เมื่อตั้งครรภ์ ท้องไม่พร้อม

การท้องที่ไม่พึงประสงค์เป็นการตั้งครรภ์ ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีความพร้อมในทุกด้าน ก่อให้เกิดปัญหาตามมาทั้งทางด้านครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม และปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์นี้ ส่งผลกระทบต่ออนาคต

ท้องได้ยังไง

การตั้งครรภ์หรือตั้งท้อง เริ่มหลังจากอสุจิผสมกับไข่ในสภาวะและเวลาที่เหมาะสม ประกอบไปด้วย 2 ปัจจัย

  1. ไข่สมบูรณ์ คือ ประมาณกึ่งกลางรอบเดือน ซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 14 หลังจากวันที่มีประจำเดือนวันแรก ไข่จะเคลื่อนที่เพื่อเตรียมผสม
  2. อสุจิแข็งแรงและมากพอ เพราะกว่าอสุจิไปถึงไข่ ต้องผ่านสภาพความเป็นกรดต่างในช่องคลอด ผ่านโพรงมดลูก ในระหว่างนี้อสุจิบางส่วนอาจวิ่งไปคนละทางกับเป้าหมาย ทำให้เหลืออสุจิรอดไปถึงไข้ได้ไม่มาก สุดท้ายอสุจิที่หาไข่เจอจะต้องมีความสามารถในการเจาะไข่เพื่อผสมได้ด้วย จึงจะเกิดการตั้งครรภ์ โดยปกติไข่ 1 ใบจะผสมกับอสุจิได้เพียง 1 ตัวเท่านั้น

ตั้งครรภ์…ไม่ตั้งใจ

เมื่อรู้ว่า ตั้งครรภ์ยังไม่พ้อม ตั้งสติให้ดี อย่าเก็บตัวอยู่คนเดียว เลือกพูดคุยกับคู่ของตัวเอง หรือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู หรือคนที่ไว้วางใจได้ หรือหน่วยงานให้คำปรึกษาสำหรับวัยรุ่น เพื่อประเมินความต้องการ และทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับตัวเรา และปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น

  • เริ่มต้นชีวิตคู่ไปด้วยกันเลยและวางแผนที่จะดูแลลูกร่วมกันต่อไป
  • มีคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวของหญิงหรือชายที่เข้าใจสักคนที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือและพร้อมที่จะช่วยดูแลลูกหลังคลอดให้กับเราไปก่อน
  • ลาพักการเรียนชั่วคราวในช่วงท้องและคลอด และหาใครสักคนช่วยดูแลลูกให้ก่อนหรือรับเป็นบุตรบุญธรรมเพื่อจะได้กลับไปเรียนต่อ
  • ติดต่อบ้านพักฉุกเฉินหรือบ้านพักสตรีที่ให้ที่พักชั่วคราวในช่วงท้องและคลอด แล้วค่อยตัดสินใจต่อไปว่า จะเลี้ยงลูกด้วยกันหรือยกเป็นบุตรบุญธรรม
  • หากไม่มีเงื่อนไขใดหรือความพร้อมที่จะช่วยให้รักษาครรภ์ได้ และจำเป็นจะต้องตัดสินใจเลือกยุติการตั้งท้อง ถ้าเป็นเช่นนั้น เพื่อให้ส่งผลเสียต่อร่างกายของตนเองน้อยที่สุด ควรเลือกยุติการตั้งท้องภายในอายุครรภ์ 3 เดือน
  • หาความรู้จากสื่อออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ เช่น
    • เวบไซด์โครงการก้าวย่างอย่างมั่นใจ โดยองค์การแพธ http://teenpath.net
    • ปรึกษากับทีมผู้เชี่ยวชาญผ่านทาง call center เช่น สายด่วยปรึกษา เรื่องเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663

แม้เรื่องเพศจะเป็นเรื่องที่พูดคุยกับเพื่อนได้อย่างเปิดอก แต่การรับข้อมูลบางอย่างจากเพื่อนวัยเดียวกันก็ควรมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลก่อนจะเชื่อ ควรเช็คข้อมูลที่ได้มากับองค์กรที่เชื่อถือได้ และสายด่วนที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำอีกครั้ง

ความเข้าใจผิดทำให้ปัญหาบานปลาย

  • ยาคุมช่วยทำแท้ง          (ไม่จริง)
  • ฮอร์โมนที่อยู่ในยาคมไม่ดีต่อร่างกาย (ไม่จริง)
  • ใช้ยาคุมนาน ๆจะทำให้เป็นหมัน (ไม่จริง)
  • ยาคุมทำให้น้ำหนักเพิ่ม (ไม่จริง)
  • ยาคุมส่งผลข้างเคียงกับร่างกาย (ไม่จริง)
  • ยาคุมทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง (ไม่จริง)
  • ต้องหยุดทานยาคุมกำเนิดทุก 2 – 3 เดือน เพื่อให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติ (ไม่จริง)
  • ยาคุมทำให้รอบดือนมาไม่ปกติ (ไม่จริง)
  • ยาคุมเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง (ไม่จริง)
  • ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และอวัยวะสืบพันธุ์ และโรคที่เกี่ยวกับตับ และโรคที่เกี่ยวกับความดันโลหิต (จริง)
  • เห็นคู่นอนหน้าตาดี ขาว สะอาดสะอ้าน คงไม่ต้องใช้ถุงยาง (ไม่จริง)
  • ถุงยางทำให้ความสุขจากการ่วมเพศลดลง (ไม่จริง)
  • การใช้ถุงยางอนามัยแสดงถึงความไม่ไว้ใจกัน (ไม่จริง)
  • ถุงยางใช้กับหญิงขายบริหาร ส่วนสามี – ภรรยาไม่ต้องใส่ถุงยางก็ได้ (ไม่จริง)
  • ให้ผู้ชายเป็นฝ่ายพกถุงยางดีกว่า เป็นผู้หญิงจะพกทำไม (ไม่จริง)
  • พกถุงยาง แสดงว่า เป็นเสื้อผู้หญิง เป็นพวกมักมากในกาม (ไม่จริง)
  • ยิ่งถุงยางแพง ยิ่งปลอดภัย (ไม่จริง)
  • ถุงยางมีรส มีสี อันตรายกว่ารสและกลิ่นดั้งเดิม (ไม่จริง)
  • ต้องซ้อนถุงถึงจะมั่นใจไม่ติดโรค (ไม่จริง)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *