1910.i039.021_journalistis reporters news media isometric (1)

การสื่อสารการท่องเที่ยวมีองค์ประกอบ ดังนี้

  1. ผู้ส่งสาร (Sender)
    • คำว่า “ผู้ส่งสาร” มีความหมายตรงกับคำหลาย ๆ คำ เช่น ต้นสาร แหล่งสาร ผู้เข้ารหัสสาร ผู้สื่อสาร นักสื่อสาร ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว “ผู้ส่งสาร” คือ บุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ริเริ่ม หรือเริ่มต้นส่งสารไปให้อีกบุคคลหนึ่งโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม หรือเป็นผู้ทำหน้าที่ส่งสารผ่านช่องทางหนึ่งไปยังผู้รับสาร ฉะนั้น ผู้ส่งสารจึงมีบทบาทในการชี้นำว่า พฤติกรรมการสื่อสารภายในสถานการณ์หนึ่ง ๆ นั้น จะเป็นไปในรูปใด และมีผลอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้กระตุ้นที่ทำให้เกิดการตอบสนองจากผู้รับสาร
    • ในกระบวนการท่องเที่ยวนั้น ผู้ส่งสารสามารถเป็นได้หลายแบบอันประกอบไปด้วยรัฐบาลหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่ง คนทั่วไปก็สามารถเป็นผู้ส่งสารได้ เช่น หากบุคคลนั้นเป็นผู้ริเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหาการท่องเที่ยว              
  2. ผู้รับสาร (Receiver)
    • ศัพทานุกรมสื่อสารมวลชน ได้ให้ความหมาย “ผู้รับสาร” ว่าหมายถึง ผู้รับข่าวสารจากแหล่งสารจุดหมายปลายทางที่สารส่งไปถึง อาจเป็นบุคคลธรรมดา (Individual) ที่กำลังรับฟัง ดู หรืออ่าน ข่าวสาร หรืออาจเป็นสมาชิกของกลุ่ม เช่น ผู้ดูฟุตบอล หรือผู้ฟังบรรยาย ผู้รับสารอาจเป็น “มวลชน” (Mass Audience) เช่น ผู้อ่านหนังสือพิมพ์ ผู้ฟังวิทยุ เป็นต้น ผู้รับสารนั้น มีหลายลักษณะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของการสื่อสาร อันประกอบด้วย ผู้รับสารในการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal) หากการสื่อสารท่องเที่ยวนั้น ผู้ส่งเป็นบุคคลทั่วไปทำการสื่อสารกันเพียงสองหรือสามคน การสื่อสารจะมีลักษณะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล จะเป็นผู้ที่เป็นฝ่ายรับข่าวสาร หรือการสื่อสารนั้น ถูกควบคุมโดยผู้ส่งสาร ผู้รับสารจะสามารถมีอิทธิพลต่อผู้ส่งสารและการสื่อสารมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับผู้รับสารและสถานการณ์การสื่อสาร หากผู้ร่วมทำการสื่อสารการท่องเที่ยว ทำการพูดคุยกันในกลุ่มเล็ก ผู้รับสารก็จะเป็นผู้รับสารกลุ่มเล็ก การสื่อสารประเภทนี้ อาจมีคุณลักษณะที่เหมือนกัน (Homogeneous) หรือแตกต่างกัน (Heterogeneous) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการสื่อสาร เช่น ต้องการรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อวัตถุประสงค์มาท่องเที่ยวเป็นกลุ่มเล็ก หรือเพื่อเตรียมตัวมาท่องเที่ยวเป็นกลุ่ม
  3. สาร (Message)
    • สาร คือ สาระเรื่องราวอันมีความหมาย (Meaning) และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ก็ตาม ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ สารนับว่า เป็น “ผลิตผล” (Product) ผู้ส่งสารในรูปแบบที่เนื้อสามารถส่งไปตามสื่อ หรือช่องทางการสื่อสาร (Channel) ได้
    • “เนื้อหาของสารการท่องเที่ยว” มักหมายถึง “ข้อความหรือข่าวสาร” ที่ผู้ส่งสารเลือกใช้เพื่อสื่อความหมายตามเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โดยครอบคลุมถึงเรื่องการท่องเที่ยวที่ผู้ส่งสารแสดงออกมาในลักษณะเป็นสาระหรือประเด็นต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดไปยังผู้รับเพื่อสร้างการรับรู้และชักจูงใจให้เกิดการท่องเที่ยวได้ ในการศึกษาครั้งนี้ หมายถึง “วัดร่องขุ่น”
    • องค์ประกอบของเนื้อหาสาร คือ สาระ หรือประเด็นต่าง ๆ เมื่อนำเอาสาระหรือประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้มารวมกันเป็นโครงสร้าง ก็จะได้เนื้อหาสารทั้งหมด เช่น เราจะพูดเรื่องการท่องเที่ยววัดร่องขุ่น สาระที่สื่อสารอาจประกอบไปด้วย หัวข้อย่อย ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวมีข้อย่อยตามลักษณะท่องเที่ยว เช่น ความสะดวกในการเดินทางมาวัดร่องขุ่น การเดินทางท่องเที่ยววัดร่องขุ่นมีความปลอดภัย และค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาวัดร่องขุ่น การจัดหัวข้อย่อยเหล่านี้ ให้มีความสัมพันธ์กันตามแนวทางโครงสร้างที่เหมาะสม ก็จะเป็นเนื้อหาของเรื่องการท่องเที่ยวที่ต้องการจะสื่อ หากสารนั้นได้ถูกจัดเตรียมมาอย่างดีในเรื่องการเรียบเรียงลำดับความ รูปแบบการใช้ภาษาตามระดับความยากง่าย ที่จะทำให้สารนั้นมีคุณสมบัติในการสื่อสารได้ดี การจัดเนื้อหาสารหรือรูปแบบจำเป็นต้องมีข้อมูลของผู้รับสาร (นักท่องเที่ยว) ด้วยเช่นกัน
  4. ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ
    • ในการสื่อสารทุกชนิดผู้ส่งสารย่อมต้องอาศัยช่องทาง หรือสื่อให้ทำหน้าที่นำสารไปยังผู้รับสาร โดยทั่วไปแล้วสารที่ถูกผู้ส่งสารถ่ายทอดไปยังผู้รับสารจะเข้าไปสู่ระบบการรับรู้ของมนุษย์ โดยผ่านประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่ง หรือหลายทาง ได้แก่ ทางการเห็น โดยประสาทตา ทางการได้ยิน โดยประสาทหู ทางการได้กลิ่น โดยประสาทจมูก ทางการสัมผัส โดยประสาทกาย และทางการลิ้มรสโดยประสาทลิ้น
    • ถ้าพิจารณาในแง่นี้แล้ว การสื่อสารระหว่างบุคคล 2 คนที่อยู่ต่อหน้ากัน สารก็จะผ่านช่องทางเหล่านี้ไปสู่การรับรู้ของผู้กระทำการสื่อสารทั้ง 2 ฝ่าย แต่ในการสื่อสารสำหรับคนที่อยู่ห่างไกลกัน มนุษย์ไม่สามารถจะอาศัยทางติดต่อที่มนุษย์มีอยู่ได้ มนุษย์จึงได้สร้างสื่อขึ้นมาเป็นเครื่องช่วยให้การติดต่อระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีความเป็นไปได้ มองในแง่นี้ เราจะเห็นได้ว่า แม้คำว่า “ช่องทาง” และคำว่า “สื่อ” จะมีความหมายใกล้เคียงกัน และอาจใช้แทนกันได้

ช่องทางของการสื่อสารไว้ว่า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ช่องสารที่เป็นสื่อมวลชน คือ ช่องสารที่สามารถทำให้แหล่งสารที่ประกอบด้วย บุคคลหนึ่งหรือบุคคลไม่กี่คน สามารถส่งสารไปยังผู้รับเป้าหมายจำนวนมาก ๆ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งช่องสารที่เป็นสื่อมวลชนมีคุณลักษณะ ดังนี้
    1. สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก ๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
    2. สามารถให้ความรู้และข่าวสารได้ดี
    3. สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่ไม่ฝั่งรากลึกได้
  2. ช่องสารที่เป็นสื่อระหว่างบุคคล คือ ช่องสารที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข่าวสารแบบตัวต่อตัวระหว่างบุคคลสองคนหรือมากกว่าสองคนขึ้นไป ซึ่งช่องสารที่เป็นสื่อระหว่างบุคคล มีลักษณะ ดังนี้
    1. สามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข่าวสารแบบสองทาง ถ้าผู้รับสารไม่เข้าใจสารก็สามารถ ไต่ถามได้ หรือขอข่าวสารเพิ่มเติมจากแหล่งสารได้ในเวลาอันรวดเร็ว ส่วนผู้ส่งสารก็สามารถปรับปรุงแก้ไขสารที่ส่งสารไปให้เข้ากับความต้องการ และความเข้าใจของผู้รับสารได้ในเวลาอันรวดเร็วเช่นเดียวกัน
    2. สามารถจูงใจบุคคลที่มีความเฉยเมย หรือมีปฏิกิริยาต่อต้านสารที่ผู้ส่งสารส่งให้เปลี่ยนแปลงความคิด หรือทัศนคติฝังรากลึกได้

การสื่อสารกลับ (Feedback) ในกระบวนการสื่อสาร

องค์ประกอบเรื่องการสื่อสารกลับนั้น ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญ แต่ในบางแนวคิดหรือโมเดลการสื่อสารบางรูปแบบไม่ได้กล่าวถึงการสื่อสารกลับจึงทำให้การสื่อสารกลับนี้ เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงการสื่อสารสองทาง

“การสื่อสารตอบกลับ” หมายถึง ผู้ส่งสารมีจุดมุ่งหมายต้องการให้เกิดผลตามมา เนื่องจาก การสื่อสารเป็นการติดต่อระหว่างมนุษย์ เพื่อให้รับรู้เรื่องราวอันมีความหมายร่วมกัน และเกิดการตอบสนองต่อกัน การตอบสนองต่อกันเกิดจากการสื่อสารนั้น เป็นผลต่อเนื่องติดตามมาหลังจากที่มนุษย์ได้รับรู้ความหมายการสื่อสารกลับในการสื่อสารการท่องเที่ยวนั้น อาจรับรู้ได้โดยดูจากยอดของผู้ที่มาท่องเที่ยวในแหล่งของการท่องเที่ยวที่ได้ทำการสื่อสารออกไป หรืออาจทำการสำรวจก็ได้เช่นกัน ผลที่ได้จากการสื่อสารกลับนี้สามารถนำมาใช้ประกอบการปรับปรุงการดำเนินงานการสื่อสาร

แหล่งที่มา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *