อิทธิพลการบนบาน บวงสรวงต่อสังคมไทย

อิทธิพล คือ ความเชื่อที่มีพลังอำนาจซึ่งแฝงอยู่ในบุคคล มีพลังสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ อำนาจที่สามารถบันดาลให้ผู้อื่นต้องคล้อยตามหรือทำตาม ณ ปัจจุบันนี้ ควรแยกอิทธิพลออกเป็น 2 นัย คือ อิทธิพลทางบวก กับอิทธิพลทางลบ อิทธิพลทางบวก เช่น บุคคลแม่แบบทางจริยธรรม จะส่งผลให้คนอื่นเอาอย่าง หรือเลียนแบบ โดยถือว่า บุคคลนั้นเป็นบุคคลในอุดมคติ (Idol) ปัจจุบันนี้ จะปรากฏออกมาในรูปแบบของบารมี คือ ผู้ทรงพลังอำนาจแห่งบุญทานด้วยคุณความดีของเขา ทำให้คนอื่นให้ความเคารพ จำเกรง เป็นบุคคลที่มีคุณูปการต่อสังคม มีผลให้ใครคิดทำร้ายไม่ลง แถมยังเป็นกรอบป้องกันชีวิต ป้องกันทรัพย์ให้ เป็นรั้วบ้านให้อย่างดี เรียกได้ว่า ยอมทุกอย่าง มีคุณมากกว่าเดช อิทธิพลอีกแบบหนึ่งเป็นไปในทางลบ นั่นคือ วางตนมีอำนาจสามารถคุมบังเหียนให้คนที่อยู่ในระบบหรือนอกระบบขององค์กรทำตามได้ด้วยเบียนเบียน ทำร้าย มักไม่เสียสละให้เป็นคุณ ให้เป็นประโยชน์ เรียกว่า มีแต่เดช ไม่มีคุณ

อิทธิพลอีกแบบหนึ่ง เป็นอิทธิพลทางลบ อวดอ้างเพื่อสร้างบารมีทางลบ ได้แก่ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดำรงตนด้วยการกระทำการด้วยตนเอง หรือใช้จ้างวาน สนับสนุนการกระทำการใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรืออยู่เหนือกฎหมาย ผลของการกระทำนั้นเป็นบ่อนทำลายเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ข้อต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นอุปสรรคขัดขวางการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของประชาชนหรือทำลายคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนรวมทั้งจัด ระบบงานการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเท่าเทียมกัน

ปัจจุบันจะได้ยินคำว่า ผู้มีอิทธิพลอยู่เสมอ ๆ คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำตนมีอำนาจเหนือชีวิตของใคร ๆ สนับสนุนการกระทำการใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรืออยู่เหนือกฎหมาย ผลของการกระทำนั้นเป็นบ่อนทำลายเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นอุปสรรคขัดขวางการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของประชาชนหรือทำลายคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องดำเนินการดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งจัดระบบงานการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเท่าเทียมกัน

ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นอิทธิพลของบุคคลหรือกลุ่มคน ส่วนในเรื่องที่อธิบายอยู่นี้ เป็นอิทธิพลของการบนบาน ซึ่งไม่ใช่บุคคลหรือกลุ่มคนใด ๆ แต่ก็มีอิทธิพลไม่แพ้บุคคลหรือกลุ่มคน ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า สังคมไทยทุกวันนี้มีปัญหารอบด้าน โดยเฉพาะปัญหาปากท้องที่เรียกกันสวยหรูว่าปัญหาเศรษฐกิจ ส่งผลให้คนไม่มั่นใจในการทำงานของตนต้องหันหน้าพึงพาอำนจนอกเหนือการสัมผัสที่คิดว่า จะพึงช่วยได้ ทำให้มีการบนบานศาลกล่าว เรื่องนี้แท้จริงก็พัฒนาการมาจากบวงสรวงดวงวิญญาณ การเซ่นไหว้ การบูชายัญนั่นเอง พิธีเซ่นไหว้ยังอิทธิพลอันหนึ่งของชาวจีน คือ เทศกาลตรุษจีน เป็นเทศกาลเซ่นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ คือ มีความเชื่อว่า วิญญาณของบรรพบุรุษนั้นจะมารับทาน เป็นกงเต๊ก คือ สิ่งของที่มอบอุทิศไปให้ มีบ้าน รถยนต์ หม้อ ไห เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

อิทธิพลของการบนบานที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเทศกาลประจำปีของไทย คือ เทศกาลสงกรานต์ ประเด็นใดของสงกรานต์ที่เป็นผลของการบนบานนี้ ก็นางสงกรานต์ ซึ่งเป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม 7 คน โดยธิดานี้เมื่อครบรอบปีระหว่างวันที่ 13 – 15 เมษายนทุกปี จะผลัดวาระกันนำศีรษะของท้าวกบิลพรหมเป็นผู้เป็นบิดาจากถ้ำคันธุลี ที่ภูเขาสุเมรุหรือภูเขาไกรลาสมารดน้ำดำหัว นำเวียนรอบเขาพระสุเมรุเป็นเวลา 60 นาทีแล้วบรรจุที่เดิม จะเป็นคนใดนั้นขึ้นอยู่กับว่า ปีใดวันสงกรานต์วันที่ 13 – 14 – 15 เมษายน ตรงกันวันใด ถ้าปีใดวันสงกรานต์ตรงกับวันอาทิตย์นางสงกรานต์จะนามว่า “ทุงษะเทวี” แต่งองค์ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราช (ทับทิม) ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) มือขวาถือจักร มือซ้ายถือสังข์ พาหนะ คือ “ครุฑ” วันจันทร์ เป็นวาระของธิดา ชื่อ “โคราคเทวี” แต่งองค์ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารเตละ (น้ำมัน) มือขวาถือ “พระขรรค์” มือซ้ายถือไม้เท้า พาหนะ คือ “พยัคฆ์ (เสือ)” วันอังคาร เป็นวาระของธิดา ชื่อ “รากษสเทวี” แต่งองค์ทัดดอกบัวหลวงเครื่องประดับแก้วโมรา ภักษาหารโลหิต มือขวาถือ “ตรีศูล (หลาวสามง่าม)” มือซ้ายถือ “ธนู” พาหนุคือ “วราหะ (หมู)” วันพุธ เป็นวาระของธิดา ชื่อ “มณฑาเทวี” แต่งองค์ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนยม มือขวาถือ “เข็มหรือเหล็กแหลม” มือซ้ายถือ “ไม้เท้า” พาหนุ คือ “คัทรภา (ลา)” วันพฤหัสบดี เป็นวาระของธิดา ชื่อ “กิริณีเทวี” แต่งองค์ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา มือขวาถือขอ มือซ้ายถือปืน พาหนะ คือ “คชสาร (ช้าง)” วันศุกร์เป็นวาระของธิดา ชื่อ “กิทิมาเทวี” แต่งองค์ทัดดอกจงกลมณี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า อาวุธ มือขวาถือ “พระขรรค์” มือซ้ายถือ “พิณ” พาหนะ คือ “มหิงส์ (ควาย)” วันเสาร์ เป็นวาระของธิดา ชื่อ “มโหทรเทวี” แต่งองค์ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย มือขวาถือ “จักร” มือซ้ายถือ “ตรีศูล” พาหนะคือ “มยุรา (นกยูง)”

ทำให้เราทราบว่า อิทธิพลของการบนบานมีอิทธิพลต่อสังคมไทยมาก ผ่านเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่าง เทศกาลสงกรานต์ซึ่งมีประวัติความเป็นมาจากการบนบาน จึงเป็นที่มาของธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมไทยถึงปัจจุบัน มีดังนี้

  • มีพิธีรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ในเทศกาลสงกรานต์
  • มีพิธีปล่อยนกปล่อยปลาจนวันสงกรานต์ถือ เป็นวันประมงแห่งชาติของไทย
  • มีการก่อเจดีย์ทรายในวัดเพื่อทดแทนที่ตนเหยียบดินวัดติดเท้าไป
  • มีวันผู้สูงอายุ โดยรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และขอพรจากท่าน
  • มีวันครอบครัวหรือวันพบญาติ โดยที่วันนั้นลูกหลานญาติพี่น้องอยู่แดนไกลก็จะมารวมกันในบ้านพ่อแม่
  • ได้แบบจำลองเมรุเผาศพ คือ เมรุเผาศพนี้ได้แบบมาจากภูเขาพระสุเมรุที่บรรจุศีรษะของท้าวกบิลพรหม
  • มีวันแห่งเทศกาลออกแสดงของผีตาโขนที่คอยหลอกหลอกผู้คนที่กำลังเล่นสนุกสนานจนเกนไป จนลืมเจ็บลืมปวด อันเป็นการไม่ระวังยั้งคิดมีการสาดน้ำ เล่นสี ดื่มสุรามึนเมาไร้สติในเทศกาลสงกรานต์ แล้วผีตาโขนนี้ถือว่า เป็นตัวปีศาลมารร้ายขัดจังหวะคนที่สนุกสนานจนลืมเจ็บลืมตายนั้น ในทัศนะธรรมถือว่า เป็นปริศนาธรรมที่คอยเตือนสติของคนเหล่านั้นนั่นเอง

การบนบาน บวงสรวงนี้ มีอิทธิพลต่อสังคมไทยอย่างไรนั้น ซึ่งไม่ใช่แต่สังคมชาวบ้านเท่านั้น แม้แต่พระสงฆ์จะทำพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศล จะทำพิธีปลุกเสก ยกเสาเอก เป็นต้น ก็ยังทำพิธีบนบาน บวงสรวงด้วย  

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *