ลักษณะและความหมายของผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการ

ผลิตภัณฑ์ หมายถึง สินค้าเครื่องสำอางที่มีการจำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์ ทุกประเภท เช่น เครื่องสำอาง ดูแลผิว ดูแลหน้า เครื่องสำอางบำรุงผม เครื่องสำอางบำรุงผิว เครื่องสำอางทำความสะอาดผิว ฟื้นฟู หรือดูแลผิวพรรณ และเครื่องหอม[i]

เสื้อผ้าแฟชั่น หมายถึง เสื้อผ้าที่มีการผลิตรูปแบบตามสมัยนิยมที่จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เปลี่ยนไปตามความนิยมในช่วงใดเวลาหนึ่ง ในเวลาอันรวดเร็ว โดยหมายถึง เครื่องแต่งกายอย่างเสื้อ กางเกง กระโปรง เดรส ฯลฯ[ii]

เครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน พลังงานเสียงและภาพ[iii]

โยเกิร์ตแช่แข็ง หมายถึง ไอศกรีมโยเกิร์ต ที่ประกอบด้วย วัตถุดิบจากธรรมชาติ ดีต่อสุขภาพ และอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ผลิตจากนมไขมันต่ำ เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้สูงวัยเพื่อช่วยพัฒนาร่างกายในทุกช่วงสำคัญของชีวิต ด้วยเนื้อครีมนุ่ม ละลายช้า ในตลาดประกอบด้วย 4 ยี่ห้อหลัก คือ โยเกิร์ตแลนด์ พิงค์เบอร์รี่ ยูมู และปาร์ตี้แลนด์[iv]

อุปกรณ์ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องมือที่ใช้เป็นส่วนประกอบเกี่ยวเนื่องกับไฟฟ้า ได้แก่ สายไฟ หลอดไฟ โคมไฟ ไฟฉุกเฉิน สวิทช์ ปลั๊ก หน้ากากสวิทช์ปลั๊ก ท่อร้อยสายไฟ บาลาตส์ สตาร์ทเตอร์ รางเดินสายไฟ กิ๊บและตะปูเดินสายไฟ ตู้ควบคุมไฟฟ้า ลูกเซอร์กิต เบรกเกอร์ ฟิวส์ และคัทเอาท์

ร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ หมายถึง ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่จำหน่ายวัสดุก่อสร้างหลากหลายครบวงจรในที่เดียว ทั้งวัสดุก่อสร้างพื้นฐาน เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่ง รวมทั้งมีบริการหลังการขายในจังหวัดพัทลุง[v]

ร้านอาหารญี่ปุ่น หมายถึง ร้านอาหารที่ขายสินค้าซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่นรวมถึงอาหารที่ใช้ส่วนผสมและวิธีการทำอาหารซึ่งรับมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเปิดให้บริการในศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[vi]

น้ำผลไม้พร้อมดื่มตรากรีนเมท หมายถึง น้ำซึ่งได้มาจากผลไม้โดยผ่านกระบวนการทางเทคนิคต่าง ๆ โดยจะต้องมีสี กลิ่น รส เหมือนกับน้ำผลไม้ธรรมชาติ บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดแตกต่างกันออกไป สามารถดื่มได้ทันที โดยผลิตและจัดจำหน่ายภายใต้บริษัท ไทซันฟูดส์ จำกัด[vii]

อาหารพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) มี 2 ประเภท คือ แช่แข็ง (Frozen Food) และแช่เย็น (Chilled Food)[viii]

  1. อาหารแช่เย็น (Chilled Food) คือ การถนอมอาหารโดยใช้ความเย็นเหนือจุดเยือกแข็งเล็กน้อย คือ ตั้งแต่ 0 – 5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับอุณหภูมิที่จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทั่วไปได้ อย่างไรก็ตาม การขนส่งที่ใช้เวลานานเกินไปหรือการเก็บรักษาอย่างผิดวิธี อาจทำให้แบคทีเรียกลุ่ม วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส มีการเติบโตได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง ท้องเสีย หรือสารฮีสตามีนที่ทำให้วิงเวียน ปวดศีรษะ หรือเป็นลมได้ ทั้งนี้หลังจากซื้ออาหารแช่เย็นมาแล้ว ควรนำมาปรุงทันทีหรือควรเก็บไม่เกิน 3 วัน ปัจจุบันถาดที่ใส่อาหารมี 3 สี คือ สีแดง สีดำ สีขาว สินค้าถาดแดง ผลิตที่ซีพีแรม ส่วนสินค้าถาดดำ ทางซีพีเอฟเป็นผู้ผลิต แยกโรงงานกันชัดเจน และสินค้าไม่ได้ทับซ้อนกัน แต่แตกต่างกันเทคโนโลยีการผลิต โดยซีพีแรม ใช้กระบวนการผลิตอาหารสด แล้วแพ็คเลย โดยใช้ Aseptic Packing เป็นการแพ็คในสภาวะปลอดเชื้อ ขณะที่ซีพีเอฟผลิตอาหารสด จากนั้นแพ็คแล้วนำไปนึ่งอีกรอบ เพื่อฆ่าเชื้อ ขณะที่สินค้าถาดขาว (เช่น ข้าวกะเพราหมูสับ) เป็นกลยุทธ์ของทางเซเว่น อีเลฟเว่น ในการนำเมนูขายดี มาเพิ่ม Value บางอย่างเข้าไป เพื่อให้มีความอร่อยมากขึ้น และจำหน่ายในราคาสูงขึ้น
  2. อาหารแช่แข็ง (Frozen Food) คือ การถนอมอาหารโดยวิธีการลดอุณหภูมิให้น้อยกว่าจุดเยือกแข็ง คือ -18 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ไม่มีจุลินทรีย์ชนิดใด สามารถเจริญเติบโตได้ เพราะจุลินทรีย์ต้องใช้น้ำในการเจริญเติบโต เมื่อน้ำเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งแล้ว จึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้อีก อีกทั้งการแช่แข็งยังเป็นการหยุดปฏิกิริยาเคมีหรือหยุดการทำงานของเอนไซม์ ทำให้สามารถรักษารสชาติและคุณค่าทางอาหารไว้ได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อาหารแช่แข็งสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 6 เดือน – 2 ปี ปัจจุบันจะมีบรรจุภัณฑ์เป็นข้าวกล่องสีขาว แตกต่างจากอาหารแช่เย็นซึ่งมีลักษณะเป็นถาดสีแดง ดำ หรือขาว และซีลด้วยพลาสติก

[i] พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

[ii] นิราภร คำจันทร์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ผ่านแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมในประเทศไทย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

[iii] สุชาดา ตันบุญเจริญ (2563) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. ภาคนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

[iv] ศิริลักษณ์ คำพึ่ง. (2562). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการเลือกซื้อโยเกิร์ตแช่แข็ง กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

[v] ภัทรวดี กฤตรัชตนันต์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ของประชาชนในจังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

[vi] ธัญญ์ธิชา รักชาติ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

[vii] จุรีพร ช้อนใจ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่ม ตรากรีนเมทของผู้บริโภคในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[viii] วัชระ สุขเกษม. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่เย็นพร้อมรับประทานผ่านร้านสะดวกซื้อของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *