โภชนาการของข้าวและประโยชน์

โภชนาการของข้าวและประโยชน์

สารประโยชน์ (Kayahara and Tsukahara 2000[1])ประโยชน์ (Asia BioBusiness 2006[2])
แกมม่า อะมิโนบิวทีริกแอซิด (Gamma – Aminobutyric Acid, GABA)มีส่วนในการเร่งกระบวนการเมตาบอริซึมในสมอง   
ใยอาหารช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด 
อินโนซิทอล (Inositols)เร่งการเผาผลาญไขมัน ป้องกันตับมีไขมันเป็นสารจำเป็นในการสร้างเลซิธิน และทำงานอย่างใกล้ชิดกับวิตามิน บี รวม อินโนซิทอลเป็นสารหลักของเยื่อหุ้มเซลล์จึงจำเป็นต้องการทำงานของระบบประสาท สมอง และกล้ามเนื้อ อินโนซิทอลทำงานร่วมกับสารอื่น ๆ ในการป้องกันการสะสมของไขมันที่ตับ
กรดเฟอร์รูริก (Ferulic acid) พบมากในน้ำมันรำข้าว และมีโครงสร้างทางเคมีคล้าย Curcumin ที่เป็นสารจากขมิ้นกำจัดอนุมูลอิสระ (Superoxides)ระงับกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว (Melanogenesis)การประยุกต์ใช้โรคเบาหวาน มะเร็ง การเสื่อมของกระดูก ภาวการณ์หมดประจำเดือน และความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
กรดไฟติก (Phytic acid) ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด 
โทโคทีรนอล (Tocotorienols)ปกป้องผิวหนังจากรังสียูวี 
แมกนีเซียมป้องกันโรคหัวใจ 
โพแตสเซียมลดความดันโลหิต 
สังกะสีกระตุ้นระบบสืบพันธุ์ 
แกมม่า – โอไรซานอลAntioxidative effectsป้องกันการแก่ตัวของผิวหนังลดปริมาณคอเลสเตอรอล ซึ่งมีการค้นพบว่า ลดปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นของคอเลสเตอรอลได้ดีกว่าวิตามินอี สารโอไรซานอลในข้าวมีฤทธิ์ลดภาวะกระดูกพรุนในหนูทดลอง ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าสารโอไรซานอลบริสุทธิ์ มีฤทธิ์ดังกล่าวน้อยกว่าสารธรรมชาติที่ได้จากน้ำมันรำข้าว
Prolylendopepsidase inhibitorมีแนวโน้มป้องกันโรคอัลไซเมอร์ 
Squalene มีฤทธิ์ยับยั้งเนื้องอกในปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่ของสัตว์ทดลอง
Phytosterols จากการทดลองพบว่า Phtosterols สามารถลดคอเลสเตอรอล ระงับการสังเคราะห์ LDL-C ลดการเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม ระงับเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ และปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกัน
Oligosaccharides ร่างกายไม่สามารถย่อย oligosaccharides ได้แต่สารนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายเมื่อเกิดการหมัก และถูกใช้โดยแบคทีเรียในลำไส้ที่เป็นประโยชน์
ที่มา: วารสารคลินิกอาหารและโภชนาการ (วคอภ) 2553[3]

ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากส่วนประกอบของข้าวและเศษวัตถุดิบจากข้าว

ส่วนของข้าวการใช้ประโยชน์
ฟางข้าวประเทศจีน (มณฑลอันฮุย) ผลิตกล่องอาหารจากฟางข้าวผสมแกลบ ซึ่งทนความร้อน ความเป็นกรด และด่างได้ดีกว่ากล่องอาหารที่ทำจากโฟมฟางข้าวใช้เป็นวัสดุคลุมดินที่ดี เนื่องจาก มีน้ำหนักเบา และยืดหยุ่น ซึ่งทำให้ประหยัดค่าขนส่งฟางข้าวสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงสีข้าวได้ เถ้าฟางข้าวมีสารซิลิก้าในปริมาณมาก ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นฉนวนในอุตสาหกรรมเหล็กได้ ขณะนี้ กำลังมีการทดลองเพื่อแยกซิลิก้าไดอ๊อกไซด์บริสุทธิ์จากขี้เถ้าฟาง เพื่อใช้ทำคอมพิวเตอร์ชิปนักวิจัยวิศวกรรม RMIT (Royal Melbourne Institute of Technology) ประเทศออสเตรเลียได้ร่วมกับสหกรณ์ผู้ปลูกข้าว และได้พัฒนาเสาริมถนน และวัสดุก่อสร้างจากฟางข้าว
แกลบส่วนประกอบหลักของแกลบ คือ เซลลูไลส เถ้า (ซิลิก้า) เพนโตซาล (Pentosans) ลิกนิน และโปรตีนกับไขมันเล็กน้อย โรงสีข้าวส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงบริษัทแห่งหนึ่งในประทศมาเลเซียผลิตปุ๋ยโดยผสมแกลบกับกากน้ำตาล และสารอินทรีย์กระตุ้นปฏิกิริยา นอกจากนี้ ยังมีการเติมรำข้าว อาหารปลา ถั่วเหลือง และอื่น ๆบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งได้ผสมแกลบกับเรซิ่น (Rice Bran Ceramic, RBC) ที่ใช้สำหรับผสมยางในรถจักรยาน ทำให้ยางเกาะถนนได้ดี มีอายุการใช้งาน นานกว่ายางปกติ
เศษวัสดุจากข้าวนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นนำเศษวัสดุจากข้าวใช้เป็นพื้นผิวถนน ซึ่งสามารถดูดซับเสียงระบายน้ำได้เร็ว และทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ดีกว่าพื้นผิวแบบเดิมรำข้าวที่ผสมกับเรซิ่นมีน้ำหนักเบา มีแรงต้านทานสูง และมีรูพรุน ซึ่งสามารถนำไปผสมกับยางมะตอยลาดถนน ซึ่งทำให้ได้ ผิวถนนที่มีอายุการใช้งาน
ข้าวหักข้าวหักประมาณร้อยละ 70 ในประเทศไทยใช้ผลิตอาหารสัตว์ หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยว
แป้งข้าวเจ้าข้าวหักประมาณ ร้อยละ 30 ในประเทศไทยใช้ผลิตแป้งข้าวซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เส้นพาสต้า และซีเรียล และใช้แทนแป้งข้าวสาลี
ส่วนอื่น ๆปุ๋ยอินทรีย์ เชื้อเพลิงชีวภาพ อิฐสำหรับการก่อสร้าง การสกัดเป็นแอลกอฮอล์ สารตั้งต้นในการผลิตโพลิเมอร์ เป็นต้น
ที่มา: วารสารคลินิกอาหารและโภชนาการ (วคอภ) 2553[4]

[1] Kayahara, H. and K. Tsukahara. 2000. Flavor, health and nutritional quality of pre-germinated brown rice. International Chemical Congress of Pacific Basin Societies in Hawaii 2000.

[2] Asia BioBusiness. (2006). Potential world markets for innovative rice businesses in Thailand. Final report prepared for the National Innovation Agency, Thailand. Asia BioBusiness Pte Ltd, Singapore.

[3] วารสารคลินิกอาหารและโภชนาการ (วคอภ). (2553). โภชนาการของข้าวและนวัตกรรมการใช้ ประโยชน์. พ.ศ. 2553 ปีที่ 4 ฉบับที่1, หน้า 35-39

[4] วารสารคลินิกอาหารและโภชนาการ (วคอภ). (2553). โภชนาการของข้าวและนวัตกรรมการใช้ ประโยชน์. พ.ศ. 2553 ปีที่ 4 ฉบับที่1, หน้า 35-39

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *