป็นมาก่อน

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ จัดการกับอารมณ์ต่าง ๆ ของวัยรุ่นเชิงบวก

  • อยู่กับสิ่งที่ตนเองชื่นชอบได้เป็นระยะเวลานาน ๆ โดยเฉพาะงานอดิเรกที่สนใจ
  • ชื่นชอบการท่องเที่ยว ผจญภัย การมองหาสถานที่ และพื้นที่ใหม่ ๆ ให้กับชีวิต
  • ขยันเรียน ขยันทำงานมากขึ้น เนื่องจาก เกิดความตระหนักว่า ตัวเองกำลังจะเป็นผู้ใหญ่
  • อยากรับผิดชอบ กระตือรือร้น แสวงหาทักษะ หรือความสามารถพิเศษในตัวเอง
  • มีจินตนาการที่จะข้ามผ่านกรอบ หรือกฎเกณฑ์ และธรรมเนียมปฏิบัติ
  • เปิดรับข้อมูลมาก การปลูกฝังสำนึกที่ดีให้กับเด็กควรจะเกิดขึ้นในช่วงวัยนี้

เราทราบมาตลอดว่า สมองของเด็กในช่วง 1 – 3 ขวบ จะมีพัฒนาการสูงสุดแต่จริง ๆ มีมากกว่านั้น การศึกษาเรื่องสมอง พบว่า นอกจาก สมองจะพัฒนาอย่างสูงใน 3 ขวบปีแรกแล้ว สมองจะพัฒนาสูงสุดในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น คือ ช่วง 11 ปีในเด็กผู้หญิง และ 12 ปีในเด็กผู้ชาย จนถึงอายุ 25 ปี จากนั้นสมองก็จะพัฒนาน้อยลง สมองวัยรุ่นจะขึ้นกับระบบลิมบิกที่เกี่ยวกับอารมณ์ และพฤติกรรมมากกว่าสมองคอร์เท็กส่วนหน้าที่ควบคุมการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล หมายความว่า เด็กวัยรุ่นอารมณ์จะมาก่อนเหตุผล ซึ่งทำให้ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจวิธีคิดของเด็กวัยรุ่น บางครั้งเมื่อผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ เพราะไม่เป็นอย่างที่ผู้ใหญ่คิดจะรู้สึกโกรธ ดุด่าว่ากล่าวไปบ้าง

เมื่อผู้ใหญ่ไม่เข้าใจก็เลยมองว่า วัยรุ่นมีปัญหา แต่จริง ๆ แล้ววัยรุ่นกำลังเผชิญกับการปรับตัวครั้งใหญ่ทั้งทางอารมณ์ สังคม การรับรู้ เข้าใจในสิ่งต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่นมีผลอย่างมากต่อการทำงานของสมองในช่วงนี้ “ออกซิโตซิน” ซึ่งถูกเรียกว่า เป็นฮอร์โมนแห่งความรักและผูกพัน จะส่งผลต่อระบบลิมบิกที่ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ทำให้เด็กวัยรุ่นเชื่อมั่นให้กับตัวเอง รู้สึกพอใจในตัวเอง รู้สึกเหมือนมีคนมองดูอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็อาจจะทำให้เด็กวัยรุ่นคิดว่า ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล

เด็กวัยรุ่นอยากจะดูเท่ห์ ดูเก๋ ในสายตาเพื่อน อยากได้รับการยอมรับ อยากได้รับความสนใจ การอยู่รวมกลุ่มกับเพื่อน ๆ เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ การเจรจาต่อรอง การประนีประนอม และการวางแผนทำอะไรกันในกลุ่มเป็นการฝึกทักษะนี้ได้อย่างปลอดภัยในกลุ่มเพื่อน ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องใช้ต่อไปในอนาคต

ผู้ใหญ่ก็ไม่ควรมองเด็กว่า สุ่มหัวกันทำอะไรไม่ดี แต่ก็ต้องคอยสอดส่องอย่างแนบเนียนบ้าง เพราะถ้ารอบตัวเด็กเป็นเพื่อที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ใช้ยาเสพติด หรือการเสี่ยงชีวิต เช่น แข่งรถ ประลองความเร็ว กีฬาโลดโผนก็อาจจะทำให้เด็กเสี่ยงตามเพื่อนไปด้วย เด็กวัยรุ่นเริ่มมองเห็นตัวเองว่า อยากเป็นคนแบบไหน อยากให้โลกที่ตัวเองอยู่เป็นแบบไหน เด็กวัยรุ่นมีคำตอบด้านเดียวให้กับคำถามที่ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ครู และผู้ใหญ่ ที่จะหมุนโลกด้านอื่น ๆ ให้เด็กวัยรุ่นได้เห็นไม่ตัดสินถูกหรือผิดให้ หรือเลือกเส้นทางให้เดิน

ผู้ใหญ่จึงควรจะเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของเด็กวัยรุ่น พวกเขาต้องการผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ใหญ่พอ พอที่จะรับฟัง ให้เวลา ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ดีจากการกระทำให้เห็นค่ะ เพื่อให้เด็กวัยรุ่นตัดสินใจในทางที่เหมาะสมได้เอง ซึ่งจะส่งผลต่อชีวิตของพวกเขาในอนาคต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *