ความพึงพอใจในการใช้บริการรถโดยสารประจำทางกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s)

แนวความคิดความพึงพอใจในการใช้บริการรถโดยสารประจำทางจำแนกตามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) นั้น วรัมพร ศรีเนตร (2562)[i] ได้ทำการอธิบายถึง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจกับการเดินทางว่า ความรู้สึกที่เกิดจากการได้รับการตอบสนองด้านจิตใจและร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากความคาดหวังที่มีต่อความพึงพอใจกับการเดินทาง ซึ่งผลการเปรียบเทียบมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งได้รับผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) ความสะดวก (2) ความคุ้มค่า/ราคา (3) การบริการ (4) ความปลอดภัย (5) สภาพรถที่ให้บริการ และ (6) ความรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการสร้างความพึงพอใจที่มีต่อการใช้บริการโดยสารในการเดินทาง ซึ่งปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ประกอบด้วย

1 ด้านผลิตภัณฑ์

อนุรักษ์ เจนสิริผล และเนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์ (2558) กล่าวว่า สภาพตัวรถ เบาะที่นั่ง ความสะอาดของห้องน้ำ และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในรถระหว่างเดินทาง เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจ

เสาวภา ลีลานุวงศ์ (2558)[ii] ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบินไลอ้อนแอร์ (Thai Lion Air) แล้วพบว่า ปัจจัยผลิตภัณฑ์ ความตรงต่อเวลาในการให้บริการ ความปลอดภัยในการเดินทาง และสภาพความใหม่ของเครื่องบิน มีผลต่อความพึงพอใจ

สิทธา คำประสิทธิ์ (2559, หน้า 65)[iii] กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีคุณภาพ ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ รวมถึงมีราคาที่เหมาะสม จึงมีอิทธิพลทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความพึงพอใจมากขึ้น โดยนครชัยแอร์มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม รวมถึงมีมาตรฐานในการให้บริการและคุ้มค่าใช้จ่าย จึงทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความพึงพอใจในการใช้บริการนครชัยแอร์สูง

ปานทิพย์ รอดเจริญ (2560, หน้า 4)[iv] ได้ให้ความหมายของ ความพึงพอใจในด้านบริการว่า การให้ความสำคัญกับเรื่องของความสะอาด และปลอดภัยในการให้บริการ มีความรวดเร็ว และตรงต่อเวลา และความต่อเนื่องสม่ำเสมอของขั้นตอน

2 ด้านราคา

นวลจันทร์ กาญจนวิบูลย์ (2555)[v] กล่าวว่า ด้านราคา คือ ความเหมาะสมของราคา เมื่อเทียบกับระยะทางตั้งแต่ต้นทาง – ปลายทาง

ปองพล นิกรกิตติโกศล (2557)[vi] ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้โดยสารจะเปรียบเทียบปัจจัยด้านคุณภาพของระบบขนส่งระยะทาง และความสะดวกรวดเร็วที่ได้รับกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเดินทาง

กฤติยา พุทธวงค์ (2558)[vii] ศึกษาเรื่อง ปัจจัยประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศในจังหวัดพิษณุโลก แล้วพบว่า ราคาค่าโดยสารที่มีความเหมาะสมคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางประเภทอื่น ๆ

ปานทิพย์ รอดเจริญ (2560, หน้า 4)[viii] กล่าวว่า ความพึงพอใจในด้านราคาค่าบริการ หมายถึง ความคุ้มค่าของราคาตั๋วโดยสารกับระยะทาง ความคุ้มค่าของราคาค่าโดยสารเมื่อเทียบกับบริการ และความสะดวกสบายที่ได้รับในระหว่างการเดินทาง

ฉัตรรัตน์ โหตระไวศยะ (2561)[ix] ที่ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการขนส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านราคาส่งผลต่อการเลือกใช้บริการขนส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่า เป็นการขนส่งสาธารณะอีกหนึ่งประเภท แสดงให้เห็นว่า การกำหนดราคาค่าบริการสำหรับการขนส่งด้านสาธารณะถือว่า เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะของประชาชน

ธรรมศักดิ์ วงศ์งามใส (2562, หน้า 9)[x] ศึกษาเรื่อง การตัดสินใจใช้บริการรถเมล์โดยสารสาธารณะของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ความเห็นว่า ในส่วนของราคานั้น หากการบริการมีคุณภาพตอบโจทย์ผู้ใช้บริการได้ มีความสะดวกปลอดภัยในการเดินทาง ผู้ใช้บริการน่าจะไม่ได้คำนึงถึงราคาเท่าไหร่ เพราะราคาค่าบริการปัจจุบันนั้นเป็นราคาที่ถูกกว่าการเดินทางด้วยช่องทางอื่น และราคาไม่ได้มีผลต่อการใช้บริการเท่าที่ควร

3 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย

ฤดีรัตน์ สิทธิบริบูรณ์ (2558)[xi] กล่าวว่า สถานที่ตั้งของร้านค้า บรรยากาศ การตกแต่งร้านค้า ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะดวกของสถานที่จอดรถ จะใช้บริการจึงจะสามารถสร้างความพึงพอใจได้เต็มที่

อาริยา หมัดลี (2559)[xii] กล่าวว่า ผู้ใช้บริการคำนึงถึงความสะดวกปลอดภัยของสถานีขนส่งผู้โดยสาร

สิทธา คำประสิทธิ์ (2559, หน้า 67)[xiii] กล่าวว่า การจำหน่ายตั๋วโดยสารของบริษัท หากมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุม สะดวกสบาย และรวดเร็ว จะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้บริการ ทำให้ไม่รู้สึกถึงความยุ่งยากในการเดินทางในแต่ละครั้ง ส่งผลให้ผู้ใช้บริการเกิดความประทับใจ และกลับมาใช้บริการซ้ำ

ปานทิพย์ รอดเจริญ (2560, หน้า 5)[xiv] กล่าวว่า การสร้างความพึงพอใจในด้านช่องทางการให้บริการนั้น หมายถึง การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายตั๋วให้มีความหลากหลายเพิ่มความสะดวกสบายในการซื้อ หรือจองตั๋ว และมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม

4 ด้านส่งเสริมการตลาด

อนุรักษ์ เจนสิริผล และเนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์ (2558)[xv] กล่าวว่า โปรโมชั่นราคาถูกเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมากที่สุด เนื่องจาก ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความอ่อนไหวต่อราคา (Price Sensitive) ค่อนข้างสูง

สิทธา คำประสิทธิ์ (2559, หน้า 66)[xvi] กล่าวว่า ผู้ใช้บริการเดินทางด้วยรถโดยสารส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้ไม่สูงมาก จึงมีความอ่อนไหวต่อราคาค่อนข้างสูง การส่งเสริมการตลาด จึงเป็นสิ่งที่สามารถกระตุ้นความรู้สึกของผู้บริโภคที่จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ใช้บริการได้ เช่น การได้รับส่วนลดค่าโดยสาร จะทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางถูก ทำให้ไม่เกิดความคาดหวังในบริการมาก ซึ่งหากในการบริการลูกค้าได้รับการให้บริการมากกว่าที่คาดหวังจะทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความพึงพอใจมาก ดังนั้น การส่งเสริมการตลาดที่เหมาะสม จึงมีอิทธิพลทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความพึงพอใจมากขึ้น

ปานทิพย์ รอดเจริญ (2560, หน้า 4)[xvii] กล่าวว่า ความพึงพอใจในด้านการส่งเสริมการขาย หมายถึง การประชาสัมพันธ์ให้รู้จักบริการของบริษัท โดยการจัดโปรโมชั่นพิเศษ ลด แลก แจก แถม เพื่อจูงใจให้มีการใช้บริการในครั้งต่อไป

5 ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ

ณัฐพร ดอกบุญนาค และฐาปกรณ์ ทองคานุช (2558)[xviii] กล่าวว่า พนักงานต้องมีการแต่งตัวที่เหมาะสม บุคลิกดีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และเกิดความเชื่อมั่นว่า บริการที่ซื้อจะดีด้วย แล้วจะเกิดความพึงพอใจในการใช้บริการ

ฤดีรัตน์ สิทธิบริบูรณ์ (2558)[xix] กล่าวว่า บุคลากร หมายถึง พนักงานที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี แต่งกายเหมาะสมสุภาพ มีความรู้สิ่งที่ตนสนใจ หรือธุรกิจที่อยากลงทุน และต้องมีความถูกต้องแม่นยำในการให้บริการ เช่น ดูแลเอาใจใส่ลูกค้า และกระตือรือร้นในการให้บริการ

อาริยา หมัดลี (2559)[xx] กล่าวว่า ผู้ใช้บริการโดยสารมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของพนักงานจำหน่ายตั๋ว พนักงานขับรถ นายตรวจตั๋วโดยสาร ซึ่งมีความสุภาพเรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใสในการให้บริการต่อผู้โดยสาร

ปานทิพย์ รอดเจริญ (2560, หน้า 5)[xxi] กล่าวว่า ความพึงพอใจด้านบุคคลนั้น หมายถึง การที่บุคคลนั้น ๆ แต่งกายสะอาดเรียบร้อยดี มีความสุภาพ แสดงความเอาใจใส่ และดูแลลูกค้าด้วยความจริงใจ มีความกระตือรือร้นที่จะให้บริการให้คำแนะนำ

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และปริญญานันท์ ฉั่วกุล (2561)[xxii] กล่าวว่า การให้บริการในด้านพนักงานที่ให้บริการ ทั้งพนักงานขับรถ และพนักงานเก็บเงินต้องมีพฤติกรรมที่ดีต่อผู้สูงอายุ และปฏิบัติตามกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ อีกทั้งต้องมีมาตรฐานในการทำงานอย่างเคร่งครัด

ธรรมศักดิ์ วงศ์งามใส (2562, หน้า 14)[xxiii] ที่กล่าวว่า พนักงานควรแต่งกายสุภาพ เรียบร้อย มีความเป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความกระตือรือร้น เอาใจใส่และให้บริการด้วยความเต็มใจ พนักงานขับรถ ขับรถดี ปลอดภัย บริการรับ – ส่ง ตรงจุดให้บริการ พนักงานมีทัศนคติ และมีใจรักในอาชีพ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สามารถควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องมีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการ และมีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ

6 ด้านกระบวนการให้บริการ

กฤติยา พุทธวงค์ (2558) กล่าวว่า กระบวนการ ด้านความปลอดภัยในการเดินทาง และความรวดเร็วในการเดินทาง ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศ

ฤดีรัตน์ สิทธิบริบูรณ์ (2558) กล่าวว่า ถ้าเป็นระบบการให้บริการ จะต้องมีความรวดเร็ว ตอบสนองต่อเวลาอันจำกัดของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำ

ปานทิพย์ รอดเจริญ (2560, หน้า 6) กล่าวว่า กระบวนการแต่ละขั้นตอนดำเนินด้วยความรวดเร็วทันใจ สามารถตอบสนองด้านเวลาที่จำกัดของลูกค้า การประมวลผลข้อมูลต้องมีความชัดเจนถูกต้องแม่นยำ และปลอดภัย

ธรรมศักดิ์ วงศ์งามใส (2562, หน้า 9)[xxiv] กล่าวว่า ด้านการบริการ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้บริการสัมผัสได้เป็นรูปธรรม หากสามารถทำให้ผู้ใช้บริการรับรู้ได้ถึงคุณภาพของการบริการ ก็จะทำกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการเกิดการใช้บริการมากขึ้น

7 ด้านลักษณะทางกายภาพ

เสาวภา ลีลานุวงศ์ (2558)[xxv] กล่าวว่า ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ เช่น ชื่อเสียงสายการบิน ความสะอาดของห้องโดยสาร และห้องน้ำบนเครื่องบิน มีอุปกรณ์ให้บริการที่เป็นมาตรฐาน มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบินไลอ้อนแอร์

ปานทิพย์ รอดเจริญ (2560, หน้า 6)[xxvi] กล่าวว่า พนักงานแต่งตัวสะอาดเรียบร้อย ความสะอาดของห้องโดยสาร และห้องน้ำบนรถ

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และปริญญานันท์ ฉั่วกุล (2561)[xxvii] กล่าวว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการให้มีสภาพแวดล้อมที่ต้องสะอาด การให้บริการเกี่ยวกับความปลอดภัย โดยตัวรถต้องมีการปรับปรุง ดูแลรักษาตลอดเวลา และพนักงานขับรถต้องมีมาตรฐานในการเลือกเข้ามาขับรถ หรือแนวทางการปฏิบัติตัวในการขับรถ อีกทั้งต้องมีอุปกรณ์นิรภัยที่ไว้ใช้สำหรับเวลาเกิดอุบัติเหตุที่มีมาตรฐาน มีการดูแล และต้องมีการติดตั้งประจำรถทุกคัน


[i] วรัมพร ศรีเนตร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรับบริการเดินทางด้วยรถตู้โดยสารประจำทาง ทางสายภาคตะวันออก. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

[ii] เสาวภา ลีลานุวงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (Thai Lion Air). (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

[iii] สิทธา คาประสิทธิ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถทัวร์นครชัยแอร์. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

[iv] ปานทิพย์ รอดเจริญ. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่งของบริษัท ขนส่ง จำกัด (999) เส้นทางกรุงเทพฯ – ภาคใต้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[v] นวลจันทร์ กาญจนวิบูลย์ (2555) ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ – นครปฐม (997). (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต).

[vi] ปองพล นิกรกิตติโกศล. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. (ภาคนิพนธ์ปริญญาพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

[vii] กฤติยา พุทธวงค์. (2558). ปัจจัยประสบการณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศในจังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

[viii] ปานทิพย์ รอดเจริญ. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่งของบริษัท ขนส่ง จำกัด (999) เส้นทางกรุงเทพฯ – ภาคใต้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[ix] ฉัตรรัตน์ โหตระไวศยะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย: กรณีศึกษาสถานีหัวลำโพง. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(1), 63-75.

[x] ธรรมศักดิ์ วงศ์งามใส. (2562). การตัดสินใจใช้บริการรถเมล์โดยสารสาธารณะของประชาชนใน เขต. กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[xi] ฤดีรัตน์ สิทธิบริบูรณ์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าร้านอาหารวอเตอร์ไซด์รีสอร์ท. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

[xii] อาริยา หมัดลี. (2559). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางของบริษัท วีระกร จำกัด เส้นทางหาดใหญ่-สุไหงโกลก. (ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

[xiii] สิทธา คาประสิทธิ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถทัวร์นครชัยแอร์. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

[xiv] ปานทิพย์ รอดเจริญ. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่งของบริษัท ขนส่ง จำกัด (999) เส้นทางกรุงเทพฯ – ภาคใต้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[xv] อนุรักษ์ เจนสิริผล และ เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในธุรกิจบริการกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถทัวร์สายตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษานครชัยแอร์. วารสารบริการธุรกิจ, 38(148).

[xvi] สิทธา คาประสิทธิ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถทัวร์นครชัยแอร์. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

[xvii] ปานทิพย์ รอดเจริญ. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่งของบริษัท ขนส่ง จำกัด (999) เส้นทางกรุงเทพฯ – ภาคใต้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[xviii] ณัฐพร ดอกบุญนาค และ ฐาปกรณ์ ทองคานุช. (2558). ความต้องการเลือกใช้โรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: กองทุนส่งเสริมการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

[xix] ฤดีรัตน์ สิทธิบริบูรณ์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าร้านอาหารวอเตอร์ไซด์รีสอร์ท. (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

[xx] อาริยา หมัดลี. (2559). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางของบริษัท วีระกร จำกัด เส้นทางหาดใหญ่-สุไหงโกลก. (ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

[xxi] ปานทิพย์ รอดเจริญ. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่งของบริษัท ขนส่ง จำกัด (999) เส้นทางกรุงเทพฯ – ภาคใต้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[xxii] วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ ปริญญานันท์ ฉั่วกุล. (2561). คุณภาพการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 3091.

[xxiii] ธรรมศักดิ์ วงศ์งามใส. (2562). การตัดสินใจใช้บริการรถเมล์โดยสารสาธารณะของประชาชนใน เขต. กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[xxiv] ธรรมศักดิ์ วงศ์งามใส. (2562). การตัดสินใจใช้บริการรถเมล์โดยสารสาธารณะของประชาชนใน เขต. กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[xxv] เสาวภา ลีลานุวงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (Thai Lion Air). (ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

[xxvi] ปานทิพย์ รอดเจริญ. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศชั้นหนึ่งของบริษัท ขนส่ง จำกัด (999) เส้นทางกรุงเทพฯ – ภาคใต้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[xxvii] วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ ปริญญานันท์ ฉั่วกุล. (2561). คุณภาพการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 3091.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *