การสื่อสารเรื่องเพศควรเริ่มเมื่อไร และสอนเรื่องอะไรบ้าง

การเริ่มพูดคุยกับลูกเรื่องเพศในครอบครัวควรถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวัน และควรเริ่มตั้งแต่เด็ก พอลูกโตขึ้นก็ค่อย ๆ สอดแทรกข้อมูลเพิ่มขึ้น ควรดูอายุและความเหมาะสมตามช่วงวัยของลูก การบอกพัฒนาการของร่างกายให้ลูกรู้ล่วงหน้า จะช่วยให้ลูกไม่กลัวและสับสนที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เช่น ในวัยเด็กเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตด้านร่างกายเวลาสอนเรื่องอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า ตลอดจนหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ควรรวมอวัยวะเพศเข้าไปด้วย และควรสอนให้เด็กรู้จักเพศของตนเอง เพศของผู้อื่น ให้พอใจและภูมิใจเพศของตนเอง นอกจากนี้ ควรสอนให้เด็กรู้ว่าเนื้อตัว ร่างกายของเขา เขาต้องรู้ว่า ให้ใครแตะต้องไม่ได้ และสอนให้เด็กเรียนรู้และแยกแยะการสัมผัสแบบเจตนาดี เจตนาไม่ดีเพื่อป้องกันการถูกล่วงละเมิดซึ่งมักพบได้บ่อยในวัยเด็ก เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นกรเจริญเติบโตด้านร่างกายจะเกิดอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะด้านเพศ ทั้งเพศหญิงและเพศชายจะมีลักษณะเฉพาะตามฮอร์โมนเพศชาย และฮอร์โมนเพศหญิง วัยรุ่นตอนต้นควรสอนให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ อิทธิพลของฮอร์โมนที่มีต่อร่างกายและจิตใจ การเกิดประจำเดือน ฝันเปียก อารมณ์เพศ ความรู้สึกและความต้องการทางเพศ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกทางเพศ ปฏิกิริยาตอบสนองทางเพศเมื่อมีอารมณ์เพศ ได้แก่ การแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย และการมีสิ่งหล่อลื่นออกมาในช่องคลอดหญิง วัยนี้เริ่มรู้ต้นว่า ตนเองมีความรู้สึกทางเพศกับเพศเดียวกัน หรือกับเพศตรงข้าม เรียกว่า ความพึงพอใจทางเพศ ในเด็กผู้หญิงควรสอนการดูแลเรื่องประจำเดือน การปวดประจำเดือน การจัดการกับอารมณ์ที่แปรปรวนก่อนมีประจำเดือน ประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอและควรสอนเรื่องทักษะในการคบเพื่อนต่างเพศ การแสดงออกอย่างเหมาะสมเมื่อสนใจเพศตรงข้าม การใช้เวลาโดยไม่รบกวนหน้าที่ประจำของตนเอง และยังไม่ควรคบใครแบบแฟน แต่ใช้ความสัมพันธ์แบบเพื่อนเพื่อเรียนรู้นิสัยใจคอ และการปรับตัวเข้าหากัน การระมัดระวังในการใกล้ชิดกัน ความแตกต่างระหว่างความรู้สึกของหญิงชายเวลาใกล้ชิดกัน เพศชายมีแนวโน้มจะเกิดความรู้สึกทางเพศรุนแรงและอยากมีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่ฝ่ายหญิงรู้สึกอบอุ่นใจ ไม่ได้อยากมีเพศสัมพันธ์มากเท่าฝ่ายชาย จิตใจ และสังคมเต็มที่ มีความชัดเจนว่าตนเองมีความพึงพอใจทางเพศกับเพศเดียวกันหรือเพศตรงข้าม หรือทั้งสองเพศ มีเอกลักษณ์ทางเพศแน่นอน และพึงพอใจต่อเอกลักษณ์นี้ พ่อ แม่ผู้ปกครองควรหาโอกาสพูดคุยกับลูก เพื่อสอบถามความรู้ ความเชื่อหรือทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง และแก้ไขให้ถูกต้อง ส่วนด้านสัมพันธภาพควรสอนให้รู้จักการเลือกแฟน การสังเกตนิสัยใจคอ ความเข้ากันได้ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ แยกแยะข้อดีข้อเสียของตนเองและแฟนได้ มีทักษะในการปรับตัวเข้าหากัน เมื่อพบว่า ไม่เหมาะสมกัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ก่อนที่ความสัมพันธ์จะลึกซึ้งยาวนานเกินไป จนอาจเลิกคบกันไม่ได้ ควรสอนเรื่องชีวิตครอบครัว การเลือกคู่ครอง การแต่งงาน ปรับตัวในชีวิตสมรส และควรสอนวิธีปฏิเสธเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ควรสอนเรื่องการเตรียมตัวก่อนการแต่งงาน การตรวจทางร่างกายละโรคหรือภาวะที่จำเป็นก่อนแต่งงาน เรื่องการตอบสนองทางเพศปกติ การมีเพศสัมพันธ์อย่างมีความสุข ในกรณีที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน หรือเพศสัมพันธ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ให้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ การทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังเพศสัมพันธ์ ผลที่จะเกิดจากเพศสัมพันธ์ การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด เรื่องสุขอนามัยทางเพศควรสอดนการเปลี่ยนแปลงทางเพศที่จะเกิดในขณะตั้งครรภ์ เพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดบุตรและการดูแลหลังการคลอดบุตร การคุมกำเนิดทั้งแบบชั่วคราวและถาวร การทำหมันและการเลี้ยงดูบุตร การวางแผนครอบครัว การแท้งบุตร ความผิดปกติทางเพศ เช่น รักร่วมเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

การสอนเรื่องเพศในด้านสังคมและวัฒนธรรม ควรสอนให้ลูกรู้จักยับยั้งใจที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนสมรส การซื่อสัตย์ต่อคู่ครองตนเอง บทบาที่ดีของพ่อแม่ การแสดงออกทางเพศให้เหมาะสมตามประเพณีที่ดี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ เช่น การแต่งงานทำได้ในอายุใด การทำผิดทางเพศมีโทษอย่างไรบ้าง เป็นต้น นอกจากนี้ ควรสอนลูกเรื่องศีลธรรมกับการมีเพศสัมพันธ์เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นการสอดแทรกทัศนคติของ พ่อ แม่ ผู้ปกครองต่อเรื่องศีลธรรมและการมีเพศสัมพันธ์ แม้ว่า เมื่อลูกโตขึ้น ลูกอาจจะไม่ทำตามแบบอย่างที่พ่อ แม่ ผู้ปกครองพูดไว้ แต่ระหว่างที่ลูกกำลังค้นหาแนวทางของตนเอง ลูกจะนึกถึงคำพูดนั้น

ดังนั้น การเรียนรู้เรื่องเพศจึงเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย ที่จะให้บุคคลได้เรียนรู้ธรรมชาติความเป็นจริงของชีวิตและสังคม เพื่อให้มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ถูกต้องในเรื่องเพศตลอดจนสามารถปรับตัวตามพัฒนาการของชีวิตอย่างเหมาะสม พ่อ แม่ ผู้ปกครอง คือ บุคคลที่ใกล้ชิด และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสอนเรื่องเพศให้กับลูก นับว่า เป็นครูคนแรกของลูก การพูดคุยเรื่องเพศกับลูกตั้งแต่วัยเด็กอย่างต่อเนื่อง นับว่า เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทีดีระหว่างพ่อ แม่ ผู้ปกครองกับลูก เมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่นลูกก็จะไม่อายที่จะพูดคุยเรื่องนี้กับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *