หลักการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนที่มีภาวะอ้วน

สิ่งที่ต้องตระหนักเป็นพิเศษในเด็กวัยเรียน คือ การเจริญเติบโตต้องอาศัยอาหารที่กินเข้าไปช่วยในกระบวนการนี้ โดยการเจริญเติบโตขยายขนาดของเซลล์ร่วมกัน การสร้างเนื้อเยื่อเพื่อเก็บสะสมไขมันภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นโดยต่อมไร้ท่อ เช่น โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้นให้ร่างกายนำสารอาหารโปรตีนไปสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ และโครงสร้างกระดูกกระตุ้นให้ร่างกายนำแคลเซียมไปเกาะตามโครงสร้างของกระดูก ทำให้กระดูกเจริญตามยาวและแข็งแรงในวัยที่ยังมีการเจริญเติบโต

หลักการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะอ้วนเกินไป จะต้องคำนึงถึงความเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายของเด็กได้รับสารอาหารต่าง ๆ เข้าไปมีหน้าที่ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้เต็มศักยภาพ พร้อมทั้งบำรุงร่างกาย สร้างภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ช่วยให้อวัยวะทุกส่วนดำรงสภาพตามปกติและสิ่งสำคัญช่วยบำรุงสมอง เพื่อให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ทุก ๆ ด้าน เสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกายสติปัญญา สังคมและอารมณ์อย่างเต็มที่

ดังนั้น เพื่อช่วยให้การจัดการสำหรับเด็กนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนเป็นไปโดยง่าย จึงได้จำแนกอาหารเป็น 6 หมวด ในแต่ละหมวดอาหารจะให้พลังงานและคุณค่าทางโภชนาการที่ใกล้เคียงกัน ไม่มีอาหารหมวดใดหมวดหนึ่งที่จะให้สารอาหารครบถ้วน จึงควรให้เด็กนักเรียนกินอาหารให้ครบทุกหมวดใน 1 วัน

หมวดที่ 1 น้ำนม นมเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และพลังงาน รวมทั้งเป็นแหล่งให้วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิด เช่น วิตามิน เอ บี ดี และ บี 12 รวมทั้งแร่ธาตุ พลังงาน แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส นมจึงเหมาะสมสำหรับเด็กเพื่อการเจริญเติบโต ควรให้เด็กได้ดื่มนมสดพร้อมดื่มทุกวัน ควรเป็นชนิดจืด เด็กวัยเรียนที่ต้องลดน้ำหนัก ควรดื่มนมสดพร่องมันเนย หรือนมสดขาดมันเนย หรือหลีกเลี่ยงไขมันในนม

หมวดที่ 2 ผัก ผักเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุ ผักใบเขียวและสีเหลือง จะเป็นแหล่งของวิตามินเอ ผักแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

ผักชนิด ก คือ ผักประเภทใบต่าง ๆ เช่น ใบเขียว – ขาว ทุกชนิด ซึ่งอุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินซี ผักประเภทนี้มีใยอาหารมากและให้พลังงานน้อย

ผักชนิด ข คือ ผักประเภทที่เป็นหัวและถั่วต่าง ๆ เช่น แครอท ฟักทอง หอมใหญ่ เป็นต้น ซึ่งผักชนิด ข. จะให้พลังงานมากกว่าชนิด ก.

หมวดที่ 3 ผลไม้ เป็นแหล่งที่ให้วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร เช่นเดียวกันกับผัก แต่ผลไม้จะมีน้ำตาลผลไม้อยู่ในตัวเองโดยธรรมชาติ แนะนำให้กินผลไม้แทนขนมหวานเป็นประจำทุกมื้อ แต่ควรเป็นผลไม้ที่มีรสหวานน้อย เช่น ส้ม มะละกอ ฝรั่ง พุทรา มังคุด เป็นต้น พยายามงดหรือลดผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ละมุด  น้อยหน่า ขนุน ลำไย ผลไม้กระป๋อง ผลไม้เชื่อมหรือผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน เป็นต้น

หมวดที่ 4 ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวและแป้ง ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวและแป้ง จะให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจำนวนมาก รวมทั้งให้พลังงานความร้อนแก่ร่างกาย ข้าวที่ผ่านการขัดสีแต่น้อยให้ใยอาหารแก่ร่างกายอีกด้วย

หมวดที่ 5 เนื้อสัตว์และไข่ เนื้อสัตว์เป็นแหล่งของสารอาหาร โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น เหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม สังกะสี วิตามินเอ วิตามินซี เนื้อสัตว์และไข่ มีสารอาหารไขมันจำนวนมากและมีคอเลสเตอรอลสูง เช่น หมูติดมัน ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังไก่ หนังเป็ด ควรกินอาหารเหล่านี้ลดลงหรืองดไป ให้กินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เช่น หมูเนื้อแดง ไก่ชนิดไม่มีหนัง เนื้อวัวไม่ติดมัน

หมวดที่ 6 ไขมัน ไขมันที่ใช้ประกอบอาหาร ควรใช้น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงคอเลสเตอรอล และได้กรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกาย

การกำหนดอาหารสำหรับเด็กนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน

กำหนดอาหารตามพลังงานและสารอาหาร ดังนี้

  1. ควรได้สารอาหารคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 50 – 55 ของจำนวนพลังงานทั้งหมดต่อวัน
  2. ควรได้รับสารอาหารโปรตีน ร้อยละ 20 – 25 ของจำนวนพลังงานทั้งหมดต่อวัน เด็กต้องการโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโตด้วย
  3. ควรได้รับสารอาหารไขมัน ร้อยละ 20 – 25 ของจำนวนพลังงานทั้งหมดต่อวัน

ตัวอย่าง การคำนวณหาสารอาหารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ในเด็กนักเรียนที่มีภาวะอ้วน กำหนดความต้องการพลังงาน 1,200 กิโลแคลอรีต่อวัน

  1. หาคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 55 (1,200*55)/(100*4) = 165 กรัม
  2. หาสารอาหารโปรตีน ร้อยละ 25 (1,200*25)/(100*4) = 75 กรัม
  3. หาสารอาหารไขมัน ร้อยละ 20 (1,200*20)/(100/9) = 27 กรัม

วิธีการคำนวณหาจำนวนอาหาร

หมวดอาหารจำนวนแลกเปลี่ยน (ส่วน)คาร์โบไฮเดรต (กรัม)โปรตีน (กรัม)ไขมัน (กรัม)พลังงาน (กิโลแคลอรี)
นมสดพร่องมันเนย11285120
ผักชนิด ก.ตามชอบ
ผักชนิด ข.210450
  2212 170
ผลไม้345180
ข้าวและแป้ง (165-67)/15 = 6.5  6.567 97.5– 19.5350 520
เนื้อสัตว์ (75-31.5)/7 = 6.26164.531.5 425 18870 330
   73.5231,200

สรุปปริมาณอาหาร/วันสำหรับเด็กนักเรียน

  • นม 1 แก้ว
  • ผักสุก 3 ทัพพี (ผักใบ 1 ทัพพี ผักหัว 2 ทัพพี)
  • ผลไม้ 3 ส่วน (แล้วแต่ชนิดของผลไม้)
  • ข้าวสวย 6.5 ทัพพี
  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 12 ช้อนกินข้าว

การกระจายมื้ออาหารสำหรับเด็กนักเรียน

หมวดอาหาร มื้ออาหารเช้าว่างเช้ากลางวันเย็น
นม1 แก้ว
ผัก1 ทัพพี1 ทัพพี1 ทัพพี
ผลไม้2 ส่วน1 ส่วน1 ส่วน
ข้าว2 ทัพพี2 ทัพพี2 ½ ทัพพี
เนื้อสัตว์4 ช้อนกินข้าว4 ช้อนกินข้าว4 ช้อนกินข้าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *