แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค (2)

พฤติกรรมผู้บริโภค ประกอบไปด้วย เหตุผลที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายในการซื้อ สถานที่นิยมในการซื้อ อิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ และประเภทของผลิตภัณฑ์ที่สนใจซื้อ พบว่า ทุกปัจจัยล้วนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสกินไวเทนนิ่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความแตกต่างกันจะยิ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากขึ้น[i] พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง การกระทำของบุคคลบุคคลหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการหาให้มาและการใช้ซึ่งสินค้าและบริการ[ii]

คำรณ รัตนธารา (2550) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้ายี่ห้อนีเวียสำหรับผู้ชายวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้ายี่ห้อนีเวียที่ซุปเปอร์มาร์เก๊ต/ร้านสะดวกซื้อ คุณสมบัติที่คำนึงถึง คือ ป้องกันแสงแดด ไม่ให้ผิวคล้ำ ใช้เวลาในการเลือกซื้อ ความถี่ในการใช้เฉลี่ย 1.22 ครั้ง/วัน ใช้เวลาในการใช้เฉลี่ย 1.57 นาที/ครั้ง มีการใช้เฉลี่ย 2.33 ครั้ง/สัปดาห์ ระยะเวลาที่ใช้เฉลี่ย 11.59 เดือน ค่าใช้จ่ายในการใช้เฉลี่ย 138.13 บาท/เดือน ใช้เกณฑ์ด้านตราสินค้าในการตัดสินใจซื้อเฉลี่ย 41.86% คุณภาพ 72.17% และราคา 55.08%[iii]

พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ พบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุไม่เกิน 24 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ 14,001 – 20,000 บาท ลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่ชอบ คือ ขนมเค้ก สถานที่ซื้อเบเกอรี่ คือ ร้านเบเกอรี่ทั่วไป เหตุผลที่เลือกซื้อเบเกอรี่ เพราะรสชาติอร่อย บุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อเบเกอรี่ คือ ตัวเอง จำนวนครั้งที่ซื้อเบเกอรี่ในหนึ่งเดือน 2 – 4 ครั้ง ค่าใช้จ่ายในการซื้อเบเกอรี่ 50 – 100 บาท และเวลาที่ซื้อเบเกอรี่ 15.01 – 18.00 น.[iv]

ษมากร คงกบิล (2550) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมใช้เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าของผู้ชายวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า พฤติกรรมใช้เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าของผู้ชาย ส่วนใหญ่ใช้เครื่องสำอางบำรุงผิวมากกว่าเดิม เพราะความจำเป็นทางร่างกายต้องการให้เครื่องสำอางบำรุงผิวมีคุณสมบัติบำรุงผิวในขั้นตอนเดียว ตราสินค้าที่ใช้อยู่ส่วนใหญ่ คือ แบรนด์นีเวีย มีความถี่ในการใช้เครื่องสำอางบำรุงผิวเป็นประจำทุกวัน ใช้เครื่องสำอางบำรุงผิวกับใบหน้ามากที่สุด เลือกซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิวจากเคาน์เตอร์ตามหน้าสรรพสินค้า ค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งเฉลี่ยเท่ากับ 1,445 บาท[v]

ภัทรานิษฐ์ ภาวินี (2553) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้ชายเจ้าสำอางในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด อยู่ในช่วงอายุ 25 – 34 ปี เป็นพนักงานบริษัทเอกชน การศึกษาปริญญาตรี ระดับรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท โดยเครื่องสำอางที่กลุ่มตัวอย่างใช้ส่วนมากจะผลิตเพื่อการบำรุงและเพื่อใช้สำหรับกิจกรรมนอกบ้าน เช่น การเล่นกีฬา หรือออกงานสังคม ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างคำนึงถึงมากที่สุด คือ คุณภาพ และสิ่งที่ได้รับจากการใช้เครื่องสำอางต้องช่วยในการพัฒนาบุคลิกภาพด้วยเช่นกัน[vi]

พฤติกรรมผู้บริโภค พบว่า ผู้ตอบแบบถามส่วนใหญ่ที่สุดอายุ 30 – 39 ปี เพศชาย สถานภาพโสด ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และมีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 30,000 บาท เหตุผลส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสกินไวเทนนิ่งในด้านเชื่อมั่นในตราสินค้าและบริษัทผู้ผลิต สื่อโทรทัศน์ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมไปซื้อที่ห้างสรรพสินค้า/ตลาดนัด ค่าใช้จ่ายในการซื้อต่ำกว่า 500 บาท ประเภทที่สนใจซื้อมากที่สุด คือ ประเภท Oil Free สรุปได้ว่า ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาสูง และมีกำลังซื้อที่มากขึ้นตามระดับการศึกษาจะมีความเชื่อมั่นและยึดติดในแบรนด์หรือตราสินค้าที่วางขายที่น่าเชื่อถือ และมีความสนใจประเภท Oil Free ในการดูแลบำรุงผิวหน้าทั้งผู้หญิงและผู้ชายแต่ผู้ชายจะใช้เครื่องสำอางในการดูแลผิวหน้ามากที่สุด[vii]

พรเพชร รพีวรัตพันธ์ (2550) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมและปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุงรักษาผิวหน้าสำหรับผู้ชายในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้เครื่องสำอางขนาดกลาง สิ่งที่คำนึงถึงในการซื้อ คือ คุณภาพของสินค้า แหล่งที่รับทราบข้อมูล คือ โทรทัศน์ แหล่งที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ คือ การบอกต่อโดยบุคคล สถานที่ซื้อ คือ ซุปเปอร์สโตร์ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจซื้อมากที่สุด คือ ตัวผู้บริโภคเองด้านปัจจัยในการตัดสินใจซื้อ โดยภาพรวมผู้บริโภคให้ความสำคัญในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคาให้ความสำคัญในระดับมาก ส่วนด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดให้ความสำคัญในระดับปานกลาง[viii]

พฤติกรรมการเลือกซื้อเครื่องเชื่อมโลหะ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีเครื่องเชื่อมโลหะเป็นจำนวนมากกว่า 4 เครื่องขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 80 โดยส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อเครื่องเชื่อมโลหะประเภท MIG/MAG (Robotic) คิดเป็นร้อยละ 40 และตราสินค้าเครื่องเชื่อมโลหะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้อครั้งล่าสุด คือ Yaskawa คิดเป็นร้อยละ 30 ทั้งนี้นิยมซื้อเครื่องเชื่อมโลหะผ่านร้านค้าที่จำหน่ายเฉพาะเครื่องเชื่อมโลหะมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45 จากชำระเงินด้วยเงินสดหรือการโอน คิดเป็นร้อยละ 45 นอกจากนี้ เหตุผลในการตัดสินใจซื้อเครื่องเชื่อมโลหะ และสิ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการซื้อเครื่องเชื่อมโลหะ พบว่า เหตุผลที่ตัดสินใจซื้อเครื่องเชื่อมโลหะดังกล่าว 3 อันดับแรก คือ สินค้ามีคุณภาพดี สินค้ามีราคาถูก และตราสินค้ามีชื่อเสียง โดยคิดเป็นร้อยละ 41 28 และ 12 ตามลำดับ และสิ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการซื้อเครื่องเชื่อมโลหะ 3 อันดับแรก คือ เจ้าของร้านค้า/พนักงานขาย/ช่างติดตั้ง สื่อออนไลน์ และพรีเซ็นเตอร์ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง คิดเป็นร้อยละ 39 21 และ 11 ตามลำดับ[ix]


[i] โสภิต พรหมวิจิตร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสกินไวเทนนิ่งของพนักงานออฟฟิตในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

[ii] โสภิต พรหมวิจิตร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสกินไวเทนนิ่งของพนักงานออฟฟิตในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

[iii] คำรณ รัตนธารา. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้ายี่ห้อนีเวียสำหรับผู้ชายวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการตลาด, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[iv] กฤษณ์ เถียนมิตรภาพ. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าที่มีต่อร้านธารินีเบเกอรี่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

[v] ษมากร คงกบิล. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าของผู้ชายวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[vi]ภัทรานิษฐ์ ภาวินี. (2553). พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของกลุ่มผู้ชายเจ้าสำอางในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[vii] โสภิต พรหมวิจิตร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสกินไวเทนนิ่งของพนักงานออฟฟิตในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

[viii] พรเพชร รพีวรัตพันธ์. (2550). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางเพื่อบำรุงรักษาผิวหน้าสำหรับผู้ชายในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[ix] ศรัณยู ชุติมาศ และอัศวิน ปสุธรรม. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องเชื่อมโลหะ. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา, ครั้งที่ 15, ปีการศึกษา 2563.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *