ความหลากหลายทางเพศ เพศสภาพ เพศทางเลือก เอกลักษณ์ทางเพศ เพศวิถี

ความหลากหลายทางเพศ เพศสภาพ เพศทางเลือก เอกลักษณ์ทางเพศ เพศวิถี ฯลฯ เหล่านี้ คือ ศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาในปัจจุบันที่เป็นโลกยุคดิจิทัล ทั้งในแง่รสนิยมทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ เป็นประเด็นที่สังคมในหลากหลายประเทศให้การยอมรับมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ในปี 2019 มี 28 ประเทศที่กำหนดให้การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันอย่างถูกกฎหมาย อีกทั้งในปี ค.ศ. 2016 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดวาระการพัฒนาสุขภาพที่ยั่งยืนของประชากรโลก โดยกำหนดว่าภายในปี 2030 ผู้คนทั่วโลกกำลังดำเนินการไปสู่เป้าหมายโลกที่สะท้อนความยุติธรรมสากลทางด้านสุขภาพ ที่เคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยให้คำมั่นว่า จะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง โดยประชากรกลุ่มนี้จะไม่ต้องเผชิญกับภาวะปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป เพื่อที่จะต่อสู้กับความแตกต่างด้านกายภาพสรีระและจิตใจ มีผลต่อภาวะสุขภาพอย่างมากที่ประชากร LGBTQI ต้องเผชิญ ประชากรทุกกลุ่มในโลกจะต้องเข้าใจถึงแนวคิดหลักที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความหลากหลายทางเพศ เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของสหประชาชาติในการคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเท่าเทียมกันของมวลมนุษยชาติในโลกต่อเอกลักษณ์ทางเพศและความหลากหลายทางเพศ

“LGBTQI” เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดย LGBTQI เป็นตัวอักษรย่อของคำที่ใช้เรียกกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะความหลากหลายทางเพศในแบบต่าง ๆ LGBTQI จึงเป็นการอธิบายถึงบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยอิงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศและเพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender identity)

กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQI นั้นย่อมาจาก Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender, Intersex and Queer โดยที่ LGBTQI

“L” เลสเบี้ยน (Lesbian) หมายถึง ผู้หญิงที่ชอบผู้หญิงด้วยกัน และมักใช้คำว่า หญิงรักหญิง ซึ่งคำที่นิยมและสุภาพแทนคำว่า “เลสเบี้ยน ทอม และดี้”

“G” เกย์ Gay คือ ผู้ชายที่ชอบผู้ชาย หรือคนที่ชอบเพศเดียวกัน (homosexual) ที่มีลักษณะทางกายภาพเป็นผู้ชายโดยจะมีความรักและความปรารถนาในระหว่างเพศเดียวกัน การมีความสัมพันธ์ในแบบคู่รักหรือการมีเพศสัมพันธ์ (Sex) อาจจะไม่กำหนดว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องเป็นฝ่ายรับหรือรุกเท่านั้น แต่อาจจะเป็นได้ทั้งสอง

“B” Bisexual คือ คนที่ชอบทั้งผู้ชายและผู้หญิง และมีความสนใจและความชอบทางเพศ และ/หรือมีพฤติกรรมทางเพศต่อคนที่เป็นเพศเดียวกันกับตนเอง หรือเพศอื่น ๆ โดยที่มา คือ คำว่า bi ไม่ได้ แปลว่า สองอย่างตรงตัว แต่แปลว่า มากกว่าหนึ่ง เช่น ผู้หญิงที่เป็นไบ (bisexual women) อาจมีความสนใจและความชอบทางเพศต่อผู้หญิง ผู้ชาย เกย์ หรืออื่น ๆ ปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวนน้อยมากที่เปิดเผยตนเองว่า เป็นคนรักสองเพศ

“Q” Queer เควียร์ คือ คนที่ยังไม่แน่ใจในเพศ หมายถึง กลุ่มคนที่ไม่ได้มีเพศตามที่สังคมกำหนด ไม่จำกัดกรอบ โดยเน้นว่า เพศเป็นสภาวะที่เลื่อนไหลไปมา เปลี่ยนแปลงได้ และไร้กรอบไร้ขีดจำกัด

“T” Transgender (คำที่คนไทยทั่วไปใช้เรียกคือ ผู้หญิงหรือผู้ชายข้ามเพศ) หรือ “ทีจี” คือ บุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศและการแสดงออกที่สะท้อนเพศของตนเอง เช่น การแต่งกายและพฤติกรรมท่าทาง ไม่ตรงกับเพศกำเนิดอย่างสิ้นเชิง รวมถึงการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศด้วย ผู้หญิงที่มีจิตใจเป็นผู้ชาย ผู้ชายที่มีจิตใจเป็นผู้หญิง เรียกสั้น ๆ ว่า ทรานส์ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1. Male to femal Transgender (MtF) หญิงข้ามเพศ (transwoman) ใช้เรียกคนข้ามเพศ จากหญิง เป็นชายที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการแปลงเพศหรือได้แปลงเพศเป็นหญิงแล้ว รับรู้ว่า ตนเองเป็นผู้ชาย และแสดงลักษณะท่าทางเป็นชายผ่านการแต่งตัวหรือท่าทาง อาจมีการทำศัลยกรรมเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศ เช่น การตัดเต้านม หรือการเสริมอวัยวะเพศชาย
  2. Female to Male Transgender (FtM) ชายข้ามเพศ (transman) ใช้เรียกคนข้ามเพศจากหญิงเป็นชายที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการแปลงเพศหรือได้แปลงเพศเป็นชายแล้ว รับรู้ว่าตนเองเป็นผู้หญิง และแสดงลักษณะท่าทางเป็นชายผ่านการแต่งตัวหรือท่าทาง อาจมีการทำศัลยกรรมเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศ เช่น การเสริมเต้านม หรือการตัดอวัยวะเพศชาย

ทรานส์เจนเดอร์ทุกคนไม่ได้เป็นเพียงชายหรือหญิงเท่านั้น บางคนเป็นมากกว่าหนึ่งเพศหรือไม่มีเพศเลย ทรานส์บางคนตัดสินใจข้ามเพศ (transition) ซึ่งหมายถึง กระบวนการใช้ชีวิตตรงตามเพศที่แท้จริง กระบวนการข้ามเพศไม่มีเฉพาะเจาะจง บางคนอาจเปลี่ยนสรรพนามใหม่ เปลี่ยนชื่อทำเรื่องรับรองเพศสถานะตามกฎหมาย และ/หรือเข้าสู่กระบวนการผ่าตัดแปลงเพศหรือบำบัดทางฮอร์โมน การเป็นทรานส์เจนเดอร์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรสนิยมทางเพศแต่อย่างใด บุคคลหนึ่งอาจเป็นชายข้ามเพศและเป็นเกย์ หรือเป็นหญิงข้ามเพศและเป็นเลสเบี้ยนก็ได้ ทั้งนี้ คนที่เป็นทรานส์เจนเดอร์สามารถทำเรื่องขอรับรองเพศสถานะได้ในบางประเทศ แต่ต้องผ่านกระบวนการที่สร้างความอับอายและละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารับการวินิจฉัยทางจิตหรือการทำหมันถาวร ซึ่งมีเพียงเจ็ดประเทศเท่านั้นที่ไม่มีกระบวนการดังกล่าว คือ อาร์เจนตินา บราซิล เบลเยียม โคลัมเบีย เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ มอลตา และนอร์เวย์

“I” Intersex หรือ อินเตอร์เซ็กส์ คือ บุคคลที่เกิดมามีลักษณะทางกายภาพโดยมีอวัยวะสืบพันธ์ของทั้งสองเพศ อินเตอร์เซ็กส์ คือ คนที่ไม่สามารถระบุเพศของตัวเองได้อย่างชัดเจน มีทั้งคนที่เกิดมามีอวัยวะสืบพันธ์ของทั้งสองเพศ ปริมาณฮอร์โมนหรือโครโมโซมเพศที่ผิดปกติ หรือแม้กระทั่งลักษณะด้านอื่น ๆ ที่ค่อย ๆ ปรากฏเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ การเป็นอินเตอร์เซ็กส์มักจะหมายถึง ลักษณะทางเพศที่แสดงออก ไม่ได้หมายถึง เพศสภาพหรือรสนิยมทางเพศ ซึ่งชาวอินเตอร์เซ็กส์ก็สามารถมีอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายได้เหมือนบุคคลทั่วไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *