แนวคิดปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้ หมายถึง ผลตอบแทนที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติของกิจการ[i]

ปัจจัยส่วนบุคคล เรื่อง “รายได้เฉลี่ยต่อเดือน” จะให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจการเลือกซื้อบ้านจัดสรรที่แตกต่างกัน ในปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาดและด้านการให้บริการ โดยผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 – 50,000 บาท จะให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านต่าง ๆ มากที่สุด รองลงมา คือ 10,001 – 20,000 บาท เนื่องจาก รายได้ที่มากหรือน้อยส่งผลให้กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อของบุคคลกลุ่มนี้มีความรอบคอบ พิจารณาอย่างถี่ถ้วน[ii]

ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านรายได้ ผลการศึกษา พบว่า รายได้ของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[iii]

ผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หากแบ่งอาชีพออกเป็นส่วนที่มีรายได้ที่มั่นคงแต่กำลังซื้อน้อย เช่น รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนที่มีรายได้ไม่แน่นอน เช่น พ่อบ้านแม่บ้าน นักแปล และไม่มีรายได้ เช่น นักเรียน นิสิต นักศึกษา และว่างงาน อาชีพที่ต่างกันมีความมั่นคงต่างกัน รายได้ที่แตกต่างกันทำให้เกิดข้อจำกัดในการใช้จ่ายย่อมมีแนวคิด อุดมการณ์และค่านิยมต่อสิ่งต่าง ๆ แตกต่างกันส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละอาชีพแตกต่างกัน ทำให้การเลือกซื้อสินค้าและบริการแตกต่างกันไปอีกด้วย มากกว่าธุรกิจส่วนตัว และพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน[iv]

ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายผ่านแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมแตกต่างกัน 6 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ แสดงให้เห็นว่า รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายผ่านอินสตาแกรมในประเทศไทยแตกต่างกัน ซึ่งอธิบายได้ว่า แต่ละร้านมีการนำเสนอสินค้าที่หลากหลายแตกต่างกันตามระดับราคา ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการในด้านราคาที่สามารถจ่ายได้ แตกต่างกันไปตามระดับรายได้ ส่งผลให้รายได้ที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อที่แตกต่างกัน โดยจะเป็นไปไปตามความต้องการของแต่ละบุคคล รายได้เป็นตัวชี้วัดความสามารถของผู้บริโภคในการซื้อเสื้อผ้าในระดับราคาที่แตกต่างกัน[v]

  1. ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ มีการยอมรับที่แตกต่างกัน 5 ประเด็น ได้แก่ มีเสื้อผ้าที่ทันสมัย เสื้อผ้ามีเอกลักษณ์มีการออกแบบที่โดดเด่น เสื้อผ้ามีคุณภาพดี มีการตัดเย็บอย่างประณีต และแบรนด์ของเสื้อผ้ามีชื่อเสียงและได้รับความนิยม พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาทมีการยอมรับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างจากรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 – 50,000 บาท โดยรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 – 50,000 บาท มีการยอมรับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มากกว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท
  2. ปัจจัยด้านราคา มีการยอมรับที่แตกต่างกัน 5 ประเด็น ได้แก่ ราคาเสื้อผ้าถูกกว่าการซื้อผ่านแหล่งจำหน่ายอื่น มีความหลากหลายของวิธีการชำระเงิน ความชัดเจนในการแสดงราคาสินค้า มีราคาให้เลือกหลายระดับราคา และราคามีความเหมาะสมกับคุณภาพ พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท มีการยอมรับปัจจัยด้านราคาแตกต่างจากรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาทโดยรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท มีการยอมรับปัจจัยด้านราคาเท่ากับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท
  3. ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีการยอมรับที่แตกต่างกัน 3 ประเด็น ได้แก่ แอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็วในการสั่งสินค้า มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ และสามารถค้นหาสินค้าได้อย่างรวดเร็ว พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท มีการยอมรัรบปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายแตกต่างจาก รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 50,001 บาทขึ้นไป โดยรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 50,001 บาทขึ้นไป มีการยอมรับปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมากกว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท
  4. ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด มีการยอมรับที่แตกต่างกัน 4 ประเด็น ได้แก่ การโฆษณาออนไลน์ใช้สื่อ เช่น ภาพ วิดีโอ บทความ ฯลฯ น่าสนใจช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อสินค้า ความหลากหลายของโปรโมชั่น เช่น การสะสมแต้ม การให้ส่วนลด การให้ของแถม การทำโปรโมชั่นบ่อยครั้งทุกโอกาสหรือทุกเทศกาล และใช้บุคคลมีชื่อเสียง เช่น ดารา เน็ตไอดอล ในการโฆษณาสินค้า พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท มีการยอมรับปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างจากรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท โดยรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท มีการยอมรับปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดมากกว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท
  5. ปัจจัยด้านบุคลากร พบว่า มีการยอมรับที่แตกต่างกัน 3 ประเด็น ได้แก่ มีอัธยาศัยไมตรีที่ดี มีใจบริการ มีความรู้/ความเชี่ยวชาญในตัวสินค้าที่ขาย และผู้ขายหรือแอดมิน ตอบคำถามอย่างรวดเร็ว พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท 10,001 – 20,000 บาท และ 20,001 – 30,000 บาท มีการยอมรับปัจจัยด้านบุคลากรแตกต่างจากรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท โดยรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท 10,001 – 20,000 บาท และ 20,001 – 30,000 บาท มีการยอมรับปัจจัยด้านบุคลากรมากกว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท
  6. ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ พบว่า มีการยอมรับที่แตกต่างกัน 2 ประเด็น ได้แก่ การจัดรูปภาพและวิดีโอสวยงาม เช่น ภาพมีความชัดเจนไม่เบลอ การใช้สีของภาพในโทนเดียวกัน และอินสตาแกรมแสดงสินค้าเป็นหมวดหมู่ ดูง่ายเป็นระเบียบ พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท การยอมรับปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ แตกต่างจากรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท โดยรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท มีการยอมรับปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพมากกว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท[vi]

[i] อนัสรีย์ เพชรขุ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

[ii] อนัสรีย์ เพชรขุ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

[iii]ชุติมา คล้ายสังข์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 15(1), 37 – 69.

[iv] ศรัณยนันท์ ศรีจงใจ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[v] นิรากร คำจันทร์.  (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ผ่านแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมในประเทศไทย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

[vi] นิรากร คำจันทร์.  (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ผ่านแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมในประเทศไทย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *