โรคขาดโปรตีน โรคขาดพลังงาน โรคขาดไอโอดีน โรคขาดสารอาหารในเด็ก

โรคขาดสารอาหารในเด็กแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

  1. โรคขาดโปรตีนและพลังงาน (Protein – caloric malnutrition: PCM)
  2. โรคขาดวิตามิน (Vitamin deficiency)
  3. โรคขาดสารไอโอดีน

โรคขาดโปรตีนและพลังงาน Protein energy malnutrition : PEM หรือ Protein – caloric malnutrition : PCM

สาเหตุของโรคขาดโปรตีนและพลังงาน

  1. ทารกไม่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมมารดา หรือได้รับน้อยกว่า 6 เดือน
  2. ทารกและเด็กได้รับอาหารเสริมไม่เพียงพอ
  3. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเลี้ยงดู

โรคขาดโปรตีนและพลังงาน แบ่งออกเป็น 3 โรค คือ

  1. Kwashiorkor คือ ภาวะที่เด็กขาดสารอาหารโปรตีน
  2. Marasmus คือ ภาวะที่เด็กขาดสารอาหารที่ให้พลังงาน หรือแคลอรี่
  3. Marasmi kwashiorkor คือ ภาวะที่เด็กขาดทั้งสารอาหารโปรตีนและพลังงาน

Kwashiorkor ภาวะที่เด็กขาดสารอาหารโปรตีน

การขาดสารอาหารโปรตีนส่วนใหญ่ พบในเด็กอายุมากกว่า 1 ปี ลักษณะเด่นที่พบ คือ อาการบวมที่ปลายเท้า ใบหน้า หรืออาจพบอาการบวมทั้งตัว อาจพบกล้ามเนื้อเหี่ยวลีบ น้ำหนักน้อยแต่ไม่เตี้ย ซึมเศร้า หงุดหงิดชัดเจน ผิวหนังบางแตกเป็นแผลสีกะดำกะด่าง ผมบางสีซีด เปราะ ร่วงง่าย หน้ากลม ตับโต

การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและพยาธิวิทยาที่ตรวจพบ

  • Albumin ใน plasma ต่ำ
  • Amino acid ใน plasma สูง
  • Urea/Cr ในปัสสาวะ ต่ำ
  • Hydroxyprotein ในปัสสาวะ ต่ำ
  • ซีดจากการขาดเหล็กและโพเลตร่วมด้วย
  • ตับมีไขมันสะสมมาก

Maramus ภาวะที่เด็กขาดสารอาหารที่ให้พลังงาน หรือแคลอรี่

เป็นภาวะที่เด็กขาดสารอาหารที่ให้พลังงานหรือแคลอรี่ ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ลักษณะที่เด่นชัดจะไม่มีอาการบวม มีไขมันใต้ผิวหนังน้อยทำให้มีลักษณะ “หนังหุ้มกระดูก” กล้ามเนื้อลีบรุนแรง น้ำหนักน้อยกว่าปกติ ผิวเหี่ยว

การเปลี่ยนแปลงทางชีวิเคมีและพยาธิวิทยาที่ตรวจพบ

  • Albumin ใน plasma ปกติ/ต่ำเล็กน้อย
  • Amino acid ใน plasma ปกติ
  • Urea/Cr ในปัสสาวะ ปกติ/ต่ำเล็กน้อย
  • Hydroxyprotein ในปัสสาวะ ต่ำ
  • ไม่มีภาวะซีด
  • ตับปกติ

Marasmic kawashiokor ภาวะที่เด็กขาดทั้งสารอาหารโปรตีนและพลังงาน

เป็นภาวะที่เด็กขาดทั้งสารอาหารโปรตีน และสารอาหารที่ให้พลังงาน มักพบในเด็กอายุมากกว่า 1 ปี ลักษณะที่เด่นชัด คือ ใบหน้า ท้องและปลายมือปลายเท้าบวมคล้ายขาดโปรตีน สีผิวและผมซีด ผอมไขมันใต้ผิวหนังน้อย ทำให้มีลักษณะ “หนังหุ้มกระดูก” กล้ามเนื้อลีบรุนแรงบริเวณแขนท่อนบน ไหล่ และหน้าอก น้ำหนักน้อยกว่าปกติ

ระดับภาวะโภชนาการต่อโรคขาดสารอาหาร

  • การขาดสารอาหารในเด็ก ระดับ 1 ไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ นอกจากน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
  • การขาดสารอาหารในเด็ก ระดับ 2 จะพบว่ามีการเติบโตช้า มีการติดเชื้อง่าย ซีด และเด็กจะมีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจล่าช้า
  • การขาดสารอาหารในเด็ก ระดับ 3 จะพบอาการของทั้ง Kwashiokor, Marasmus และ Marasmickwashiokor

การพยาบาลเด็กขาดโปรตีนและพลังงาน

  1. ดูแลให้ได้รับอาหารอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
    1. ถ้าขาดอาหารรุนแรงร่วมกับท้องเสีย ระยะแรกให้ NPO แต่ให้ IV แทน เมื่ออาการดีขึ้นให้อาหารเหลว อ่อน พลังงาน 25 Kcal/kg/day Protein 1 gm/kg/day และเพิ่มปริมาณทุกวัน
    1. ระยะที่ 2 ให้อาหารพลังงานสูง 150 – 200 Kcal/kg/day โปรตีน 4 – 5 gm./kg/day
    1. ระยะสุดท้าย ติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเมื่อ Pt กลับบ้าน เมื่อน้ำหนักใกล้เคียงปกติ ควรให้อาหารเช่นเดียวกับเด็กปกติ
  2. ป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ ภาวะ Eectrolyte imbalance
  3. ดูแลให้วิตามิน และแร่ธาตุตามแผนการรักษา
  4. ส่งเสริมหรือกระตุ้นพัฒนาการเด็กตามวัย
  5. แนะนำบิดามารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงดู เรื่องโภชนาการและการดูแลสุขภาพ

โรคขาดไอโอดีน

Iodine : เป็นสารที่จำเป็น เป็นส่วนประกอบของ Thyroid hormone (Thyroxine hormone) ทำหน้าที่ และเสริมความเจริญเติบโตตามปกติของสมองประสาท และเนื้อเยื่อของร่างกาย

ความผิดปกติของการขาด lodine

  • ทารกในครรภ์ แท้ง ตาย อัตราตายของแม่ในการคลอดสูง
  • หากเด็กรอดชีวิต และเมื่อโตขึ้น ก็จะมีอาการ ใบ้ หูหนวก มีอาการทางประสาท ปัญญาเสื่อม ร่างกายจะมีอาการขาแข็ง ตาเหล่ กระตุก และร่างกายแคระแกรน
  • ทารกแรกเกิด การทำหน้าที่ของต่อมธัยรอยด์ต่ำกว่าปกติแต่กำเนิด มีอัตราป่วยและตายสูง
  • เด็กและวัยรุ่นมีความเจริญทางสมองสติปัญญา และการเจริญเติบโตทางร่างกายช้า เป็นคนปัญญาอ่อน ซึ่งศัพท์ทางภาคเหนือเรียกว่า “เอ๋อ”

การป้องกันการขาดไอโอดีน

  • ทารกในครรภ์ ให้มารดารับประทานอาหารที่มีไอโอดีนสูง ได้แก่ อาหารทะเล อาหารเสริมไอโอดีน
  • ทารกแรกเกิด เจาะเลือดที่ส้นเท้า (หลังคลอด 48 ชั่วโมง) ตรวจหาระดับ Thyroid hormone ต่ำและรีบให้ lodine รักษาภายใน 2 เดือนแรก
  • เด็กและวัยรุ่น รับประทานอาหารที่มีไอโอดีนสูง เช่น อาหารทะเล อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *