สีกับการออกแบบการแต่งกาย

สีกับการออกแบบการแต่งกาย

เรื่องของเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มนับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มนุษย์จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน การแต่งกายที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของคนให้ดูมีเสน่ห์มากขึ้น สีสันของเสื้อผ้าเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมคุณลักษณะของเสื้อผ้าให้ดูดี มีสไตล์ได้ การเลือกสีสันของเครื่องแต่งกายควรเลือกให้เหมาะสมกับผู้สวมใส่ ซึ่งมีข้อควรคำนึงถึงดังนี้

1. วัย

วัยเด็กเล็ก สีที่เหมาะสมควรเป็นสีที่ดูอบอุ่น อ่อนโยน และสดใส สีอ่อนสะอาดตา เช่น สีฟ้าอ่อน ชมพูอ่อน เหลืองอ่อน เป็นต้น ซึ่ง

  • เด็กอายุ 6 ถึง 12 ขวบ เป็นวัยแห่งความร่าเริง เบิกบานสดใส สีที่เหมาะสมควรเป็นสีที่สดใสที่คล้ายธรรมชาติ เช่น สีน้ำทะเล สีท้องฟ้า ดอกไม้ ใบไม้ หรือใช้สีอ่อน สลับกับสีสด
  • วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความคิดอ่านแบบผู้ใหญ่ มีอิสระ อารมณ์อ่อนไหว เพ้อฝันและชอบเลียนแบบแฟชั่น สีที่เหมาะสมสามารถใช้สีที่สดใส สว่าง ใช้ลวดลายที่หลากสีสัน มีชีวิตชีวา
  • วัยหนุ่มสาว เป็นวัยที่สามารถเลือกใช้สีได้อย่างหลากหลาย สามารถเลือกใช้สีที่สดใสแบบวัยรุ่น และสีสว่าง หรือสีอบอุ่น ตลอดจนสีเข้ม ไล่น้ำหนักแก่ไปถึงอ่อนได้ตามความเหมาะกับแบบของเสื้อผ้า
  • วัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุ ควรเลือกสีเสื้อผ้าที่ไม่สดหรือสีเจิดจ้าเกินควร เพราะสีจะทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างสีเสื้อกับริ้วรอยผิวพรรณชัดเจนจนเกินไป ควรเลือกที่จะใช้ สีขาว น้ำตาล เทา ดำ หรือสีอื่น ๆ ที่หม่นลง หรือใช้สลับกับสีสดเป็นการสร้างลวดลายได้บ้างเล็กน้อยเพื่อให้ดูสดใส

2. รูปร่าง

  • รูปร่างอ้วนเตี้ย ควรใช้สีเข้ม เพื่ออำพรางรูปร่าง หรือหาใช้สีอ่อนสว่างควรสลับกับสีสดได้เล็กน้อย
  • รูปร่างสูงผอม ควรใช้สีกลาง ๆ วรรณะอุ่น ไม่สด หรือเข้มจนเกินไป สามารถใช้สีสดสลับกับสีอ่อนสดใส เช่น สีชมพูอ่อน สีฟ้าอ่อน จะช่วยให้ดูกระปรี้กระเปร่า
  • รูปร่างเล็ก ควรใช้สีกลาง ๆ หรือสีอ่อน สลับกับสีสดใส
  • รูปร่างใหญ่ ควรใช้สีกลาง ๆ จนถึงสีเข้ม หรือสีที่ไม่สดจนเกินไป เพื่ออำพราง รูปร่างให้ดูเล็กลง

3. ผิวพรรณ

  • คนผิวดำ ไม่ควรใช้สีฉูดฉาด หรือสดมาก เพราะทำให้ตัดกับสีผิว ควรใช้สีกลาง ๆ เช่น สีเทา สีน้ำตาล สีครีม จนถึงสีอ่อนผสมหม่นเล็กน้อย
  • คนผิวขาวสามารถเลือกใช้สีสันของเสื้อผ้าได้ง่ายและหลากหลายกว่าคนผิวดำกว่า สามารถใช้สีอ่อน สดใส หรือเข้มได้ตามโอกาสสมควร

4. บรรยากาศ

  • บรรยากาศชายทะเล นิยมใช้สีและลวดลายที่สดใส เพื่อสร้างบรรยากาศให้สดชื่อผ่อนคลาย ตัดกับความเวิ้งว้างของทะเลและลวดลายที่สดใส เพื่อสร้างบรรยากาศให้สดชื่นผ่อนคลาย ตัดกับความเวิ้งว้างของทะเล
  • บรรยากาศหนาวเย็น สภาพดินฟ้าอากาศอึมครึมหม่น เทา เช่น ในแถบเมืองหนาว ควรใช้สีที่ดูอบอุ่น วรรณะอุ่น จนถึงสีเข้ม เช่น กลุ่มสีน้ำตาล สีเบจซ์ สีครีม สีเทา หรือดำ ไม่นิยมใช้สีฉูดฉาดบาดตา
  • บรรยากาศร้อนอบอ้าว นิยมใช้สีสดใส มากกว่าสีทึม และกลุ่มสีวรรณะเย็น เพื่อให้ดูเย็นตาหรือใช้ลวดลายสีร้อนสลับเย็น การออกแบบลายผ้าจะดูสวยสะดุดตาก็ขึ้นอยู่กับสีที่ใช้เป็นสำคัญ นักออกแบบจะต้องเลือกสีพิมพ์ให้เหมาะกับชนิดของเส้นใย โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของสีแต่ละตัวที่มีต่อการพิมพ์บนเส้นใย แม้ว่า จะมีสีหลายชนิดแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะได้สีที่สดใสและมีคุณสมบัติต่าง ๆ เท่ากันหมด การเลือกสีในทางออกแบบจึงต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยของผ้าที่พิมพ์นั้นด้วยว่าต้องการความคงทนทานนานขนาดไหน

การแต่งกายนอกจากจะทำให้ผู้สวมใส่ดูดีในเรื่องของเสื้อผ้าแล้ว ยังมีรองเท้าเป็นส่วนประกอบให้ผู้สวมใส่ดูมีสง่าและน่ามองขึ้นอีกด้วย สีของรองเท้าก็สำคัญสำหรับชุดที่ใส่ด้วยโดยส่วนใหญ่แล้วรองเท้ามักจะมีโทนสีที่แบ่งตามลักษณะของรองเท้า ดังนี้

  • รองเท้าบู้ทครึ่งน่อง บู้ทปิดข้อเท้า สไตล์สปอร์ต เน้นโทนสีธรรมชาติที่เป็นสีโทนสว่าง หรือที่เรียกว่า “Mushroom Colors” สีขาวโทนเย็น สีเทาเงินแวว
  • รองเท้าเก๋ ๆ ทรงกลมมน หรือส้นเตี้ย เน้นโทนสีดำหรือสีโทนเข้มใกล้เคียงสีดำ เช่น สีน้ำเงิน สีม่วงเข้ม สีเขียว
  • รองเท้าบู้ทยาวแบบบู้ทขี่ม้า เน้นโทนสีน้ำตาล และเล่นแสงเงาสีน้ำตาลต่าง ๆ เช่น สีน้ำตาลเข้ม สีน้ำตาลแดง จนถึงการใช้สีอ่อนแบบแมททาลิก นอกจากนี้ เน้นการใช้สีบรอนซ์มาเป็นสีหลัก แทนการใช้สีทองและสีเงิน เพื่อให้เข้ากับเสื้อผ้าสีเขียวมะกอกในพระราชสำนัก

สีรองเท้า/กระเป๋าถือ

ในปัจจุบันผู้ผลิต รองเท้า กระเป๋าถือได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลจากผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ เพื่อจะได้ทราบว่า ผู้บริโภคกลุ่มไหนมีความต้องการโทนสีแบบใดสำหรับรองเท้าหรือกระเป๋าถือในแต่ละฤดูกาล ซึ่งความนิยมหรือความเชื่อนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยคิดถึงองค์ประกอบการใช้สีกับรองเท้าหรือกระเป๋าหนังดังต่อไปนี้ในการออกแบบ

  1. Shaped Neutrality ความหมายเป็นการผสมผสานระหว่างธรรมชาติและเทคโนโลยี (มีแนวคิดสร้างความเชื่อด้วยการนำการผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใช้) ลงไปในตัวสี โทนสว่าง เช่น สีขาวโทนเย็น สีเทาเงินแวว
  2. Drak Attitude ความหมายเป็นการกลับมาของสีดำ (มีแนวคิดสร้างความเชื่อเรื่องการเป็นอมตะการกลับคืน) จะเน้นโทนสีดำเป็นหลัก หรือโทนเข้มใกล้เคียงสีดำ เช่น ม่วงเข้ม น้ำเงินเข้ม เขียวเข้ม โดยมีสีสดสีแดงตัดเพื่อดึงดูดความสนใจ
  3. Bronze Reflection ความหมายเป็นความทันสมัยแฝงความอนุรักษ์นิยม (ความเชื่อเรื่องความทันสมัยแฝงด้วยการอนุรักษ์นิยม) จะเน้นโทนสีน้ำตาลเป็นหลัก เช่น น้ำตาลเข้ม น้ำตาลแดง ไปจนถึงสีน้ำตาลอ่อน

การหาข้อมูลทางการตลาดของผู้ผลิตอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามสมัยนิยม แต่จะเห็นว่า การสร้างความเชื่อเรื่องสีเข้ามาเกี่ยวข้องในการดึงดูดลูกค้าตามความเชื่อ เช่น สร้างความเชื่อว่า เป็นการผสมผสานกันระหว่างธรรมชาติและเทคโนโลยี ต้องเลือกใช้สีขาว ถ้าเลือกเป็นสีเงินจะเป็นเรื่องของความล้ำยุค และถ้าเป็นเรื่องความเป็นอมตะ ต้องใช้สีดำและสีแดงตัด ส่วนการอนุรักษ์ต้องใช้สีน้ำตาลสื่อเรื่องราวเก่า ๆ ที่ผ่านมาแล้วได้ดี เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดล้วนเป็นความรู้สึกการใช้สีสร้างความเชื่อดึงดูดลูกค้าให้สนใจสินค้าเหล่านั้น ด้วยการสร้างความเชื่อให้มีอิทธิพลเหนือผู้บริโภคในการตัดสินใจต่อตัวสินค้า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *