กินดีสุขภาพดี

“สุขภาพ” หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญาและทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล ในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 สุขภาพภายใต้ระบบสุขภาพแนวใหม่ เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทั้งมวล ส่วนกินดี หมายถึง การกินเพื่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ดังนั้น “กินดี” ก็คือ กินอาหารครบ 5 หมู่ในทุกมื้อและเลือกอาหารที่ดีที่สุดของแต่ละหมู่ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการดีนั้นเอง เนื่องจาก อาหารปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของคนเรา การได้รับสารอาหารในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการได้รับน้อยเกินไปหรือมากเกินไป ต่างก็สามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ทั้งนั้น

กระแสสังคมแห่งศตวรรษที่ 21 ทำให้ประชาชนปรับตัวให้เข้ากับสภาพการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน จึงทำให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีเวลาออกกำลังกาย บริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีภาวะเครียดจากการทำงานและการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา นอกจากนี้ คนไทยมีแนวโน้มบริโภคอาหารสดน้อยลงประกอบอาหารรับประทานเองลดลง และหันไปพึ่งพา อาหารสำเร็จรูปมากขึ้น ซึ่งอาหารสำเร็จรูปมักอุดมไปด้วยน้ำตาล ไขมันและโซเดียม เนื่องจาก ประหยัดเวลา และสะดวก การดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบันเองที่บ้าน อาจมีต้นทุนที่สูงกว่าการซื้ออาหารสำเร็จรูป โดยหันมานิยมรับประทานอาหารประเภทแช่แข็ง เนื่องด้วยความสะดวกสบายและช่วยประหยัดเวลา ความสะดวกในการซื้อความมั่นใจในความสะอาดปลอดภัย รสชาติของอาหารที่อร่อย ความไม่สะดวกที่จะประกอบอาหารรับประทานเองและกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ

การเจ็บป่วยที่เพิ่มมากขึ้น เป็นเรื่องใกล้ตัวทำให้คนหันมาใส่ใจในการดูแลสุขภาพ แต่ในอีกมุมสังคมในศตวรรษที่ 21 ยุคไร้สาย มีครอบคลุมของการสื่อสารและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น โลกาภิวัฒน์ของตลาดพร้อมด้วยการมีการค้าเสรี กระแสบริโภคนิยม ผู้ขายและผู้บริโภคมีพื้นที่ส่วนตัวและมีอิสระในการซื้อขายในหลากหลายช่องทาง เช่น อินเตอร์เนต การขายตรง การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบสื่อสารที่พัฒนาขึ้น เช่น ไลน์หรือแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ฯลฯ เพื่อการกินเพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยที่ประเทศไทยยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวได้ โดยเฉพาะเรื่องมาตรฐานของข้อมูล ซึ่งกล่าวว่า การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพที่เชื่อถือได้ ยังมีปัญหาค่อนข้างมาก เพราะขาดกลไกควบคุม กำกับและการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การตัดสินใจจำนวนมากของประชาชน อยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่ ขาดความชัดเจนและไม่น่าเชื่อถือเพียงพอ ทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนทั้งเชิงบวกและลบ ผลกระทบเชิงบวก กล่าวคือ มีการสร้างสรรค์ พัฒนาวัฒนธรรมย่อยโดยเฉพาะเรื่องการกินอาหารที่หลากหลายและผลกระทบเชิงลบ มีการใช้จุดอ่อนหรือช่องว่างของการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะกินเพื่อสุขภาพที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด  ผู้บริโภคขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพที่แท้จริง จึงทำให้เสียเงินในการซื้อและอาจมีผลต่อสุขภาพในระยะยาวจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน การวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการสื่อสารของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า วัยรุ่นชอบโพสต์ภาพอาหารเพื่อสุขภาพคิดเป็นร้อยละ 70 การแชร์ข้อมูลกลายเป็นการเพิ่มกระแสของการกินอาหารอีกมุมหนึ่ง ที่ทำให้บริโภคนิสัยของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป การกินดีในศตวรรษที่ 21 นั้น ประชาชนไทยในฐานะผู้บริโภคต้องมีความรู้และเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพมากกว่าการบริโภคอาหารตามกระแสหรือค่านิยม

การกินอาหารเพื่อการมีสุขภาพดีสามารถทำได้ด้วยตนเองอีกประการหนึ่ง คือ การกินตามธงโภชนาการ ธงโภชนาการถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยอธิบายและทำความเข้าใจตลอดจนแนะนำการบริโภคอาหารแก่คนไทย โดยใช้คู่กับไปกับโภชนาบัญญัติ 9 ประการ เป็นแนวทางการกินอาหารที่สามารถปฏิบัติตามได้ด้วยตนเอง ตามกลุ่มอายุเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนโดยนำหลักอาหาร 5 หมู่ มาใช้โดยสื่อสารในรูปแบบของธงปลายแหลมที่แบ่งพื้นธงออกเป็น 6 ส่วนตามกลุ่มอาหาร โดยคำนึงถึง 3 ด้าน กล่าวคือ ด้านปริมาณ สัดส่วน และความหลากหลายของชนิดอาหาร

ปริมาณอาหารแต่ละกลุ่ม ซึ่งหมายรวมถึงกลุ่มข้าวและแป้ง กลุ่มผักและผลไม้ กลุ่มเนื้อสัตว์ ถั่ว ไข่และนม และกลุ่มน้ำมัน น้ำตาล โดยกำหนดให้บริโภคเป็นค่าตัวเลขที่บอกเป็นช่วง เนื่องจากแต่ละคนจะมีความต้องการพลังงานที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับเพศ อายุและการใช้กำลังงานของแต่ละคน โดยแบ่งพลังงานออกเป็น 3 ระดับ คือ

  • ระดับความต้องการพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี ได้แก่ เด็กอายุ 6 – 13 ปี หญิงวัยทำงานอายุ 25 – 60 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ระดับความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี ได้แก่ วัยรุ่น หญิง – ชาย อายุ 14 – 25 ปี และชายวัยทำงานอายุ 25 – 60 ปี
  • ระดับความต้องการพลังงานวันละ 2,400 กิโลแคลอรี สำหรับหญิง – ชาย ที่ใช้พลังงานมาก ๆ เช่น เกษตรกรผู้ใช้แรงงานและนักกีฬา
ธงโภชนาการ

สัดส่วนปริมาณของอาหารแต่ละกลุ่มที่ควรบริโภคแต่ละวันตามความต้องการของร่างกายโดยจัดอยู่ใน 4 ระดับของพื้นที่ของธงโภชนาการ ดังนี้

  1. กลุ่มข้าวและแป้ง เป็นกลุ่มอาหารที่ถูกกำหนดให้บริโภคมากที่สุดตามระดับความต้องการพลังงานของร่างกาย คือ ถ้าร่างกายมีความต้องการพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี ควรรับประทานข้าววันละ 8 ทัพพี แต่ถ้าร่างกายต้องการพลังงานวันละ 2,000 หรือ 2,400 กิโลแคลอรี ควรรับประทานข้าววันละ 10 และ 12 ทัพพี ตามลำดับ
  2. กลุ่มผักและผลไม้ เป็นกลุ่มอาหารที่ถูกกำหนดให้บริโภครองลงมาจากกลุ่มข้าว คือ ถ้าร่างกายมีความต้องการพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี ควรรับประทานผักวันละ 4 ทัพพี และผลไม้วันละ 3 ส่วน แต่ถ้าร่างกายต้องการพลังงานวันละ 2,000 หรือ 2,400 กิโลเคลอรี ควรรับประทานผักวันละ 4 และ 6 ทัพพี และผลไม้วันละ 4 และ 5 ส่วน ตามลำดับ
  3. กลุ่มเนื้อสัตว์ ถั่ว ไข่ และนม เป็นกลุ่มอาหารที่ถูกกำหนดให้บริโภครองลงมาเป็นอันดับที่ 3 ถ้าร่างกายมีความต้องการพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี ควรรับประทานเนื้อสัตว์วันละ 6 ช้อนกินข้าว แต่ถ้าร่างกายต้องการพลังงานวันละ 2,000 หรือ 2,400 กิโลแคลอรี ควรรับประทานเนื้อสัตว์ วันละ 9 และ 12 ช้อนกินข้าว ตามลำดับ
  4. กลุ่มน้ำมัน น้ำตาล และเกลือ เป็นกลุ่มอาหารที่ควรรับประทานให้น้อยที่สุด และเท่าที่จำเป็นสำหรับทุกระดับพลังงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *