ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิดแล้วทำให้มดลูกแห้ง (เป็นหมัน)

สตรีที่ใส่ห่วงอนามัยได้ จะต้องรับการตรวจเช็คร่างกายแล้วอย่างครบถ้วนเหมาะสม แพทย์/พยาบาลจึงจะทำการใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิดให้ หากพบว่า มีอาการติดเชื้อ หรืออักเสบของระบบสืบพันธุ์ แพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ สตรีที่ใส่ห่วงอนามัยแล้วต้องการมีลูก แพทย์จะถอดห่วงอนามัยออก และสตรีคนนั้นจะมีลูกได้ดังเดิม โอกาสที่จะทำให้เป็นหมันได้ คือ สตรีที่เป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ

ใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิดแล้วอาจหลุดเข้าไปในกระเพาะ หรือหัวใจของสตรี

ห่วงอนามัยที่ใส่ให้แก่สตรีที่ต้องการคุมกำเนิดจะอยู่ที่โพรงมดลูกเท่านั้น ไม่สามารถหลุดเข้าไปอยู่ในกระเพาะ หรือหัวใจได้ เพราะเป็นคนละระบบของร่างกาย แต่เคยพบว่า ห่วงอนามัยหลุดมาอยู่ในช่องคลอดระหว่างการมีรอบเดือน เพราะปากมดลูกของสตรีเปิดกว้าง ขณะมีรอบเดือน

ใส่ห่วงอนามัยแล้วภายหลังเมื่อต้องการบุตร อาจทำให้บุตรพิการ

เมื่อสตรีถอดห่วงอนามัยออกแล้ว ห่วงอนามัยจะไม่มีผลทำให้บุตรในครรภ์พิการ

คำแนะนำสำหรับวิธีคุมกำเนิดแบบห่วงอนามัย

  1. ผู้ให้บริการเป็นผู้มีความชำนาญการใส่ห่วงอนามัย ผู้รับบริการ (ใส่ห่วงอนามัย) สามารถขอรับบริการได้ตลอดเวลา หากได้พบว่า กำลังตั้งครรภ์โดยแพทย์จะใช้เวลาใส่ให้ไม่นาน จากนั้น ผู้รับบริการจะกลับบ้านได้ทันที ไม่ต้องพักค้างคืนที่โรงพยาบาล
  2. ห่วงอนามัยจะมีเส้นด้าย หรือสายไนล่อนผูกติดไว้ที่ปลายของห่วง เมื่อใส่ห่วงอนามัยแล้ว แพทย์จะปล่อยสายไนล่อนผ่านทางปากมดลูกอยู่ในช่องคลอด ผู้รับบริการสามารถใช้ปลายนิ้วกลางสอดเข้าไปใจช่องคลอด เพื่อคลำหาสายไนล่อน เพื่อตรวจว่า ห่วงอนามัยยังอยู่ในโพรงมดลูกหรือไม่
  3. ในเดือนแรกของการใส่ห่วงอนามัยอยู่ หากจะมีเพศสัมพันธ์สตรีควรตรวจปลายสายไนล่อน เพื่อให้แน่ใจว่า ห่วงอนามัยยังอยู่
  4. ปกติห่วงอนามัยจะอยู่ในตำแหน่งในโพรงมดลูกจะไม่เคลื่อนย้ายไปไหน มีส่วนน้อยที่อาจจะถูกขับออกมาอยู่ภายในช่องคลอด หรือเคลื่อนไปจากตำแหน่งที่ควรเป็น กรณีเช่นนี้อาจทำให้สตรีมีอาการปวดและไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ จึงจำเป็นต้องตรวจสายไนล่อนเพื่อให้แน่ใจว่า ห่วงอนามัยยังอยู่ในโพรงมดลูก
  5. ภายใน 2 – 3 เดือนแรกของการใส่ห่วงอนามัยสตรี อาจจะพบปัญหาหรืออาการข้างเคียงได้ อันเนื่องมาจากห่วงอนามัยแต่ปัญหา หรืออาการเหล่านั้นจะค่อย ๆ หมดไปหลังใส่ห่วงอนามัยแล้ว 3 เดือน
  6. ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการใส่หวงอนามัย ควรใช้วิธีคุมกำเนิดวิธีอื่นช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น แพทย์อาจแนะนำคู่สมรสเลือกใช้วิธีคุมกำเนิด วิธีอื่นเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ใน 3 เดือนแรกที่ใส่ห่วงอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพราะว่าในระยะสามเดือนนั้นห่วงอนามัยอาจจะถูกขับออกมาหรือหลุดได้โดยไม่รู้ตัว
  7. หากต้องการจะมีลูกคนต่อไป สตรีสามารถกลับมาที่หน่วยบริการวางแผนครอบครัว เพื่อให้ถอดห่วงอนามัยออกโดยแพทย์ หรือพยาบาลที่มีความชำนาญในการใส่และถอดห่วงอนามัย
  8. ภายหลังถอดห่วงอนามัยแล้ว สตรีผู้นั้นจะสามารถมีลูกได้อีกเหมือนเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *