ความรัก ความห่วงใย ความรักเกิดขึ้นได้อาจเกิดจากความประทับใจแรก (First Impression)

“ความรัก” เป็นความรู้สึกพิเศษที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลด้วยความเสน่หาหรือองค์ประกอบทางด้านความรู้สึกด้านบวกที่นำไปสู่ความต้องการอย่างที่สุด ความรู้สึกนี้เองยังเป็นแรงขับเคลื่อนให้บุคคลได้รับความรู้สึกที่มีความสุขมากที่สุด ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้ได้รับความรู้สึกที่เศร้าจนเป็นที่มานำไปสู่ความทุกข์ ความรักเกิดขึ้นได้ด้วยองค์ประกอบของหลายอย่าง หากพูดกันในทฤษฎีความรักของ Robert Sternberg นักจัตวิทยาได้นำเสนอทฤษฎี “สามเหลี่ยมความรัก” จากองค์ประกอบทั้ง 3 หากประกอบกันจะเกิดความรักขึ้นแบ่งได้เป็น 7 แบบด้วยกันนั้นเอง ทฤษฎีความรักนั้นเกิดขึ้นได้ด้วย 3 หลักองค์ประกอบ ความเสน่ห์หา (Passion) ความหลงใหลเสน่ห์ทางเพศ (sex appeal) มีความรู้สึกพอใจในรูปลักษณ์ภายนอก ความผูกพัน (Intimacy) หมายถึง ความผูกผันอันเกิดจากความใกล้ชิด การใช้เวลาอยู่ร่วมกันในฐานะคนรัก การตัดสินใจ (Decision) และการให้คำมั่นสัญญา (Commitment) คำสัญญาถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับความรัก สิ่งนี้เองได้มาด้วยความเชื่อใจ ความซื่อสัตย์ที่ยึดมั่นต่อคำสัญญานั้น ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากความรักนั้น คือ สิ่งที่ต้องใช้เวลาในการสร้างหรือเพิ่มเติมด้วยความรู้สึกดีที่มีต่อกันระหว่างบุคคล หากเรามองย้อนลงประวัติศาสตร์ของมนุษย์นั้น “ความรัก” คือ สิ่งที่มีบทบาทกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ดูได้จากบทเพลง ส่วนใหญ่ที่มีเนื้อหาที่กล่าวถึง สภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความรักซึ่งอาจแตกต่างกันไปในเนื้อหาแต่ละเพลง ศิลปินหรือนักประพันธ์เพลง ภาพยนตร์ ต่างก็ได้แรงบันดาลใจจาความรู้สึกจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านบุคคลของแต่ละคน เติมแต่งกลายเป็นบทเพลงที่แสดงออกถึงความรู้สึกทางความรัก ในเนื้อหาเดียวกันนี้เอง ศิลปินต่างก็สร้างงานศิลปะที่มีแรงบันดาลใจจากความเช่นกัน

ความงามทางด้านอารมณ์ความรู้สึก สิ่งที่พิเศษที่มีอยู่ภายใจตัวของมนุษย์เอง มนุษย์ทุกคนนั้นมีสิ่งที่ถูกซ่อนเร้นภายใต้รูปลักษณ์ภายนอกที่ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมมนุษย์นั้นใช้สื่อในการแสดงออกหลายอย่างเพื่อแสดงออกทางด้านอารมณ์ความรู้สึก เช่น คำพูด ดนตรี การเขียน หนังสือ ภาพยนตร์ เต้นรำ เป็นต้น หนึ่งในสื่อเหล่านั้น คือ ศิลปะ ศิลปะถูกใช้เพื่อเป็นภาษาในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก และความคิดที่อยู่ภายในเหล่านั้นออกมาเป็นรูปธรรม การสร้างสรรค์ศิลปะนั้นเองศิลปินย่อมต้องค้นหาความเป็นตนเองอย่างที่สุด เพื่อให้การสร้างสรรค์ผลงานนั้นสมบูรณ์แบบตามความถนัดของแต่ละคน ในการประกอบสร้างสรรค์นั้นย่อมต้องมีการพัฒนาด้วย การค้นหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ความรู้ที่สอดคล้องกับเรื่องราวและเนื้อหาทางด้านความคิดในการแสดงออก เพื่อปรุงแต่งเติมรากฐาน วิธีการทางความคิด เพราศิลปะนั้นไม่ใช่การใช้อารมณ์ ความรู้สึกเพียงอย่างเดียว หากแต่ศิลปะยังมีการใช้ความคิดเพื่อสนับสนุนอารมณ์ความรู้สึกในการเลือกหยิบใช้ไปแสดงออกทางด้านศิลปะให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

สำหรับความรักตามหลักจิตวิทยานั้น ได้ถูกอธิบายที่มีความหมายถึง “ความรัก ความห่วงใย” ไว้ว่า พฤติกรรมที่มนุษย์ใช้แสดงออกเพื่อทำให้อีกฝ่ายมีความพึงพอใจ สบายใจ อบอุ่นใจ ความรักเป็นความสัมพันธ์ทางอารมณ์ระหว่างบุคคล มิใช่เพียงความต้องการทางร่างกาย ความรักนั้นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หากแต่ความรักเกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ด้วยสัมพันธ์ทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ความรักเอง คือ สิ่งที่ต้องเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล

ความรักเกิดขึ้นได้ แต่การมีความรักนั้น ควรเริ่มจากการพัฒนาตนเอง สิ่งที่เป็นธรรมชาติของรัก คือ การที่เรามอบความรักให้กับใครซักคนแล้วนั้น เราย่อมต้องการความรักตอบแทนเช่นกัน ความพึงพอใจ ความซื่อตรง จงรักภักดี ความห่วงใย ความคิดถึง และยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือทุกอย่างที่เราเองสามารถทำได้ ความรักตนเองนั้นทำให้เราสามารถรักคนอื่นเป็น ความรักตนเองย่อมตรงข้ามกับความเห็นแก่ตัว ผู้ที่มีความรักย่อมมีทัศนะคติที่จะเอื้อเฟื้อและมีความรับผิดชอบ นับถือเข้าใจต่อผู้ที่เรารัก ไม่เมินเฉยต่อความต้องการ และการแสดงออกของอีกฝ่ายหนึ่งคำนึงถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายเข้าใจได้เป็นอย่างดี รู้สึกถึงความต้องการและความจำเป็นของเขา พร้อมที่จะยอมรับและเข้าใจให้อภัยกันเสมอโดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเป็นผู้ให้และผู้รับในขณะเดียวกันทั้งคู่

ความรักเกิดขึ้นได้อาจเกิดจากความประทับใจแรก (First Impression) ในคุณสมบัติทางกาย เช่น รูปกาย รูปสมบัติและคุณงามความดีอื่น ๆ หรืออาจเกิดขึ้นได้จากความใกล้ชิดสนิทสนมกับความสงสาร ความเป็นผู้มีอุปการะคุณและความแตกต่างของฮอร์โมนเพศในร่างกาย

“ความรัก” นั้นนำมาซึ่งความผูกพันทางด้านอารมณ์ 3 ประการ

  1. ความรู้สึก กล่าวคือ เป็นความรู้สึกรักใคร่ รู้สึกชอบ รู้สึกมีความสุขที่ได้อยู่ใกล้ ทุกข์และคิดถึงเมื่อต้องห่างไกลกัน
  2. ด้านความคิด กล่าวคือ การมองคนที่เรารักในแง่ดี มองเห็นคุณค่าและความหมายของเขา อยากทำในสิ่งที่ดี ๆ เพื่อคนที่รักและปรารถนาที่จะให้คนที่รักนั้นพบแต่ความสุข
  3. ด้านการกระทำ กล่าวคือ เป็นการปฏิบัติกันอย่างอ่อนโยน การดูแลเอาใจใส่ การสัมผัส การกอด หอมแก้ม เป็นห่วงเป็นใย ดูแลในยามเจ็บไข้ได้ป่วย และเพศสัมพันธ์

เช่นนั้น พฤติกรรมที่กล่าวถึงในข้างต้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลสำหรับคนกำลังมีความรัก เพราะเมื่อความรักได้เกิดขึ้นระหว่างคนสองคน พวกเขาก็จะแสดงออกถึงความรักที่มีให้แก่กันและกัน ซึ่งการแสดงออกนี้อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์ อันจะแสดงออกมาทางความรู้สึก ความคิด และการกระทำต่อคู่รักด้วยกัน

ทางทฤษฎีนั้น ระบุได้ว่า ความรักนั้นประกอบด้วย ความใกล้ชิดผูกพัน (intimacy) การอุทิศตน (Commitment) และอารมณ์รัก (Passion) นั่นคือ คนที่มีความรักจะมีความรู้สึกว่า อยากใกล้ชิดสนิทสนมกับคนรัก มีความผูกพันและมีความรู้สึกร่วมกับบุคคลอันเป็นที่รักเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยรู้สึกเท่ากับว่าเป็นเรื่องของตนเองและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของกันและกันได้ รวมทั้งจะมีความรู้สึกเทิดทูน นับถือและศรัทธาในคนรักของตน ทฤษฎีทางความรักนั้นต้องศึกษาความรักจากตัวอย่างคู่รักในหลายคู่และจากการศึกษาพบว่า ความรักถูกเลือกให้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุดของการมีเพศสัมพันธภาพรักที่มีแต่ความสุข นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบอีกว่า คู่รักที่มีความรู้สึกรักใคร่ต่อกันในระดับสูง เมื่อแต่งงานก็จะมีความพึงพอใจในชีวิตสมรสในระดับสูงอีกด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *