ความต้องการพลังงานของเด็กไทย

ปัจจุบันค่าความต้องการพลังงานของทารกมีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก ค่าเดิมที่ให้ไว้มากเกินจริง Reccommended Dietary Allowances : RAD ได้กำหนดค่าความต้องการพลังงานของทารก ดังนี้

  • ทารก 0 – 6 เดือน ต้องการพลังงาน 108 Kcal/kg/day
  • ทารก 6 – 12 เดือน ต้องการพลังงาน 98 Kcal/kg/day

พลังงานที่ได้มาจาก ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ถ้าร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอ โปรตีนจะถูกไว้สร้างเนื้อเยื่อ

สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน แหล่งพลังงานจากสารอาหารมีการกระจายความต้องการพลังงานจากสารอาหาร 3 ชนิด คือ

  • คาร์โบไฮเดรต 35 – 65%
  • ไขมัน 30 – 55%
  • โปรตีน 7 – 16%

ความต้องการพลังงานของเด็กป่วย คิดคร่าว ๆ จากน้ำหนักของเด็ก ดังนี้

  • น้ำหนัก 10 kg. แรก ต้องการพลังงานกิโลกรัมละ 100 kCal
  • น้ำหนัก 10 – 20 kg. ถัดมา ต้องการพลังงานกิโลกรัมละ 50 kCal
  • น้ำหนักส่วนที่เกิน 20 kg. ต้องการพลังงานกิโลกรัมละ 20 kCal

ตัวอย่างที่ 1 การคำนวณความต้องการพลังงานในเด็กโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์

เด็กอายุ 7 ปี น้ำหนัก 23 กก. ต้องการพลังงานวันละกี่ Kilocalorie

พลังงานที่ต้อง    = 23 * 86

                    = 1,978 Kcal/day

(จากสูตรการคำนวณ เด็กอายุ 7 – 10 ปี ต้องการพลังงาน 86 Kcal/kg.)

ตัวอย่างที่ 2 การคำนวณความต้องการพลังงานของเด็กป่วย (นอนพักบนเตียงและไม่มี Activity)

เด็กน้ำหนัก 25 กก. ต้องการพลังงานวันละกี่กิโลแคลอรี่

พลังงานที่ต้องการ         = (10*100)+(10*50)+(5*20)

                             =1,600 Kcal/day

ความต้องการโปรตีนของเด็กทารก

แรกเกิด – 3 เดือน        ต้องการ 2.2 gm./kg/day

3 – 6 เดือน                ต้องการ 1.85 gm./kg/day

6 – 9 เดือน                ต้องการ 1.65 gm./kg/day

9 – 12 เดือน              ต้องการ 1.5 gm./kg/day

ความต้องการโปรตีนของเด็กวัยต่าง ๆ

อายุ     1 – 2 ปี          ต้องการ 1.2 gm./kg/day

อายุ     2 – 3 ปี          ต้องการ 1.15 gm./kg/day

อายุ     3 – 5 ปี          ต้องการ 1.1 gm./kg/day

อายุ     5 – 7 ปี          ต้องการ 1 gm./kg/day

อายุ     7 – 10 ปี        ต้องการ 1 gm./kg/day

ผู้ใหญ่                      ต้องการ 0.75 gm./kg/day

ข้อเสียของการได้รับโปรตีนมากเกินไปในวัยทารก ทำให้เกิดเป็นภาระแก่ไต ที่จะต้องกำจัดของเสียออกไป ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดแอมโมเนียในเลือดสูง และภาวะขาดน้ำ[1]


[1] ขอขอบคุณที่มาบทความ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 (Nursing of Children and Adolescent 1) โดยอาจารย์กชกร เพียซ้าย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *