ความสำคัญและประโยชน์ของ “นมแม่”

ทารกเจริญเติบโตเร็ว ต้องการสารอาหารในอัตราสูงกว่าวัยอื่น ๆ การให้นมมารดาดีที่สุด เนื่องจาก ได้รับภูมิคุ้มกัน ความอบอุ่นและสารอาหารครบ

ประเภทของนมมารดา (แบ่งตามระยะเวลา)

Colostrum (ระยะหัวน้ำนม) ใน 1 – 3 วันแรกเกิด

Transitional milk วันที่ 4 – 10 หลังคลอด (ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน)

Mature milk (ระยะน้ำนมแม่) ตั้งแต่วันที่ 10 หลังคลอดเป็นต้นไป

พลังงานที่ได้รับจากนมแม่

Colostrum มีพลังงาน 58 – 67 Cal/100 cc. หรือ 17 cal/oz.

Transitional milk มีพลังงาน 70 – 75 Cal/100 cc. หรือ 22 cal/oz.

Mature milk มีพลังงาน 74 Cal/100 cc. แหรือ 22 cal/oz.

Infant Formula มีพลังงาน 70 Cal/100 cc. หรือ 20 cal/oz.

ในทางปฏิบัติการคำนวณจะคิดพลังงานจากนมแม่และนมวัว คือ 20 cal/oz.

ความสำคัญของนมแม่

1.นมแม่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนตามความต้องการของทารก

  • ทอรีน (Taurine) สำคัญต่อการทำงานของระบบประสาท จอตา และการดูดซึมไขมัน
  • นิวคลิโอไทด์ (Nucleotide) ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก ซ่อมแซมเยื่อบุลำไส้
  • การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ช่วยให้ร่างกายตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดีหลังได้รับวัคซีน
  • คาร์นิทีน (Carnitine) สำคัญในการสังเคราะห์ไขมันสำหรับสมอง
  • กรดไขมันจำเป็น DHA, ARA, lutein, prebiotics

2.นมแม่ย่อยง่ายกว่านมวัว นมแม่มีอัตราส่วน Whey : Casein = 60 : 40 (นมวัว 20 : 80 ทำให้ย่อยยาก เพราะ Casein + Rennin กลายเป็น Curd) นมแม่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงจึงดูดซึมง่าย และมี Enzyme Amylase, Lipase, Protease ช่วยย่อย

3.นมแม่มีคุณค่าเพิ่มภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค มีภูมิต้านทานโรคชนิด Cellular component เช่น Macrophage, T & B Lymphocyte และ Humoral component เช่น Ig โดยเฉพาะ Secretory IgA และ Factor อื่น ๆ (ในนมวัวจะถูกความร้อนทำลายในขบวนการผลิต)

4.นมแม่ปลอดภัยจากการแพ้ เนื่องจาก โปรตีนในน้ำนมวัวมีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมี Whey protein เป็น Beta – lactoglobulin ส่วนในน้ำนมแม่เป็น lactalbumin

5.นมแม่มีสารกระตุ้นการเจริญเติบโต มีสารกระตุ้นการเจริญเติบโตชนิดต่าง ๆ เช่น Epithelial growth factor (EGF), Nerve growth factor (NGF), Taurine, มี Epidermal growth factor สำคัญต่อการควบคุมการเจริญเติบโตของเยื่อบุทางเดินอาหาร Somatomedin – C / Insulin – like growth factor สำคัญต่อการแบ่งตัวของ Cell ของเยื่อบุทางเดินอาหาร

6.ผลต่อสติปัญญาของเด็ก

Rodger B., 1987 การเลี้ยงเด็กด้วยนมแม่จะมีสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมวัว วัดเมื่ออายุ 8 และ 15 ปึ

Silva PA. et all, 1987 ไม่มีความแตกต่างด้านสติปัญญาของเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่และนมวัว  

7.สะดวก สะอาด ประหยัด และปลอดภัย

8.มีคุณค่าทางด้านจิตใจ ทำให้แม่ลูกผูกพัน เกิดความอบอุ่น ความรัก ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

หลักการพิจารณาว่าน้ำนมแม่เพียงพอหรือไม่

1.พิจารณาจากตัวเล็ก

  • ชั่งน้ำหนักเด็ก ก่อนและหลังดูดนม (ทราบปริมาณน้ำนมที่ได้รับ)
  • สุขภาพทั่วไปแข็งแรง สมบูรณ์ ร่าเริง แจ่มใส ไม่ร้องกวน
  • หลับสบายหลังดูดนม นอนได้นาน 2 – 4 ชั่วโมง
  • ไม่มีอาการขาดน้ำ
  • ถ่ายปัสสาวะปกติ
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นวันละ 25 – 30 กรัม

2.พิจารณาจากตัวแม่

  • ในขณะให้ลูกดูดนมข้างหนึ่ง น้ำนมไหลพุ่งจากนมอีกข้าง เรียกว่า Let down หรือ milk ejection reflex แสดงว่า น้ำนมเพียงพอ

ข้อห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  1. มารดาเจ็บป่วยรุนแรงและเฉียบพลัน เช่น TB ระยะติดต่อ, Septicemia, Typhoid, Malaria
  2. มารดาเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น เบาหวานระยะรุนแรง ไตวาย หัวใจล้มเหลว ขาดอาหารอย่างรุนแรง
  3. มารดามีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด (Post partum complication) เช่น ครรภ์เป็นพิษ, ตกเลือดรุนแรง
  4. มารดามีปัญหาด้านจิตใจหรือเป็นโรคจิต (Psychosis) โรคประสาทอย่างรุนแรง
  5. มารดาติดยาเสพติด
  6. มารดาประกอบอาชีพสัมผัสกับสารพิษเป็นประจำ เช่น ยาปราบศัตรูพืช
  7. มารดาเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน และยานั้นมีข้อห้ามเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ยารักษามะเร็งทุกชนิด
  8. ยารักษา Toxic goiter ทุกชนิด
  9. ยาที่ผสม Atropine
  10. ยาคุมกำเนิดที่มี Estrogen สูง
  11. ยา Corticosteroid ขนาดสูง
  12. ยาปฏิชีวนะ เช่น Chloramphenical ส่วน INH, Tetracycline, Sulfonamide, Metronidazole, Tinidazole, Acyclovir
  13. ยาห้ามการแข็งตัวของเลือด คือ Phenindione ยกเว้น Heparin, Warfarin
  14. สารกัมตภาพรังสี
  15. ยากลุ่ม NSAIDS

นมผงดัดแปลงสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด Premature infant formula

นมผงดัดแปลงสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดซึ่งมักจะมีปัญหาการย่อยการดูดซึมสารอาหารบางชนิด

  1. ให้พลังงานสูงกว่า Infant formula (คือ 24 kcal/oz.)
  2. อัตราส่วน Whey: Casein ใกล้เคียงกับนมแม่ (60: 40)
  3. คาร์โบไฮเดรต ควรดัดแปลงเพื่อเพิ่มการย่อย ให้มีคาร์โบไฮเดรต 2 ชนิด คือ Lactose และ Maltodextrin เนื่องจาก ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีเอนไซม์ glucoamylase ที่ช่วยย่อย maltodextrin มากกว่าเอนไซม์ lactase
  4. ไขมัน เนื่องจาก ทารกคลอดก่อนกำหนด จะมีความบกพร่องในการย่อยและการดูดซึมไขมันชนิด LCT  ดัดแปลงให้มี Medium – chain triglyceride (MCT) แทน Long – chain triglyceride (LCT) บางส่วน เนื่องจาก มี bile pool น้อย
  5. ปริมาณ sodium phosphorus สังกะสีและทองแดงมากขึ้นเท่ากับปริมาณที่ทารกต้องการ
  6. ปริมาณวิตามินหลายชนิดมีมากขึ้น
  7. ค่า Osmolarity ใกล้เคียงกับของนมแม่

ระยะ 1 ปีแรกเกิด : นมผสม หรือนมวัว

นมผงสำหรับทารก เรียกว่า infant formula เป็นนมวัวดัดแปลง มีโปรตีนสูงกว่า 3 เท่า โดยเฉพาะชนิด casine มี 80% ทำให้เกิดการตกตะกอนจับเป็นก้อน (curd) ในกระเพาะอาหารนมวัว มีสารโปรตีนที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ นมวัว มีปริมาณ Vitamin A D E และ C ต่ำกว่านมแม่ แต่มี Vitamin B และ K สูงเพียงพอ

โภชนาการสำหรับเด็กอายุ 12 – 18 เดือน

นมแม่ในระยะนี้ถ้ายังมีปริมาณมากพอสมควร ควรให้เด็กต่อไปและค่อย ๆ เลิกนมแม่เมื่ออายุประมาณ 18 เดือน ถ้ากินนมผสมอาจให้นมวัวดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี (follow – up formula) หรือนมวัวธรรมดา เช่น นมผงธรรมดา นมสม UHT นมพาสเจอร์ไรซ์ ประมาณวันละ 3 มื้อ มื้อละ 7 – 8 ออนซ์ รวม 20 – 24 ออนซ์ ควรค่อย ๆ เลิกขวดนม และดื่มนมจากถ้วยแทน ไม่ควรให้ดูดนมขวดจนหลับไปจะทำให้ฟันผุ

ปริมาณอาหารวัยทารกแรกเกิด – 1 ปี

อายุอาหารเสริมที่ควรเริ่มปริมาณอาหารเสริมที่ควรได้รับ/วัน
แรกเกิด – 6 เดือนไม่จำเป็นต้องให้อาหารเสริม  เพราะว่า น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแต่ถ้าจำเป็นจึงจะใช้นมผสมน้ำนมแม่สามารถให้รับประทานได้ถึง 18 เดือน
อายุครบ 6 เดือน เริ่มให้อาหารเสริม-ข้าวบดละเอียด หรือข้าวครูด -ไข่แดงต้มสุกผสมน้ำต้มจืด หรือเนื้อปลาบดหรือตับบด -ผักต้มสุกบด เช่น ผัก ตำลึง ผักกาดขาว ฟักทอง -น้ำต้มผักกับกระดูกหมู -ผลไม้สุก เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก ส้ม กล้วยน้ำว้าสุก-ข้าวบดประมาณ 3 ช้อนกินข้าว ไข่แดงครึ่งฟอง ตับบด 1 ช้อนกินข้าว ปลาบด 2 ช้อนกินข้าว ผักสุกบดครึ่งช้อนกินข้าว และผลไม้สุก 1 – 2 ชิ้น -อาหารเสริม 1 มื้อ
อายุครบ 7 เดือน-ข้าวบด -ไข่ทั้งฟอง สลับกับเนื้อปลา เนื้อหมู หรือเนื้อไก่ -ผักสุกบดหยาบ ให้ผักหลายชนิดสลับกัน -น้ำต้มผักกับกระดูกหมู – ผลไม้สุก-ข้าวบดประมาณ 4 ช้อนกินข้าว ไข่ทั้งฟอง เนื้อสัตว์ 2 ช้อนกินข้าว ผักสุกบด 1.5 ช้อนกินข้าว -ผลไม้สุก 2 – 3 ชิ้น เป็นอาหารว่าง 1 มื้อ -อาหารเสริม 1 มื้อ
อายุครบ 8 – 9 เดือน-ข้าวบดหยาบ -ไข่ทั้งฟองสลับกับเนื้อปลา เนื้อหมู หรือเนื้อไก่ -ผักสุกบดหยาบ ให้ผักหลายชนิดสลับกัน -น้ำต้มผักกับกระดูกหมู / ผลไม้สุก (เหมือน 7 เดือน)-ข้าวบดประมาณ 5 ช้อนกินข้าว ไข่ทั้งฟอง เนื้อสัตว์ 2 ช้อนกินข้าว ผักสุกบด 2 ช้อนกินข้าวและผลไม้สุก 3 – 4 ชิ้น -อาหารเสริม 2 มื้อ -ผลไม้ 1 มื้อ (เพิ่มปริมาณ)
อายุครอบ 10 – 12 เดือน-ข้าวสุกนิ่ม -อาหารอย่างอื่น รับประทานเหมือนอายุครบ 8 – 9 เดือน แต่เพิ่มประมาณมากขึ้น-ข้าวสุกนิ่มประมาณ 6 ช้อนกินข้าว ไข่ทั้งฟอง เนื้อสัตว์ 3 ช้อนกินข้าว ผักสุกหั่น 3 ช้อนกินข้าว และผลไม้สุก 4 – 5 ชิ้น -อาหารเสริม 3 มื้อ -ผลไม้หลังอาหาร

ขอขอบคุณที่มาบทความ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 (Nursing of Children and Adolescent 1) โดยอาจารย์กชกร เพียซ้าย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *