แนวคิดปัจจัยประชากรศาสตร์ในด้านสุขภาพ

จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับปัจจัยประชากรศาสตร์ในด้านสุขภาพ การป้องกันตนเองและการปฏิบัติตนเพื่อการรักษาและการติดเชื้อ สรุปได้ว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ คือ ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรในด้านสุขภาพ การป้องกันตนเองและการปฏิบัติตนเพื่อการรักษาและการติดเชื้อ การรับประทานยา การดูแลสุขภาพตนเอง การติดตามข้อมูลข่าวสารสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการใส่ใจในสุขภาพของตนเอง รวมถึงความรู้ความเข้าใจในการดูแลตัวเอง โดยปัจจัยประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ซึ่งสามารถอธิบายตามการศึกษาของผู้ที่ได้ทำการศึกษาไว้ มีรายละเอียดดังนี้

1. เพศ

  • สมิทธิ์ บุญชุติมา (2558)[i] ได้กล่าวว่า เพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกันทั้งในด้าน พฤติกรรม ค่านิยม ทัศนคติ และความคิด
  • กนกวรรณ ช.เจริญยิ่ง (2564)[ii] กล่าวว่า ลักษณะจิตใจอ่อนไหวของผู้หญิงมีความแตกต่างจากลักษณะจิตใจของผู้ชายที่มีความเข้มแข็งและถูกชักจูงได้ยากกว่า จึงมีส่วนทำให้เพศหญิงและเพศชายมีทัศนคติที่แตกต่างกัน
  • นภัสวรรณ เร็วเรียบ (2564)[iii] กล่าวว่า เพศหญิงมีความตระหนักในเรื่องของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตนเองได้ดี มีการติดตามข่าวสารจากสื่อออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ สืบหาข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคที่มีผลต่อสุขภาพจนเกิดความตระหนักถึงความเสี่ยงในตนเอง
  • นพรดา ม้าสุวรรณ (2564, หน้า 61)[iv] กล่าวว่า ธรรมชาติของเพศหญิง เป็นเพศที่มีความละเอียดอ่อน มีความสนใจเกี่ยวกับรายละเอียดของการดูแลรักษาสุขภาพ เพศหญิงจึงให้ความสนใจเกี่ยวกับความรู้ทางด้านสุขภาพมากกว่าเพศชาย และระดับความรู้เกี่ยวพฤติกรรมสุขภาพที่ดีส่งผลให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมสุขภาพ และส่งผลให้มีคะแนนระดับสุขภาพมากกว่าเพศชาย          
  • Regina Ferreira Alves (2020)[v] ได้กล่าวว่า เพศชายมีปัญหาด้านสุขภาพที่แย่กว่าเพศหญิง เนื่องจาก โครงสร้างทางสังคมของความเป็นชาย เพศชายเป็นเพศที่ขาดแคลนแรงจูงใจในการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพนำไปสู่การมีพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงน้อย
  • ศุภลักษณ์ สุขไพบูลย์และคณะ (2559)[vi] ที่กล่าวว่า เพศชายมีพฤติกรรมการใช้ปฏิชีวนะที่ดีกว่าเพศหญิง อย่างไรก็ตาม อาจเป็นผลมาจากการที่เพศหญิงมักได้รับความรู้เกี่ยวกับการทานยา และใส่ใจกับเรื่องสุขภาพมากกว่าเพศชาย
  • จิราพร เกศพิชญาวัฒนา สุวิณี วิวัฒน์วานิช และชาตินัย หวานวาจา (2563)[vii] กล่าวว่า ผู้สูงอายุชายมีความรอบรู้ทางสุขภาพสูงกว่าผู้สูงอายุเพศหญิง

2. อายุ

  • กนกวรรณ ช.เจริญยิ่ง (2564)[viii] กล่าวว่า ผู้ที่อายุน้อยยังมีประสบการณ์ในชีวิตยังไม่มากเท่ากับผู้ที่มีอายุมากกว่า จึงเป็นผลทำให้มีทัศนคติที่แตกต่างกัน
  • ธานี กล่อมใจและคณะ (2563)[ix] พบว่า ประชากรที่มีอายุ 51 – 60 ปี มีพฤติกรรมการป้องกัน COVID-19 ดีที่สุด ซึ่งถือเป็นวัยผู้ใหญ่และมีวุฒิภาวะ อีกทั้งยังมีประสบการณ์ในการป้องกันตนเองจากโรคระบาดที่เคยเกิดขึ้น เช่น โรคไข้หวัดนก H5N1 จึงมีพฤติกรรมการป้องกันโรคได้ดีกว่าวัยอื่น
  • ศุภลักษณ์ สุขไพบูลย์และคณะ (2559)[x] กล่าวว่า อายุที่มากขึ้น ส่งผลต่อความรอบคอบ และการมีประสบการณ์ หรือการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ
  • จิราพร เกศพิชญาวัฒนา และคณะ (2563)[xi] กล่าวว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ โดยพบว่า อายุมีอิทธิพลในเชิงลบต่อความรู้ทางสุขภาพ กล่าวคือ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรอบรู้ทางสุขภาพน้อยลง

3. สถานภาพ

  • กนกวรรณ ช.เจริญยิ่ง (2564)[xii] กล่าวว่า สถานภาพการสมรสบ่งบอกว่า บุคคลนั้นมีคนรอบข้างที่เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตหรือไม่ เช่น คนโสด จะกลัวน้อยกว่าคนที่มีครอบครัว เพราะไม่เพียงแต่มีพ่อ แม่ พี่น้องที่ต้องห่วงใย หรือดูแลกันเท่านั้น แต่ยังมีภรรยา หรือสามี และลูกที่ต้องห่วงใย หรือดูแลกันด้วย บุคคลรอบข้างเหล่านี้ จึงมีส่วนที่จะทำให้ผู้ที่มีสภานภาพการสมรส แตกต่างกัน มีทัศนคติที่ต่างกันด้วย

4. ระดับการศึกษา

  • นีน่า ลาวิคกิ (2564) กล่าวว่า กลุ่มที่มีระดับการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี พบว่า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อดื้อยา และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่มีระดับการศึกษาสูงสุด คือ ปริญญาโทหรือสูงกว่า มีคะแนนด้านพฤติกรรมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาสูงกว่า ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการมีประสบการณ์เกี่ยวกับการทานยาปฏิชีวนะมากกว่า และมีการศึกษาเชิงลึกมากกว่ากลุ่มอื่น
  • จิราพร เกศพิชญาวัฒนา สุวิณี วิวัฒน์วานิช และชาตินัย หวานวาจา (2563)[xiii] กล่าวว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษา โดยพบว่า ระดับการศึกษามีอิทธิพลในเชิงบวกต่อความรู้ทางสุขภาพ กล่าวคือ เมื่อผู้สูงอายุมีระดับการศึกษาเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้มีความรอบรู้ทางสุขภาพมากขึ้น
  • Zhong และคณะ (2020)[xiv] ศึกษาเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ของชาวจีน จำนวน 6,910 คน ในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด – 19 พบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19
  • Hussein, Naquid, Jacksi, and Abdi (2020)[xv] ศึกษาเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ของชาวอิรัก โดยการเก็บข้อมูลแบบสำรวจทางออนไลน์ (online survey) จำนวน 1,959 คน พบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ของชาวอิรัก

5. อาชีพ

  • ศุภลักษณ์ สุขไพบูลย์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา และกวีไชยศิริ (2559)[xvi] กล่าวว่า การประกอบอาชีพ จะมีความเกี่ยวข้องกับการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการใช้ปฏิชีวนะ

6. รายได้เฉลี่ยต่อเดือน

  • นพรดา ม้าสุวรรณ (2564)[xvii] กล่าวว่า รายได้ครอบครัวต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อพฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ครอบครัวมากกว่า 300,000 บาท สัมพันธ์กับกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ มีระดับคะแนนทัศนคติ และระดับคะแนนพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ อาจเป็นเพราะกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่มีฐานะทางด้านเศรษฐกิจสูง มีโอกาสเข้าถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยหรือส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ จึงมีทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมสุขภาพ และปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
  • นีน่า ลาวิคกิ (2564)[xviii] กล่าวว่า จากผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 100,001 บาท ถึงแม้จะมีคะแนนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อดื้อยาสูงแต่กลับมีคะแนนด้านทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ และพฤติกรรมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาต่ำ อาจเป็นผลมาจากการที่กลุ่มผู้มีรายได้สูงมักทำงานหนักและไม่ค่อยมีเวลาว่างมากนัก จึงอาจไม่ได้เห็นความสำคัญของการทานยาอย่างถูกต้องเท่าที่ควร

[i] สมิทธิ์ บุญชุติมา. (2558). ทัศนคติของประชาชนชาวไทยต่อการใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันควบคุมโรค. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ประจำปี 2558 คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[ii] กนกวรรณ ช.เจริญยิ่ง. (2564). ทัศนคติต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

[iii] นภัสวรรณ เร็วเรียบ. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกัน COVID-19 ของคนไทยในตำบลป่ากอ อำเภอเมือง จังหวัดพังงา. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, 6(2),  38–51.

[iv] นพรดา ม้าสุวรรณ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, 6(2), 52–64.

[v] Regina Ferreira, Alves Catarina, Samonrinha Jose Precioso. (2020). Knowledge, attitudes and preventive behaviors toward COVID-19: a study among higher education students in Portugal. University of Minho Institute of Education, Bragn, Portugal. Journal of Health Research: Volume 35, issue 4.

[vi] ศุภลักษณ์ สุขไพบูลย์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา และ กวีไชยศิริ. (2559). พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน, ณ วิทยาลัยนครราชสีมา.

[vii] จิราพร เกศพิชญาวัฒนา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช และชาตินัย หวานวาจา. (2563). ความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรม/ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารประชากรศาสตร์, 36(2), 40–57.

[viii] กนกวรรณ ช.เจริญยิ่ง. (2564). ทัศนคติต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

[ix] ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้ และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2).

[x] ศุภลักษณ์ สุขไพบูลย์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา และ กวีไชยศิริ. (2559). พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน, ณ วิทยาลัยนครราชสีมา.

[xi] จิราพร เกศพิชญาวัฒนา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช และชาตินัย หวานวาจา. (2563). ความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรม/ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารประชากรศาสตร์, 36(2), 40–57.

[xii] กนกวรรณ ช.เจริญยิ่ง. (2564). ทัศนคติต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

[xiii] จิราพร เกศพิชญาวัฒนา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช และชาตินัย หวานวาจา. (2563). ความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรม/ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารประชากรศาสตร์, 36(2), 40–57.

[xiv] Zhong, B. L., Luo, W., Li, H. M., Zhang, Q. Q., Liu, x. G., Li, W. T., & Li, Y. (2020). Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: A quick online cross-sectional survey. International Journal of Biological Sciences, 16(10), 1745-1752. Doi: 10.7150/ijbs.45221.

[xv] Hussein, N. R., Naqid, I. A., Jacksi, K., & Abdi, B. A. (2020). Assessment of knowledge, attitudes, and practices toward COVID-19 virus among university students in Kurdistan region, Iraq: Online cross-sectional study. Journal of Family Medicine and Primary Care, 9(9), 4809-4814. Doi: 10.4103/jumps.jfmpc_870_20.

[xvi] ศุภลักษณ์ สุขไพบูลย์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา และ กวีไชยศิริ. (2559). พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน, ณ วิทยาลัยนครราชสีมา.

[xvii] นพรดา ม้าสุวรรณ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, 6(2), 52–64.

[xviii] นีน่า ลาวิคกิ. (2564). ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติและพฤติกรรมป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาของประชาชนที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, 6(2), 71–84.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *