ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การแก้ไขและป้องกันปัญหาเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (Adolescent Pregnancy)

“การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” หมายถึง การตั้งครรภ์ในสตรีที่มีอายุระหว่าง 10 – 19 ปี โดยถืออายุ ณ เวลาที่คลอดบุตร ซึ่งอาจะแบ่งได้เป็น adolescents คือ ช่วยอายุ 15 – 19 ปี และ younger adolescents คือ ช่วงอายุ 10 – 14 ปี สถานการณ์ในประเทศไทย พบว่า การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นเริ่มมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยลงเรื่อย ๆ

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความเสี่ยงมากกว่าการตั้งครรภ์ในผู้ใหญ่ปัญหาหลังคลอดมารดาภาวะโลหิตจางเกิดจากการได้รับธาตุเหล็กและโฟเลตไม่เพียงพอ โรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น วัณโรค โดยเฉพาะในผู้ติดเชื้อเอชไอวี มาลาเรีย พยาธิปากขอ การเสียเลือด ซึ่งภาวะโลหิตจางนี้จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหลังคลอดได้มากขึ้น

ภาวะครรภ์เป็นพิษ

ภาวะครรภ์เป็นพิษอาจถูกกระตุ้นได้มากในช่วงวันแรกหลังคลอด และพบว่า การชักครึ่งหนึ่งอาจเกิดหลังจากคลอด 3 วันแล้วได้ ซึ่งอุบัติการณ์ของภาวะเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุ แต่เนื่องจาก สตรีวัยรุ่นมักจะตั้งครรภ์เป็นครรภ์แรก จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเหล่านี้ได้มากขึ้น

การคุมกำเนิด

การคุมกำเนิดเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ในอนาคต ในสหรัฐอเมริกา พบว่า ร้อยละ 30 – 50 ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีการตั้งครรภ์ซ้ำในระยะเวลา 24 เดือน ทั้งนี้ เป็นผลจากการถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจาก ความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า สิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น

การคลอดในหญิงวัยรุ่นถือว่า มีความเสี่ยงสูง

ภาวะแทรกซ้อนในช่องคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นน้อยกว่าในผู้ใหญ่ โดยความเสี่ยงหลักขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางด้านสังคม และภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งมักตรวจพบได้ในระหว่างการฝากครรภ์ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ถึงแม้อุบัติการณ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นจะไม่ได้มีมากกว่า แต่ถ้าหากตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง หรือมีครรภ์เป็นพิษร่วมด้วย หญิงตั้งครรภ์กลุ่มนี้ควรได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาล และถือว่า อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง สำหรับภาวะโลหิตจางนั้นถึงแม้จะสามารถรักษาได้ในระหว่างการฝากครรภ์ แต่ถ้าหากตรวจพบได้ช้าก็จะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในช่องคลอด การคลอดก่อนกำหนดถือเป็นภาวะแทรกซ้อนหลักที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ถือว่า ไม่ได้ทำให้กระบวนการคลอดซับซ้อน แต่เพิ่มความเสี่ยงให้กับทารกทั้งในเรื่องการคลอดก่อนกำหนด และน้ำหนักตัวน้อย ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดนี้มักพบในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ gynecologic age น้อยกว่า 2 ปี และในหญิงกลุ่มนี้มีความเสี่ยงในการเกิดด้วย ทำให้ต้องได้รับการผ่าตัดคลอด หรือมีการใช้หัตถการช่วยคลอดเพิ่มมากขึ้น

การแก้ไขและป้องกันปัญหาเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ปัจจุบันปัญหาเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรเป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับประเทศไทย ขณะนี้ประเทศไทยมีเด็กวัยรุ่นตั้งครรภ์ถือเป็นอันดับ 2 ในประเทศแถบอาเซียน เรื่องนี้เป็นประเด็นที่สังคมหลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจและเร่งทำการป้องกันแก้ไข โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาแล้ว การแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่ครอบครัวทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย จะต้องร่วมกันรับผิดชอบเยียวยาแก้ไขและหาทางออกที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็กทั้งเด็กหญิงที่กำลังตั้งครรภ์และเด็กชายที่ร่วมการก่อกำเนิดทารก รวมทั้งเด็กทารกที่กำลังจะคลอดออกมา เนื่องจาก เด็กที่กำลังตั้งครรภ์ยังจำเป็นต้องเติบโตและพัฒนาในฐานะที่เป็นเด็กและเยาวชน ในขณะที่เด็กทารกก็ควรจะได้รับการเลี้ยงดูที่ดีเพียงพอที่จะทำให้เขาเติบโตและพัฒนาตามที่ควรจะเป็นสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเมื่อเกิดปัญหา ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องมักหาทางออกด้วยการจับเด็กที่ตั้งครรภ์แต่งงานและอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับฝ่ายชายที่มักจะเป็นเด็กด้วยกันทั้งสองฝ่าย ในความเป็นจริงการแต่งงานมิได้แก้ไขปัญหา เนื่องจาก เด็กทั้งสองฝ่ายยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสามีภริยารวมทั้งการเป็นพ่อแม่ ที่สำคัญ คือ พวกเขายังต้องพึ่งพิงผู้ปกครองในฐานะที่ยังเป็นเด็กจึงยังไม่อาจพึ่งตนเอง ยังต้องการเวลาและโอกาสอีกมาก ในการพัฒนาตนเองขึ้นมาจนสามารถพึ่งตนเองและเป็นที่พึ่งให้แก่สมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว จนสามารถก่อกำเนิดครอบครัวใหม่แยกจากครอบครัวเดิมของตนทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมทั้งยังต้องรับผิดชอบร่วมกันดูแลอีกชีวิตหนึ่งที่กำลังจะเกิดมา ดังนั้น ทางแก้ไขจึงควรจะพิจารณาถึงความรับผิดชอบของทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายที่จะต้องร่วมกันรับผิดชอบอย่างไรบ้าง แม้ว่า จะไม่ได้แต่งงานกัน ในการผ่อนเบาภาระต่าง ๆ ของครอบครัวที่ตนยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ พร้อมทั้งทุ่มเทเวลาและความสามารถในการพัฒนาตนเองด้านการศึกษาการฝึกอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องรับผิดชอบในการดูแลเลี้ยงดูทารกร่วมกันอย่างไร โดยมีครอบครัวและญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่าย ร่วมกันให้ความสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง ช่วยถ่ายทอดทักษะที่จำเป็นต่อการเลี้ยงดูเด็กทารก หากสมาชิกในครอบครัวไม่อาจช่วยเหลือถ่ายทอดด้วยตนเอง จะต้องแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้มีทักษะเชี่ยวชาญจากภายนอก ทั้งนี้ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือหรือแนะนำวิถีการดำเนินชีวิตของทั้งสองฝ่าย

ขอบคุณที่มาบทความ ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยปริญญา บุญยังมี องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกวาง โพธาราม ราชบุรี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *