โรคขาดวิตามินในเด็ก วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค วิตามินบี2 Folic acid

โรคขาดวิตามิน D Vitamin D

โรคขาดวิตามิน D Vitamin D เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ และคงไว้ซึ่งแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย เพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟัน

ถ้าขาดวิตามินดีในช่วงนี้จะเกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก และโรคกระดูกเสื่อม กระดูกจะโค้งงอ รูปร่างผิดปกติ

ถ้าได้มากเกินไปจะเกิดภาวะ hypercalcemia และมีระดับของแคลเซียมในกระแสโลหิตมากเกินไป จะเกิดการทำลายของเนื้อเยื่อผนังเส้นโลหิต ไต ปอด และอวัยวะอื่น ๆ

การขาดวิตามิน E Vitamin E

วิตามิน E เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน จากการทดลองในหนู พบว่า วิตามินอีช่วยเสริมสร้างเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ในหนู อาจให้มารดาที่เคยคลอดก่อนกำหนดและให้จนกระทั่งครบอายุครรภ์ (9 เดือน) หากขาดวิตามินอีเล็กน้อยจะไม่แสดงอาการใด ๆ

หากขาดวิตามินอี จะทำให้ระบบประสาทมีปัญหา ในกรณีของคนที่ร่างกายมีปัญหาในการดูดซึมไขมันและในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด การได้รับวิตามินอีต่ำกว่าปริมาณที่กำหนดอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาทและเป็นโรคโลหิตจางได้ เนื่องจาก เซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลาย

โรคขาดวิตามิน K

Vitamin K เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน และดูดซึมในลำไส้ หลังจากที่มีการสังเคราะห์โดยแบคทีเรียฟลอราในลำไส้ วิตามินเคเป็นวิตามินที่จำเป็นในการทำให้โลหิตแข็งตัวและช่วยในการสร้างสาร prothrombin

แพทย์จะฉีดวิตามินเคให้กับทารกแรกเกิดทุกราย เพราะทารกแรกเกิดในลำไส้ยังไม่มีแบคทีเรียฟลอรา เพียงพอที่จะทำปฏิกิริยากับวิตามินเคได้ดี จึงต้องเสริมวิตามินเคให้โดยตรง

  • ภาวะขาดวิตามินเค (Hypovitamionosis K) มีเลือกออกในอวัยวะต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ช่องกะโหลกศีรษะ ลำไส้ หรือผิวหนัง โดยจะพบมากในช่วงอายุ 1 สัปดาห์แรกของทารกแรกเกิด ทั้งนี้เป็นเพราะทารกมีไขมันสะสมน้อย ตับของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ลำไส้ยังปราศจากเชื้อแบคทีเรียที่สังเคราะห์วิตามิน ประกอบกับวิตามินเคที่ผ่านมาทางรกและน้ำนมจากมารดานั้นมีปริมาณน้อย
  • ภาวะวิตามินเคเป็นพิษ (Hypervitaminosis K) คือ การได้รับวิตามินเคมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก และภาวะบิลิรูบินในเลือดต่ำในทารกได้

โรคขาดวิตามิน B2

Vitamin B2 (Riboflavin) เป็นสารที่จำเป็นในการเผาผลาญโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ละลายในน้ำ ทนความร้อน แต่ถูกทำลายด้วยแสง (การหุงต้มในน้ำมาก ๆ หรือใช้ด่างในการปรุงจะทำลาย Vit B2) ดูดซึมได้ดีในลำไส้เล็ก ไม่สะสมในร่างกาย ถ้าร่างกายขาดไรโบฟลาวิน เด็กจะมีอาการเนื้อเยื่อ เปราะบาง เป็นแผลที่มุมปาก (ปากนกกระจอก) อาจตรวจพบ Enzymy glutathione reductase Activity: EGRA coefficient > 1.2

อาการของโรคขาดวิตามิน B2 มีอาการอื่น ๆ ร่วมมีดังนี้

  1. ริมฝีปากแตก (Cheilosis)
  2. แผลที่มุมปาก (Anqular stomatitis)
  3. ลิ้นมีลักษณะบวมแดง (Glossitis) เลี่ยน
  4. ผิวหนัง มีคราบไขมันที่จมูก (Seborrheic dermatitis) ลอกเป็นสะเก็ด
  5. ตา อาจมีอาการระคายเคือง น้ำตาไหล ไม่กล้าสู้แสง มีหลอดเลือดที่ตาดำ อาหารที่มีวิตามินบี 2 ได้แก่ เครื่องในสัตว์ นม เมล็ดธัญพืช ถั่ว เนย ไข่ เนื้อสัตว์ ปลา ผักใบเขียว

โรคขาด Folic acid

Folacin (Folic acid) เป็นสารที่ละลายในน้ำ ทนกรด ถูกทำลายด้วยความร้อนและด่าง ถูกย่อยและดูดซึมในลำไส้เล็ก พบได้ทั่วไปในร่างกาย พบมาในตับและพลาสมา มีความสำคัญในการสร้าง DNA ป้องกันโรคโลหิตจางในเด็ก

สาเหตุของการขาด Folic acid

  • การขาด Folic acid ในทารกแรกเกิด เกิดจากมารดาขาดสารอาหาร หรือได้ยาบางชนิด เช่น Methotrexate, ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด
  • รับประทานไม่พอ
  • ต้องการมากกว่าปกติ เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด เด็กที่เป็นโรค RBC แตกง่าย การขาด Folic acid เป็นสาเหตุของโรคซีด (Megaloblastic anemia) ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดในเด็กไทย

อาการและอาการแสดงของการขาด Folic acid

  • ซีด อ่อนเพลีย
  • ลิ้นอักเสบ ลิ้นเลี่ยนแดงและเจ็บ
  • ท้องเสีย
  • น้ำหนักตัวลด

การรักษาการขาด Folic acid

ให้ folic IM หรือรับประทานวันละ 5 มก. อาการอ่อนเพลียและเบื่ออาหารจะหายใน 2 วัน reticulocyte และ hemoglobin จะเพิ่มขึ้น

แหล่งของโฟลิก ผักใบเขียวเข้ม ตับ ไต เนื้อสัตว์ และถั่ว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *