ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค

แนวคิดเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด

ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค หรือ 4Cs (Marketing Mix from Consumer’s Perspectives) เป็นแนวคิดทางการตลาดแบบใหม่ที่เน้นการให้ความสำคัญกับมุมมองของผู้บริโภคเป็นหลัก ได้แก่ ด้านความต้องการของผู้บริโภค (Consumer) ด้านต้นทุนของผู้บริโภค (Cost) ด้านความสะดวก (Convenience) และด้านการสื่อสาร (Communication) โดยมีรายละเอียด[i]ดังนี้

  1. ด้านความต้องการของผู้บริโภค (Consumer) หมายถึง ร้านค้าที่มีสินค้าหลากหลายรูปแบบแสดงภาพถ่ายสินค้าที่ชัดเจนและสวยงาม มีสินค้าที่ทันสมัย มีการรับประกันความพึงพอใจของสินค้าและสามารถเปลี่ยนสินค้าได้หากสินค้ามีปัญหา
  2. ด้านต้นทุนของผู้บริโภค (Cost) หมายถึง ร้านค้าที่มีสินค้าราคาต่ำกว่าห้างสรรพสินค้า ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ ชดใช้ค่าเสียหายเมื่อสินค้าที่ได้รับมีปัญหา มีส่วนลดเมื่อสั่งซื้อปริมาณมาก และคิดค่าบริการในการจัดส่งที่เหมาะสม
  3. ด้านความสะดวก (Convenience) หมายถึง ร้านค้าที่สามารถจัดส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็ว มีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ขั้นตอนในการติดต่อซื้อขาย สามารถตรวจสอบสถานะของการจัดสิ่งสินค้าได้ สามารถยกเลิกหรือสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
  4. ด้านการสื่อสาร (Communication) หมายถึง ร้านค้าที่มีการเคลื่อนไหวในการสื่อสารกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ แจ้งเลขพัสดุให้ลูกค้าทราบสม่ำเสมอ แสดงภาพถ่ายรีวิวสินค้าจากลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าแสดงความคิดเห็นจากลูกค้าที่เคยซื้อสินค้า มีข้อมูลของผู้ให้บริการในการติดต่อสื่อสาร

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด

ภัทรญาณ์ บุญนาค (2558) ศึกษาเรื่อง ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในประเทศไทย พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดบุคลิกภาพตราสินค้า การรู้จักตราสินค้า ความคุ้นเคยต่อตราสินค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม ส่วนประสมทางการตลาด บุคลิกภาพตราสินค้า การรู้จักตราสินค้า ความคุ้นเคยต่อตราสินค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้า มีอิทธิพลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในการพยากรณ์ระดับดีและเป็นที่ยอมรับได้ ทั้งนี้เนื่องจากมีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณกำลังสอง (R2) เท่ากับ 0.856 หรือคิดเป็นร้อยละ 85.60 (0.856X100) ซึ่งมีค่าตั้งแต่ร้อยละ 40 ขึ้นไป[ii]

อิทธิพลการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อ พบว่า การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ของเฟอร์นิเจอร์ตรา MDEC กรณีศึกษา บริษัท เอ็มเดคอินเตอร์เนชั่นแนล (1991) จำกัด มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ ด้วยองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการโฆษณา 2) ด้านการประชาสัมพันธ์ 3) ด้านการขายโดยพนักงานขาย 4) ด้านการส่งเสริมการขาย 5) ด้านการตลาดทางตรง 6) ด้านการตลาดเชิงกิจกรรม ซึ่งด้านการขายโดยพนักงานขาย มีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการโฆษณา ด้านการตลาดเชิงกิจกรรม ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการตลาดทางตรง ตามลำดับ จึงควรให้ความสำคัญ การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ควรมีการวางแผนการสื่อสารทางการตลาด การประเมินกลยุทธ์การสื่อสารต่าง ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าเป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสาร โปรโมชั่น ฯลฯ เพราะปัจจัยในแต่ละด้านต่างก็สนับสนุนส่งเสริมซึ่งกัน รวมถึงยังส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค[iii]

อังศุมิฬย์ ธีระสกุลธาดา (2558) ที่ว่า การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในสตรีเกี่ยวกับโฆษณา การขายโดยบุคคล การส่งเสริมการขาย กิจกรรมพิเศษทางการประชาสัมพันธ์และการตลาดแบบตรง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในสตรี[iv]

จิตมณี นิธิปรีชา (2558) ศึกษาเรื่อง โครงการจัดตั้งกรีนแคปซูลโฮสเทล เพื่อรักษาวิถีชุมชน พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคามีความสำคัญในการเลือกห้องพักมากที่สุด จากทั้ง 7 ด้าน หากวิเคราะห์ลงลึกในแต่ละด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ให้ความสำคัญกับความสะอาดของห้องพักมากที่สุด ด้านราคาให้ความสำคัญกับราคาห้องพักเหมาะสมกับระยะเวลาที่เข้าพักมากที่สุด ด้านสถานที่ตั้งให้ความสำคัญกับทำเลที่ตั้งเหมาะสมใกล้สถานีรถไฟฟ้ามากที่สุด ด้านการส่งเสริมทางการตลาดให้ความสำคัญกับการลดราคาห้องพักมีผลต่อการตัดสินใจเข้าพักมากที่สุด ด้านลักษณะทางกายภาพให้ความสำคัญกับความสะอาดภายในห้องน้ำรวมมากที่สุด ด้านบุคลากรให้ความสำคัญกับพนักงานยิ้มแย้ม แจ่มใส สุภาพ เป็นมิตรมากที่สุด และด้านกระบวนการบริการให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายในการชำระเงินค่าห้องพักมากที่สุด[v]


[i] กฤตินา จันทร์หวร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ากิ๊ฟช็อปผ่านทางแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมของผู้บริโภคระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

[ii] ภัทรญาณ์ บุญนาค. (2558). รูปแบบส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าที่มีต่อความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยนครราชสีมา.

[iii] ธนิดา รุ่งธนาภัทรกุล และสุมาลี รามนัฏ. (2020). คุณค่าตราสินค้าในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ กรณีศึกษา บริษัท เอ็มเดคอินเตอร์เนชั่นแนล (1991) จำกัด. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 12(2), 431 – 445.

[iv] อังศุมิฬย์ ธีระสกุลธาดา. (2558). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของผลิตภัณฑ์ชุดชั้นใจสตรีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในสตรีในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสื่อสารการตลาด, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

[v] จิตมณี นิธิปรีชา. (2558). โครงการจัดตั้งกรีน แคปซูลโฮสเทล เพื่อรักษาวิถีชุมชน. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรบัณฑิต, สาขาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

One Comment

  1. бк тенниси

    Спасибо за подробную информацию

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *