แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด

ส่วนประสมทางการตลาดถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวควรนำมาใช้ในการจัดการดำเนินธุรกิจ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการซื้อสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยวในยุคปัจจุบัน[i]

ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หมายถึง เครื่องมือปัจจัยทางการตลาดที่ควบคุมได้ และช่วยให้การดำเนินธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายขององค์กร ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) จึงกล่าวได้ว่า โยเกิร์ตแช่แข็งนั้น เป็นสินค้าประเภทหนึ่ง ซึ่งในการสร้างความพึงพอใจ และแนวการตัดสินใจเลือกซื้อนั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หรือ 4P’s เช่น ผลิตภัณฑ์นั้นต้องใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ มีรสชาติอร่อย มีความหลากหลายในเรื่องของรสชาติ ในส่วนของราคานั้นต้องคุ้มค่าในความรู้สึกของผู้บริโภค ส่วนช่องทางการจัดจำหน่ายนั้นควรกระจายอย่างทั่วถึง สามารถเข้าถึงได้ง่าย และในส่วนของการส่งเสริมการตลาดนั้นต้องเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคและสร้างการรับรู้ในตัวผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตแช่แข็ง เพื่อสร้างความพึงพอใจ อันจะส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อและบริโภคอย่างสม่ำเสมอ[ii]

ส่วนประสมทางการตลาด หมายถึง เครื่องมือทางการตลาดที่ธุรกิจนำมาใช้เพื่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ หมายถึง สินค้าที่ขายผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย สินค้ามีคุณภาพดี และมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้เลือก ด้านราคา หมายถึง ความเหมาะสมของราคาเสื้อผ้าแฟชั่นที่มีการจำหน่ายผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ คุณภาพคุ้มค่ากับราคา มีหลากหลายราคาให้เลือกซื้อ สามารถมีการต่อรองราคาในขณะที่ทำการซื้อขายสินค้าได้ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย หมายถึง ชื่อร้านค้าสามารถหาได้ง่าย เป็นที่รู้จักรวมไปถึงจดจำได้ง่าย และมีความสะดวกในเลือกซื้อสินค้า ประหยัดเวลาในการซื้อ และด้านการส่งเสริมการตลาด หมายถึง ผู้ขายมีมนุษยสัมพันธ์ดี และมีการประชาสัมพันธ์ให้คำแนะนและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าให้แก่ลูกค้า มีบริการส่งถึงบ้านฟรีมีการลดราคาสินค้าเมื่อซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นตามที่กำหนดไว้[iii]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4Ps ด้านราคา ทำให้การซื้อสินค้าตามราคาที่ต้องการโดยไม่ตระหนักถึงคุณภาพส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าร้านค้ามัลติแบรนด์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายเท่านั้น ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ไม่ส่งผลและพบว่า ไม่มีเหตุผลใดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้ามัลติแบรนด์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย[iv]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าออนไลน์ มี 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ[v]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านอินสตาแกรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ของกลุ่มดิจิทัลเนทีฟ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยมากทุกปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด เรียงลำดับดังนี้ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ และปัจจัยด้านราคา ตามลำดับ[vi]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภค อันดับแรก คือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา คือ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหนาย และอันดับสุดท้าย คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีอายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน ใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้บริโภคที่มีเพศ และระดับการศึกษาต่างกัน ใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05[vii]

ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด 7Ps ในที่นี้หมายถึง ตัวแปรทางการตลาดที่สามารถควบคุมได้ที่นำมาใช้ร่วมกันเพื่อค้นหาและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค มีทั้งหมด 7 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านราคา (Price) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ด้านบุคคล (People) ด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence and Presentation) ด้านกระบวนการ (Process) [viii]


[i]เสาวนีย์ สุวรรณาภรณ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

[ii] ศิริลักษณ์ คำพึ่ง. (2562). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการเลือกซื้อโยเกิร์ตแช่แข็ง กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

[iii] ศรัณยนันฑ์ ศรีจงใจ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารูรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[iv] โยษิตา นันทิภาคย์ และคม คัมภิรานนท์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้ามัลติแบรนด์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท Instagram ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(36), 130 – 146.

[v] ชมพูนุช น้อยหลี. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าออนไลน์. การค้นคว้าอิสระปริญญาโท มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

[vi] พรรณดา โต. (2560). พฤติกรรมของกลุ่มคนดิจิทัลเนทีฟ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านอินตาแกรม. การค้นคว้าอิสระปริญญาโท, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

[vii] รัตนา โพธิวรรณ์. (2562). การใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคในเขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกริก.

[viii] นิราภร คำจันทร์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ผ่านแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมในประเทศไทย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *