Marketing_Mix_4P_Color_Icons_2 (1)

ส่วนประสมทางการตลาด จัดเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ช่วยในการวิเคราะห์ถึงแนวทางการจำหน่ายสินค้าของธุรกิจว่าควรทำเช่นไรกับสินค้าที่ต้องการนำมาแข่งขันกับสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดซึ่งนอกเหนือจากนี้ ธุรกิจยังควรเลือกใช้กลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสินค้าที่ต้องการจำหน่ายด้วย สินค้านั้น ๆ จึงจะสามารถสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจได้[i]

ส่วนประสมทางการตลาด หมายถึง เครื่องมือทางการตลาดที่ธุรกิจนำมาใช้เพ่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้[ii] ดังนี้

  1. ด้านผลิตภัณฑ์ หมายถึง สินค้าที่ขายผ่านตลาดออนไลน์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีความหลากหลาย รูปแบบสินค้า ยี่ห้อ ความหลากหลายของสินค้าและเป็นที่ต้องการของลูกค้า
  2. ด้านราคา หมายถึง ราคาของสินค้ามีความเหมาะสมกับคุณภาพ มีการบอกราคาอย่างชัดเจน ความคุ้มค่าของราคาสินค้า และบริการผ่านทางตลาดออนไลน์ เพื่อเสนอให้แก่ลูกค้าเลือกซื้อ
  3. ด้านการจัดจำหน่าย หมายถึง ช่องทางการเข้าสู่ร้านค้าตลาดออนไลน์ ที่มีชื่อร้านค้าสามารถหาได้ง่าย เป็นที่รู้จักรวมไปถึงจดจำได้ง่าย และมีความสะดวกในการซื้อสินค้า ความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล
  4. ด้านการส่งเสริมการตลาด หมายถึง การสื่อสารทางการตลาดเพื่อช่วยส่งเสริมการขาย เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การทำกิจกรรมร่วมกัน หรือการทำโปรโมชั่นต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมและเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย โดยการทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ป้ายโฆษณา (Banner Advertising) การลงทะเบียนเว็บไซต์ผ่าน Search Engine

ส่วนประสมทางการตลาด (4Ps) หมายถึง การจัดการด้านการบริหาร ด้านการตลาด รวมถึงกำหนดแนวทางในการใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งตัวแปรทางการตลาดที่สามารถควบคุมได้ที่ธุรกิจจะต้องนำมาใช้ร่วมกัน เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของตลาดเป้าหมาย โดยส่วนประสมทางการตลาด 4Ps[iii] ประกอบด้วย

  1. ผลิตภัณฑ์ (Product) หมายถึง สิ่งที่เสนอขายสู่ตลาดเพื่อความสนใจ การจัดหา การใช้ หรือการบริโภคที่สามารถทำให้ลุกค้าเกิดความพึงพอใจ
  2. ราคา (Price) หมายถึง จำนวนที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์/บริการ หรือเป็นคุณค่าทั้งหมดที่ลูกค้ารับรู้เพื่อให้ได้ผลประโยชน์จากการใช้ผลิตภัณฑ์/บริการคุ้มกับเงินที่จ่ายไป
  3. สถานที่จำหน่าย (Place) หมายถึง โครงสร้างของช่องทาง ซึ่งประกอบด้วย สถาบันและกิจกรรมใช้เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการขององค์กรไปยังตลาด
  4. การส่งเสริมการขาย (Promotion) หมายถึง เครื่องมือการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ ต่อตราสินค้า หรือบริการ หรือความคิด หรือต่อบุคคล โดยใช้จูงใจให้เกิดความต้องการ หรือเพื่อเตือนความทรงจำ (Remind) ในผลิตภัณฑ์โดยคาดว่า จะมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความเชื่อ และพฤติกรรมการซื้อ

เจตนา ชีวเจริญกุล (2562) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาด (Beach Attraction) กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ พบว่า นักท่องเที่ยวมีความรู้ความเข้าใจในระดับน้อย ในด้านทัศนคติ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับ “เห็นด้วยมากที่สุด” ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นโดยภาพรวม คือ “เห็นด้วยมาก” อีกทั้งพบว่า นักท่องเที่ยวมีความสนใจผลิตภัณฑ์กันแดดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ทั้งนี้เพราะนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็น “เห็นด้วยมาก” ในประเด็น ท่านจะซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ถึงแม้ว่า จะไม่ใช่ตราสินค้าที่ฉันใช้อยู่เป็นประจำและท่านจะแนะนะคนรู้จักให้ซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล และพบว่า ทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กันแดดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา (Price) และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ในขณะที่ปัจจัยอื่น ๆ ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์พบว่า ระดับความคิดเห็นด้านราคาเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความน่าจะเป็นในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล[iv]

ศิริลักษณ์ คำพึ่ง (2562) ศึกษาเรื่องพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการเลือกซื้อโยเกิร์ตแช่แข็ง กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ด้านลักษณะส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกซื้อโยเกิร์ตแช่แข็งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้ ในด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวม พบว่า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อโยเกิร์ตแช่แข็ง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจะพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ในส่วนวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และโยเกิรต์แช่แข็งมีความอร่อย ไม่มีความสัมพันธ์กับรสชาติที่ผู้บริโภคเลือกรับประทาน ด้านโยเกิร์ตแช่แข็งมีรสชาติที่หลากหลาย ไม่มีความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ ด้านราคา (Price) ในส่วนโยเกิร์ตแช่แข็งมีราคาเหมาะสมกับปริมาณ ไม่มีความสัมพันธ์กับรสชาติที่ผู้บริโภคเลือกรับประทาน ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ในส่วนมีสินค้าครบถ้วนไม่ขาดสต๊อก ไม่มีความสัมพันธ์กับรสชาติที่ผู้บริโภคเลือกรับประทาน และผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ไม่มีความสัมพันธ์กับรสชาติที่ผู้บริโภคเลือกรับประทาน[v]


[i] ขจรศักดิ์ ธีระทวีสุข. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้ารูปแบบดิจิทลของประชากรในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[ii] พิไลวรรณ อุบลวรรณ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อเสื้อผ้าผ่านตลาดออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

[iii] ศุภกร สมจิตต์. (2562). อิทธิพลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของธุรกิจค้าปลีกญี่ปุ่นที่เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทย กรณีศึกษา ดองกิ มอลล์. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น.

[iv] เจตนา ชีวเจริญกุล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาด (Beach Attraction) กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต.

[v] ศิริลักษณ์ คำพึ่ง. (2562). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการเลือกซื้อโยเกิร์ตแช่แข็ง กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *