Young woman asian work from home online marketing currently ordering products for sale and delivery for customer. Business owner, SME, shipping, work from home(WFH), freelance, Start up concept.

ปัจจัยส่วนบุคคล หมายถึง การตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรที่ได้รับอิทธิพลจากลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ลักษณะที่อยู่อาศัยที่ต้องการ ระดับราคาในการเลือกซื้อบ้าน จำนวนผู้พักอาศัย และบุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านมากที่สุด[i]

ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย อายุ เพศ ขนาดครอบครัว สถานภาพครอบครัว รายได้ อาชีพ การศึกษา เหล่านี้เป็นเกณฑ์ที่นิยมใช้ในการแบ่งส่วนแบ่งการตลาด ลักษณะประชากรศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญและสถิติที่วัดได้ของประชากรที่ช่วยกำหนดตลาดเป้าหมาย รวมทั้งง่ายต่อการวัดมากกว่าตัวแปรอื่น[ii]

ปัจจัยส่วนบุคคล หมายถึง ลักษณะพื้นฐานของผู้บริโภค ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน สถานภาพ[iii]

ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส การมียานพาหนะ และจำนวนสมาชิกในครอบครัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มาใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมแตกต่างกัน[iv]

การศึกษา หมายถึง คุณวุฒิทางการศึกษาที่ได้รับสำหรับผู้ที่กำลังศึกษา หมายถึง ระดับชั้นที่กำลังเรียนหรือที่ผ่านมา[v]

เอกลักษณ์ ทองใหญ่ (2554)[vi] ศึกษา ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อไอแพคของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อไอแพคของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยจาก อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อไอแพคของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครในทุก ๆ พฤติกรรมที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ

ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านระดับการศึกษา ผลการศึกษา พบว่า ระดับการศึกษาของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[vii]

ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจาก ปัจจุบันผู้บริโภคแต่ละกลุ่มมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน แต่รูปแบบการโฆษณาในปัจจุบันเข้าถึงในทุก ๆ กลุ่ม การเปิดรับสื่อที่เป็นหลักการมากกว่า อีกทั้งผู้ที่มีระดับการศึกษาเพิ่มสูงขึ้นจะทำการค้นคว้าหาข้อมูลจากหลายแหล่ง ทำการประเมินทางเลือก และศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ เพื่อให้เหมาะสมกับตนเองและสอดคล้องกับความต้องการมากที่สุด มีผลทำให้มีแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่มีการศึกษาสูง[viii]

ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านระดับการศึกษาต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน Online จังหวัดน่านและกรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[ix]

ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นจากร้านค้าในอินสตาแกรมในประเทศไทย ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากการสื่อสารและการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา ดังนั้น ระดับการศึกษาของผู้บริโภคจึงไม่ส่งผลต่อระดับการตัดสินใจซื้อ แสดงให้เห็นว่า ส่วนประสมทางการตลาด 7 ปัจจัย ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้หญิงกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ผ่านแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมในประเทศไทย ด้านระดับการศึกษา[x]

ปัจจัยส่วนบุคคล เรื่อง “ระดับการศึกษา” จะให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจการเลือกซื้อบ้านจัดสรรที่แตกต่างกัน ในปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านการให้บริการ ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านต่าง ๆ มากกว่าระดับอื่น เนื่องจาก ระดับการศึกษาน้อย ส่วนใหญ่จะมีรายได้น้อย และมีครอบครัว จึงเห็นคุณค่าของเงินที่จะใช้จ่ายทำให้ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและรอบคอบ ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านต่าง ๆ น้อยกว่าระดับอื่น เนื่องจาก มีรายได้ที่สูงขึ้น เป็นวัยทำงาน การพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ไม่ลงรายละเอียดมากนัก[xi]


[i] อนัสรีย์ เพชรขุ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

[ii] รัชนี ไพศาลวงศ์ดี และอิทธิกร ขำเดช. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเสื้อผ้าสตรีทางอินเตอร์เน็ตของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ. 3(1), 529 – 546.

[iii] ลออทิพย์ เกิดน้อย. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อ.เมือง จ.เชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[iv] ลออทิพย์ เกิดน้อย. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อ.เมือง จ.เชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[v] อนัสรีย์ เพชรขุ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

[vi] เอกลักษณ์ ทองใหญ่. (2554). ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อไอแพคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

[vii]ชุติมา คล้ายสังข์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 15(1), 37 – 69.

[viii] ศรัณยนันท์ ศรีจงใจ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[ix] สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

[x] นิรากร คำจันทร์.  (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ผ่านแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมในประเทศไทย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

[xi] อนัสรีย์ เพชรขุ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *