ร้านค้าปลีก ร้านค้าปลีกดั้งเดิม (โชว์ห่วย)

ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม หมายถึง ร้านที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่ยังคงไว้ซื้อ ลักษณะการจำหน่ายสินค้าและบริการในรูปแบบเดิม การจัดวางสินค้าไม่ทันสมัย ส่วนใหญ่เป็นร้านห้องแถวหรือใช้บางส่วนของที่อยู่อาศัยมาทำการค้า มีพื้นที่ไม่มาก ลูกค้าเกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับร้านค้าการจัดบริหารเป็นแบบครอบครัว การลงทุนน้อยไม่มีระบบการจัดการที่ได้มาตรฐาน หรือหมายถึงร้านโชว์ห่วย ร้านขายของชำ[i]

ธุรกิจค้าปลีก หมายถึง กิจการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า หรือบริการโดยตรงแก่ผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกมีความเจริญก้าวหน้า เพราะมีผู้ประกอบกิจการค้าปลีกมากขึ้น ทั้งกิจการขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ในประเทศไทยมีร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าทั่วไป ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง Supermarket ร้านขายของชำ (Grocery) ฯลฯ[ii]

ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม พบว่า สินค้าครบถ้วนตามความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.22 ปัจจัยด้านราคาที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม พบว่า ราคาสินค้าตรงกับป้ายราคา อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.22 ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม พบว่า อยู่ใกล้กับแหล่งชุมชนที่พักอาศัย หรือที่ทำงาน ค่าเฉลี่ย 3.66 ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม พบว่า มีการแจกของที่ระลึก ของแถมในช่วงเทศกาลต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ย 3.60 ปัจจัยด้านบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม เจ้าของร้านบริการด้วยความเป็นมิตรยิ้มแย้มแจ่มใส ค่าเฉลี่ย 3.71 ปัจจัยด้านกระบวนการที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม พบว่า ตรวจสอบสินค้าก่อนใส่ถุงให้ลูกค้าสม่ำเสมอ ค่าเฉลี่ย 3.86 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม การจัดวางสินค้าเป็นระเบียบ สะอาดเรียบร้อย มีค่าเฉลี่ย 4.19[iii]

เกยูร ใยบัวกลิ่น (2552) ศึกษาเรื่อง ผลกระทบของการขยายตัวร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีต่อการดำเนินงานของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชว์ห่วย) พบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคที่มาใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมเมื่อมีความต้องการสินค้าอย่างเร่งด่วน คิดเป็นร้อยละ 27.0 สินค้าที่ซื้อมาจากร้านค้าปลีก ซื้อมาเพื่อใช้เอง คิดเป็นร้อยละ 46.2 ความถี่ในการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม คือ 1 – 2 ครั้ง/สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 42.2 เหตุจูงใจที่ทำให้ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม คือ ราคาสินค้าถูกกว่าร้านทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 28.0 ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ประมาณครั้งละ 101 – 300 บาทต่อครั้ง คิดเป็นร้อยละ 56.0 ราคาสินค้าที่ซื้อและยอมรับได้จากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม คือ ไม่แพงเกินกว่าราคาที่ซื้อจากร้านค้าสะดวกซื้อ คิดเป็นร้อยละ 43.5 สินค้าที่ซื้อจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น น้ำอัดลม นมกล่อง น้ำผลไม้ คิดเป็นร้อยละ 55 ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมช่วงเวลา 10.01 – 14.00 น. มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.0 ระยะทางจากบ้านถึงร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม คือ 50 เมตร คิดเป็นร้อยละ 56.5[iv]

เกยูร ใยบัวกลิ่น (2552) ศึกษาเรื่อง ผลกระทบของการขยายตัวร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีต่อการดำเนินงานของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชว์ห่วย) พบว่า พฤติกรรมการเลือกซื้อเกิดจากปัจจัยทางการตลาด ได้แก่ ราคา มีมาตรฐานเหมาะสมกับคุณภาพสินค้า ด้านการจัดจำหน่าย คือ ตั้งอยู่ใกล้บ้าน ที่ทำงาน ที่โรงเรียน ที่มหาวิทยาลัย ด้านบริหารจัดการ คือ การจัดวางสินค้าเลือกหยิบง่าย และด้านบริการ คือ เวลาปิด – เปิด[v]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อการซื้อผลิตภัณฑ์ในร้านค้าแบบดั้งเดิมใน อ.เมือง จ.เชียงราย พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ในร้านค้าแบบดั้งเดิมใน อ.เมือง จ.เชียงราย[vi]

ลออทิพย์ เกิดน้อย (2555) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อ.เมือง จ.เชียงราย. พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา มีมาตรฐานเหมาะสมกับคุณภาพสินค้า ด้านการจัดจำหน่าย คือ ตั้งอยู่ใกล้บ้าน ที่ทำงาน ที่โรงเรียน ที่มหาวิทยาลัย ด้านบริหารจัด คือ การจัดวางสินค้าเลือกหยิบง่าย และด้านบริการ คือ เวลาปิด – เปิดต่อการใช้งาน[vii]

พงศา นวมครุฑ (2552) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการค้าปลีกของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีผลต่อการซื้อของผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ให้ความสำคัญในระดับสำคัญมาก ปัจจัยด้านราคาให้ความสำคัญในระดับสำคัญมาก ปัจจัยด้านช่องทางจัดจำหน่ายให้ความสำคัญในระดับสำคัญมาก ปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาดให้ความสำคัญในระดับสำคัญมาก เมื่อพิจารณาแต่ละปัจจัยเป็นรายข้อ พบว่า ปัจจัยที่มีความสอดคล้องกัน ได้แก่ การมีสินค้าตรงตามความต้องการ การมีสินค้าราคาถูกกว่าร้านค้าอื่น ๆ การลดราคาสินค้าตามเทศกาล[viii]


[i] ลออทิพย์ เกิดน้อย. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อ.เมือง จ.เชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[ii] ศุภกร สมจิตต์. (2562). อิทธิพลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของธุรกิจค้าปลีกญี่ปุ่นที่เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทย กรณีศึกษา ดองกิ มอลล์. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น.

[iii] ลออทิพย์ เกิดน้อย. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อ.เมือง จ.เชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[iv]เกยูร ใยบัวกลิ่น. (2552). ร้านโชว์ห่วยและความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่. สารนิพนธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[v]เกยูร ใยบัวกลิ่น. (2552). ร้านโชว์ห่วยและความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อร้านค้าปลีกสมัยใหม่. สารนิพนธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[vi] ลออทิพย์ เกิดน้อย. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อ.เมือง จ.เชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[vii] ลออทิพย์ เกิดน้อย. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อ.เมือง จ.เชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[viii] พงศา น่วมครุฑ. (2552). ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการค้าปลีกของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีผลต่อการซื้อของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *