ยาฝังคุมกำเนิด

การฝังยาคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรที่เหมาะสมกับสตรีที่มีบุตรแล้ว สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน 3 – 5 ปี แล้วแต่ชนิดของยาฝังคุมกำเนิด วิธีการทำโดยการฝังแคปซูล (Capsule) บรรจุฮอร์ดมนโปรเจสโตรเจนไว้ใต้ผิวหนัง บริเวณต้นแขนด้านในเหนือข้อศอก โดยจะฉีดยาชาก่อนฝังยา ฮอร์โมนจะซึมกระจายสู่กระแสเลือด ออกฤทธิ์ ป้องกันการตั้งครรภ์ ชนิด 6 หลอด สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 5 ปี ชนิด 1 หลอด ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 3 ปี เวลาที่เหมาะสมสำหรับยาฝังคุมกำเนิด คือ ภายในช่วง 5 วันแรกของการมีรอบประจำเดือน หรือภายหลังจากการแท้งบุตรไม่เกิน 1 สัปดาห์ หรือหลังคลอดบุตร 4 – 6 สัปดาห์

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการฝังยาคุมกำเนิด

  • ภายหลังฝังยาถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ปวด บวม แดง ให้รีบไปพบแพทย์ หลังจาก 6 – 12 เดือน
  • อาการข้างเคียง คือ มีเลือดออกกะปริบกะปรอย
  • ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ประจำเดือนขาด หรือมีอาการของการตั้งครรภ์ ควรรีบปรึกษาแพทย์
  • ควรตรวจสุขภาพทั่วไป เช่น ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน ตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก ทุก 5 ปี

คำถาม – คำตอบที่เกี่ยวกับยาฝังคุมกำเนิด

1.คำถาม ยาฝังคุมกำเนิด คือ อะไร

คำตอบ ยาฝังคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราว ตัวยาเป็นฮอร์โมน โปรเจสโตเจน เช่นเดียวกับยาฉีดคุมกำเนิด กลไกการคุมกำเนิด คือ ทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นเหนียวจนตัวอสุจิผ่านเข้าโพรงมดลูกได้ยากและยับยั้งการดก

2.คำถาม ยาฝังคุมกำเนิด คุมกำเนิดได้นานแค่ไหน

คำตอบ ยาฝังคุมกำเนิด ชนิด 6 หลอด จะสามารถคุมกำเนิดป้องกันการตั้งครรภ์ได้ถึง 5 ปี แต่ยาฝังคุมกำเนิดชนิด 1 หลอด จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 3 ปี

3.คำถาม การฝังยาคุมกำเนิด ฝังที่ใดของร่างกาย

คำตอบ การฝังยาคุมกำเนิด จะฝังหลอดยาบริเวณต้นแขนด้านในกึ่งกลางระหว่างรักแร้ และรอยพับข้อศอก โดยจะฝังเป็นรูปพัด โดยฉีดยาชาให้ก่อนแล้วใช้เข็มสอดหลอดยาเข้าไปใต้ผิวหนัง แผลจะเจ็บมากไม่ต้องเย็บแผลเพียงปิดด้วยพลาสเตอร์เล็ก ๆ แผลจะหายเป็นปกติภายใน 3 – 5 วัน หลังจากทำไปแล้วไม่ให้ถูกน้ำ 7 วัน เมื่อครบ 7 วัน จะนัดมาดูแผลอีกครั้ง

4.คำถาม เวลาที่เหมาะสมในการฝังยาฝังคุมกำเนิด คือ ช่วงใด

คำตอบ ควรรับการฝังยาฝังคุมกำเนิด ภายใน 5 วันแรกของรอบประจำเดือน หรือภายหลังแท้ง ไม่เกิน 1 สัปดาห์ หรือหลังคลอด 4 – 6 สัปดาห์

5.คำถาม ภายหลังการฝังยาฝังคุมกำเนิด ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

คำตอบ

  1. ปิดแผลไว้อย่างน้อย 3 – 5 วัน หลังรับบริการฝังยาคุมกำเนิด และไม่ควรให้แผลถูกน้ำ
  2. หลีกเลี่ยงการถูกกระแทกบริเวณแขนที่ฝังยาฝังคุมกำเนิด
  3. ควรมาตรวจซ้ำหลังจากฝังยา 7 วัน เพื่อดูความผิดปกติ
  4. อาจมีอาการผิดปกติของระดู เช่น เลือดออกกระปริบกระปรอย ระดูมาไม่สม่ำเสมอ
  5. ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ระดูขาดและมีอาการของการตั้งครรภ์ แผลมีเลือด หรือน้ำเหลือง หรือมีหนอง ควรรีบพบแพทย์ทันที
  6. ต้องมาเปลี่ยนยาฝังคุมกำเนิดตามกำหนด
  7. ควรตรวจร่างกายและสุขภาพทั่วไป คุณผู้หญิงต้องตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกทุก 5 ปี และตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

6.คำถาม ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด มีอะไรบ้าง

คำตอบ ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด ได้แก่

  1. ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูง
  2. สะดวกเมื่อใช้ยาฝังคุมกำเนิดแล้ว ไม่ต้องกังวลในเรื่องการตรวจการใช้ทุกวัน เหมือนวิธีการรับประทานยาคุมกำเนิด หรือห่วงอนามัย
  3. อาการข้างเคียงน้อย โดยเฉพาะไม่มีอาการข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน
  4. ไม่มีผลต่อการหลั่งของน้ำนม
  5. ไม่ทำให้การทำงานของตับเปลี่ยนแปลง
  6. ใช้ได้นาน คุมกำเนิดได้ 3 – 5 ปี
  7. อัตราค่าใช้จ่ายสูง
  8. มีผลพลอยได้จากผลของการใช้ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน เช่น ป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูก ป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และทำให้อาการปวดระดูลดลง
  9. สามารถใช้คุมกำเนิด
  10. ภาวการณ์เจริญพันธุ์ภายหลังการใช้ยาฝังคุมกำเนิดคืนสู่ภาวะปกติได้เร็ว เนื่องจาก ฮอร์โมนกระจายออกในปริมาณน้อย และไม่มีการสะสมในร่างกาย

7.คำถาม การฝังยาคุมกำเนิด มีอาการข้างเคียงหรือไม่

คำตอบ หลังการฝังยาคุมกำเนิดแล้ว จะมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น คือ มีเลือดออกกระปริดกระปรอย ซึ่งไม่นานเลือดอาจจะหยุด และไม่มีประจำเดือนมาก็ได้ บางรายอาจให้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน 0.05 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด ประมาณ 7 – 10 วัน

8.คำถาม การใช้ยาฝังคุมกำเนิด จะทำให้ผอม เป็นฝ้า ใบหน้าหมองคล้ำ มึนศีรษะ จริงหรือไม่

คำตอบ ไม่จริง การฝังยาคุมกำเนิดไม่มีผลทำให้อ้วน หรือผอม และไม่ทำให้เกิดฝ้า หรือหน้าดำ อาการมึนศีรษะที่เกิดขึ้น อาจไม่เกี่ยวข้องกับยาฝังคุมกำเนิด แต่ควรหาสาเหตุที่แน่นอนเสียก่อน

9.คำถาม สามารถรับบริการยาฝังคุมกำเนิดได้ที่ใดบ้าง

คำตอบ ในขณะนี้ กรมอนามัยร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนยาฝังคุมกำเนิด ชนิด 6 หลอด ให้กับสถานบริการทั่วประเทศ ผ่านศูนย์อนามัยทั้ง 12 แห่ง ประชาชนผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถานบริการของรัฐทุกแห่ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *