แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมกรตัดสินใจซื้อ

พฤติกรรมในการเลือกซื้อประเภทเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊กสูงสุด คือ ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์สำหรับแต่งหน้า ช่วงเวลาเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก คือ ช่วงเวลา 18.01 – 21.00 น. สถานที่ที่ซื้อเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก คือ ที่พักอาศัย ชำระเงินในการซื้อเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊กโดยการโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก อันดับที่ 1 ถึงอันดับที่ 5 คือ เพื่อน รีวิวจากอินเทอร์เน็ต พนักงานขาย ครอบครัว และคนรัก ตามลำดับ เลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊กเมื่อมีความต้องการสินค้า[i]

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.00 ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการซื้อเครื่องสำอางบนเฟซบุ๊กง่ายต่อการเปรียบเทียบสินค้าและราคา มีค่าเฉลี่ย 4.15 รองลงมา คือ การซื้อเครื่องสำอางบนเฟซบุ๊กง่ายต่อการค้นหาและมีความหลากหลายมากกว่าซื้อจากร้านค้า มีค่าเฉลี่ย 4.40 การใช้เฟซบุ๊กเป็นประจำส่งผลต่อการซื้อเครื่องสำอางกับการซื้อเครื่องสำอางบนเฟซบุ๊กสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลามากกว่าซื้อที่ร้าน มีค่าเฉลี่ย 4.08 มีการแนะนำร้านเครื่องสำอางบนเฟซบุ๊กให้คนรู้จัก มีค่าเฉลี่ย 3.96 การซื้อเครื่องสำอางบนเฟซบุ๊กพบปัญหาน้อยกว่าการไปซื้อที่ร้าน มีค่าเฉลี่ย 3.85 และหากต้องการซื้อเครื่องสำอางจะเลือกซื้อจากเฟซบุ๊กเป็นที่แรก มีค่าเฉลี่ย 3.84 ตามลำดับ[ii]

พฤติกรรมผู้บริโภค (6W 1H) พบว่า ช่วงเวลาในการซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก ในช่วงเวลา 18.04 – 21.00 น. ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก[iii]

ปัทมพร คัมภีระ (2558) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กของนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กของนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการจัดจำหน่ายผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กมีมากมายหลากหลายชนิด และหลากหลายตราสินค้า จึงสร้างความสะดวกสบาย มีทางเลือกให้นักศึกษาได้ทำการตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ซึ่งเห็นว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการด้านผลิตภัณฑ์ส่งผลต่อการซื้อสินค้าออนไลน์[iv]

วีระนุช รายระยับ (2556) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าจากสื่ออินเทอร์เน็ตในกลุ่มวัยรุ่น พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง แหล่งที่อยู่อาศัย คือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนมากเป็นนักเรียนนักศึกษา มีระดับรายได้ 10,001 – 15,000 บาท ซื้อ 1 ครั้งต่อ 1 เดือน ครั้งละ จำนวน 2 ชิ้น กลุ่มตัวอย่างส่วนมากสั่งซื้อเสื้อผ้าจากต่างประเทศ ชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร เลือกซื้อสินค้าพร้อมส่ง และมีปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาดมีระดับคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก[v]

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์ (2556) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 23 – 30 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี และประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือนที่ 20,001 – 30,000 บาท โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกซื้อเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) และส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามจะมีความถี่ในการซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) เดือนละ 1 ครั้ง และส่วนใหญ่ซื้อสินค้าครั้งละ 500 – 1,000 บาท[vi]

ปัทมพร คัมภีระ (2557) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กของนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 29 ซื้อเครื่องสำอางผ่านทางเว็บไซต์เฟซบุ๊กเฉลี่ย 2 ครั้งใน 1 เดือน โดยในแต่ละครั้งซื้อเครื่องสำอางเป็นจำนวนเงิน เฉลี่ย 500 บาท ประเภทของเครื่องสำอางที่ซื้อผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊ก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์สำหรับแต่งหน้า (Make Up) รองลงมา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ดูแลผิวหน้า (Skin Care) ผลิตภัณฑ์น้ำหอมผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ดูแลเส้นผม (Hair Care) ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ดูแลมือ และเล็บ (Hand and Nail Care) รวมทั้งผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ดูแลผิวกาย (Body Care) ตามลำดับ และมีโอกาสที่จะซื้อเครื่องสำอางผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊ก เมื่อเครื่องสำอางที่เคยใช้เป็นประจำหมด[vii]

จิตราภา ยิ่งยง (2555) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางเกาหลีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา : นักศึกษาหญิง พบว่า นักศึกษาหญิงส่วนใหญ่เลือกซื้อเครื่องสำอางประเภทตกแต่งบนใบหน้าชนิดลิปสติก สาเหตุที่เลือกซื้อนั้นเพื่อความสวยงามและส่วนใหญ่นิยมซื้อเป็นเครื่องสำอางยี่ห้อ สกินฟู๊ด (Skin Food) ความถี่ในการซื้อเครื่องสำอางเกาหลีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเดือนละครั้ง โดยส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องสำอางเกาหลี 201 – 400 บาทต่อครั้ง และรับรู้การซื้อเครื่องสำอางเกาหลีจากเพื่อน โดยกลุ่มตัวอย่างมีการชำระเงินด้วยวิธีการโอนเงินผ่านระบบ E – Banking และเครื่อง ATM หรือ ADM หลังจากเลือกซื้อเครื่องสำอางผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่มีความคิดว่า จะใช้บริการต่อไป แต่ยังจะหาข้อมูลจากผู้บริการรายอื่นในระบบอินเทอร์เน็ต ต่อไป[viii]

ณัฏฐ์ธนานัญ ฤทัยสว่างกุล (2555) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง พบว่า ช่วงเวลาการใช้อินเทอร์เน็ต บ่อยที่สุดช่วง 18.01 – 21.00 น. จำนวนครั้งการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์ มากกว่า 15 ครั้ง จำนวนนาทีเฉลี่ยต่อการใช้งานต่อครั้ง 30 – 60 นาที สถานที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ บ้าน วัตถุประสงค์การใช้งาน คือ การสื่อสาร (E – Mail, Chat, Facebook, Instagram, Line) และมีอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ มือถือ และสมาร์ทโฟน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในภาพรวมมีค่าลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านขนส่งและการจัดจำหน่าย ด้านมาตรฐานสินค้าและบริการ ด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ ด้านค่านิยมและการดำเนินชีวิต ด้านมูลค่าสินค้าและบริการ ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยีและด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ[ix]

เสาวนีย์ ใจมูล (2554) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมของคนวัยทำงานในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ในการซื้อเครื่องสำอางออนไลน์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 10,001 – 15,000 บาท ระดับการศึกษาสูงสุด คือ ระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก ปัญหาที่ผู้ตอบแบบสอบถามพบ คือ การได้รับสินค้าล่าช้า การส่งเสริมการขายไม่มีสินค้าให้ทดลอง การบริการส่วนบุคคลไม่มีผู้ให้คำแนะนำปรึกษา เกี่ยวกับข้อสงสัยของลูกค้า ข้อเสนอแนะ พบว่า กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนวัยทำงาน มีพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางซ้ำ และซื้อง่าย ดังนั้น ผู้ประกอบการควรมุ่งการตลาดที่เน้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ มากกว่ากลุ่มอื่น โดยการนำเสนอสินค้าบนเว็บไซต์ เพื่อกระตุ้นการซื้อเครื่องสำอางที่มีราคาไม่สูงมาก อีกทั้งเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา และมีมาตรฐานกำกับชัดเจน[x]


[i] พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

[ii] พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

[iii] พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

[iv] ปัทมาพร คัมภีระ. (2557). พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊คของนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[v] วีระนุช รายระยับ. (2556). พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าจากสื่ออินเทอร์เน็ตในกลุ่มวัยรุ่น. ภาคนิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรชมงคลพระนคร.

[vi] วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหวิทยาลัยกรุงเทพ.

[vii] ปัทมาพร คัมภีระ. (2557). พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊คของนักศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[viii] จิตราภา ยิ่งยง. (2555). การศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องสำอางเกาหลีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา : นักศึกษาหญิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปกร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. จุลนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปกร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.

[ix] ณัฏฐ์ธนานัญ ฤทัยสว่างกุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.

[x] เสาวนีย์ ใจมูล. (2554). พฤติกรรมของคนวัยทำงานในอำเภอเมืองเชียงใหม่ในการซื้อเครื่องสำอางออนไลน์. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *