ลักษณะของธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์

ลักษณะของธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) คือ รูปแบบใหม่ของอีคอมเมิร์ซที่ได้รับแรงผลักดันจากโซเชียลมีเดีย (Social Media) สนับสนุนให้เกิดการซื้อขายผลิตภัณฑ์และการบริการ โดยที่บริษัทโซเชียลคอมเมิร์ซต่าง ๆ จะดำเนินการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการบริการหลากหลายชนิดประสานงานกับ Social Network Services หรือ SNSs อาทิ Twitter และ Facebook เพื่อส่งเสริมการดำเนินการซื้อขายผลิตภัณฑ์และการบริการ โดยลักษณะของธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์[i] มีรายละเอียดดังนี้

  1. ด้านชื่อเสียง (Reputation) หมายถึง ร้านค้าที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันดีอย่างแพร่หลาย มีจำนวนยอดผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก รวมถึงไม่เคยมีประวัติการทุจริตในการดำเนินธุรกิจ
  2. ด้านคุณภาพของข้อมูล (Information Quality) หมายถึง ร้านค้าที่มีการให้รายละเอียดของข้อมูลสินค้าอย่างครบถ้วน แจ้งราคาสินค้าชัดเจน กำหนดเวลาในการส่งสินค้าชัดเจน และยอมรับข้อร้องเรียนของลูกค้าและปรับปรุงแก้ไข
  3. ด้านความปลอดภัย (Safety) หมายถึง ร้านค้าที่มีการป้องกันข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไว้เป็นความลับ สามารถตรวจสอบได้ว่า ผู้ขายมีตัวตนอยู่จริง ไม่นำหลักฐานการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าไปเผยแพร่ และมีมาตรการรักษาความปลอดภัยต่อการซื้อสินค้า
  4. ด้านการบอกต่อ (Word – Of – Mouth Referrals) หมายถึง ร้านค้าที่เพื่อนหรือคนรู้จักแนะนำหรือเคยซื้อมาก่อน มีความคิดเห็นจากลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าจากทางร้าน และมีภาพถ่ายรีวิวสินค้าจากลูกค้า

สังคมออนไลน์ (Social Media) หมายถึง เป็นเว็บไซต์ที่ทำงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยมีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสารเล่าประสบการณ์ เรื่องราว รูปภาพ หรือวิดีโอ แล้วนำมาแบ่งให้ผู้อื่นซึ่งอยู่บนเครือข่ายของตน (เจษฏาภรณ์ ศรศรีเกิด, 2555)[ii]

สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กล่าวได้ว่า คือ เว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง[iii]

โซเชียลเน็ตเวิร์ค หมายถึง เว็บไซต์หรือโปรแกรม จะเชื่อมโยงผู้ใช้งานในอินเตอร์เน็ตใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน สามารถส่งข้อมูลระหว่างกัน ผ่านทางรูปภาพ ข้อความต่าง ๆ ติดตามในสิ่งที่ตนเองสนใจ[iv]

เฟซบุ๊ก หมายถึง เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ฟรี ที่ผู้ลงทะเบียนใช้งานสามารถสร้างรายละเอียดส่วนบุคคล เพื่อแสดงความคิดเห็นผ่านข้อความ วิดีโอ รูปภาพ และสามารถสนทนาตอบโต้กับผู้อื่นผ่านเว็บไซต์บนพื้นที่ของตนเองและผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันได้[v]

เฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) หมายถึง โปรแกรมถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊ก (Facebook) ซึ่งเป็นการถ่ายวิดีโอและถ่ายทอด ณ เวลานั้น และยังเป็นช่องทางในการสามารถพูดคุยทันทีทันใดระหว่างผู้ถ่ายทอดสดและผู้ชม รวมไปถึงสามารถแสดงความคิดเห็นของผู้ชม ณ เวลานั้น[vi]

E – Commerce platform หมายถึง แพลตฟอร์มไว้ใช้ซื้อขายสินค้าหลากหลายประเภทหลากหลายหมวดหมู่ผ่านทางเว็บไซต์ (Website) และแอพพลิเคชั่น (Application) เช่น Shopee, Lazada, Sephora, Eveandboy, BEAUTRIUM, Konvy, Multy beauty[vii]

ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ตลาดที่มีการทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า บริการ การชำระเงิน การโฆษณาผ่านเครือข่ายบนอินเตอร์เน็ต[viii]

แอพพลิเคชั่น Shopee หมายถึง ตลาดซื้อขายแบบโซเชียลที่มุ่งเน้นการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถืออันดับแรก (Mobile First) เพื่อให้ทุกคนสามารถเลือกดูแลซื้อขายได้อย่างสะดวก[ix]

ปัจจัยด้านการสื่อสารแบบบอกต่อ พบว่า ทุกคำถามย่อยที่ใช้ประเมินปัจจัยด้านการสื่อสารแบบบอกต่อ ได้แก่ การสื่อสารแบบปากต่อปาก (การบอกต่อ) มีอิทธิพล ทำให้ท่านเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามากกว่าการสื่อสารแบบอื่น ท่านเชื่อข่าวสารที่เกิดจากการสื่อสาร แบบปากต่อปาก (การบอกต่อ) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสารแบบปากต่อปาก (การบอกต่อ) ช่วยกระตุ้นให้ท่านสนใจผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านมากขึ้นมีอิทธิพลต่อระดับความตั้งใจในการซื้อ สินค้า Shopee อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[x]

ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านอาชีพ รายได้ที่ต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน Online จังหวัดน่านและกรุงเทพมหานคร ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[xi] 

จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี (2558)[xii] ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ระดับการศึกษาที่ต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยไม่ว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาใดก็สามารถเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค (Marketing Mix from Consumer’s Perspectives) ด้านต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ากิ๊ฟช็อป ผ่านทางแอปพลิเคชันอินสตาแกรม พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค (Marketing Mix from Consumer’s Perspectives) ด้านความสะดวก (Convenience) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ากิ๊ฟช็อป ผ่านทางแอพพลิเคชันอินสตาแกรมของผู้บริโภคระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร[xiii]


[i] กฤตินา จันทร์หวร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ากิ๊ฟช็อปผ่านทางแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมของผู้บริโภคระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

[ii] เจษฎาภรณ์ ศรศรีเกิด. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[iii]พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

[iv] ศรัณยนันท์ ศรีจงใจ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[v] ศรัณยนันท์ ศรีจงใจ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[vi] ศรัณยนันท์ ศรีจงใจ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[vii] ธัญญ์นรี นิธิยศบุญวงศ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านช่องทาง e-commerce platform ของคนในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

[viii] สุชาดา ตันบุญเจริญ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. ภาคนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

[ix] สุชาดา ตันบุญเจริญ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. ภาคนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

[x] สุชาดา ตันบุญเจริญ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. ภาคนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

[xi] สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

[xii] จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[xiii] กฤตินา จันทร์หวร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ากิ๊ฟช็อปผ่านทางแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมของผู้บริโภคระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

One Comment

  1. fast loto kodlari

    Good evening thanks for the info

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *