มนต์คาถาที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก มนต์คาถาที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก

มนต์คาถาที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก

พระวินัยปิฎกแม้จะเป็นคัมภีร์ประมวลพุทธพจน์ที่เป็นพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์และว่าด้วยกฎหรือข้อบังคับที่เป็นหลักใหญ่สำหรับพระภิกษุ ภิกษุณีสงฆ์ซึ่งมีแนวการสอนที่ต่างออกไปจากคัมภีร์อื่น ๆ ก็ตาม แต่ก็พบคำสอนที่เป็นคาถาร้อยกรองปรากฏอยู่บ้าง เช่น ในคัมภีร์มหาวรรค มหาขันธกะโพธิกถา พรรณนาเหตุการณ์แรกตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงพิจารณาปฏิจจาสมุปบาทพระองค์ทรงเปล่งพุทธอุทานคาถาถึง 3 วาระดังได้ยกมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้ ยทา หเว ปาตุภวนฺต ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ แปลว่า เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ บทว่ายทา หเว ปาตุ ภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ขยํ ปจฺจยานฺ อเวทิ แปลว่า เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส วิธูปยํ ติฏฐติ มารเสนํ สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ แปลว่า เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไปพราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยขึ้นสาดส่องท้องฟ้าให้สว่างไสวฉะนั้น

แม้ในคัมภีร์พระวินัยเล่มอื่น ๆ ก็ปรากฏคำประพันธ์ร้อยกรองหรือวางรูปแบบของคาถาไว้ในตอนต้อนหรือตอนท้าย เช่น ในจูฬวรรค เสนาสนขันธกะทุติยภาณวารพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดอนาถบิณฑิกคหบดี เมื่อคราวเข้าเฝ้าที่ป่าสีตะวัน ทรงตรัสพระคาถาว่า พราหมณ์ผู้ดับกิเลสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ ผู้ติดอยู่ในกาม เป็นคนเยือกเย็น ไม่มีอุปกิเลส ตัดกิเลสเครื่องข้อได้ทุกอย่างแล้ว กำจัดความกระวนกระวายในใจ เข้าถึงความสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข เรื่องอนาถปิณฑิกวัตถุคัมภีร์ปริวารตอนว่า ด้วยอาปัตติสมุฏฐานคาถาอันเป็นคัมภีร์สุดท้ายในหมวดพระวินัยก็ประพันธ์คาถาแสดงสมุฏฐานแห่งอาบัติไว้เป็นแบบ เช่น พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นธรรมไม่มีที่สุด ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงเห็นวิเวก ได้ตรัสบอกสมุฏฐานทางกายไว้แล้ว อาบัติที่เกิดโดยสมุฏฐานนั้นมีอยู่

มนต์คาถาที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตปิฎกเป็นคัมภีร์ที่บันทึกพุทธธรรมไว้มากที่สุด ในบรรดาปิฎกทั้งสาม มีคำสอนทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ คำสอนที่เป็นธรรมาธิษฐานและบุคลาธิษฐาน และคำสอนที่เจือด้วยปาฏิหาริย์ขตฺติโย เสฏฺ โฐ ชะเนตสฺมึ เยโคตฺตปฏิสาริ โน วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โสเสฏโฐ เทวมานุเสฯ แปลว่า ในหมู่ที่ถือตระกูลเป็นใหญ่กษัตริย์จัดว่า ประเสริฐที่สุด ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ จัดว่า เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์

มนต์คาถาในพุทธอุทาน

มนต์คาถาในพุทธอุทาน หมายถึง คำพูดที่เปล่งออกมาจากลำคอด้วยกำลังปีติโสมนัสเพราะไม่สามารถยับยั้งไว้ภายในหทัยได้ ดุจน้ำที่เต็มสระจนล้นไหลออกจากสระ ฉะนั้น เรียกว่า “พุทธอุทาน” เป็นพระดำรัสประเภทคาถาก็มี เป็นประเภทเวยยากรณะก็มี โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ว่าด้วยนิทานวจนะ ตอนที่ 2 ว่าด้วยอุทานคาถาที่พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งด้วยกำลังโสมนัสสาญาณ อันเกิดมาจากความประทับใจในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมาจากได้เห็นสัจธรรมบางอย่างอันเป็นภาวะที่น่าอัศจรรย์ หรือที่ทำให้เกิดการประจักษ์ชัดในความจริงของชีวิต คำอุทานนี้ออกมาทั้งในรูปของร้อยแล้วและร้อยกรอง ทั้งที่เป็นคำอุทานของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก

มนต์คาถาในชาดก

มนต์คาถาในชาดก คือ รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี 40 คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม 525 เรื่อง ภาค 2 รวมคาถาอย่างในภาค 1 นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี 50 คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี 1,000 คาถา รวมอีก 22 เรื่อง บรรจบทั้ง 2 ภาคเป็น 547 ชาดก แปลตามรูปศัพท์ว่า เรื่องที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เป็นเรื่องในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า แม้ถึงจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้อื่นบ้าง แต่ก็จะมีพระโพธิสัตว์อยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ ด้วยในการแสดงพระธรรมเทศนา พระพุทธเจ้าจะทรงยกขึ้นมาอธิบายประกอบในกรณีที่มีผู้ทูลถามหรือเป็นเรื่องเกิดขึ้นในสมัยครั้งพุทธกาล ชาดกมีทั้งหมด 547 เรื่องแต่ชาวไทยมักเรียกกันว่า เรื่องพระเจ้า 500 ชาติ ตัวอย่างของชาดก เช่น ในกูฏทันตสูตร พระพุทธเจ้าทรงเล่าเรื่องที่พระองค์เคยเกิด เป็นปูดรหิตชื่อมหาวิชิต ในมหาโควินทสูตร พระพุทธองค์ทรงเล่าเรื่องว่า พระองค์เกิดเป็นพราหมณ์ มหาโควินทะ เป็นต้น

มนต์คาถาธรรมบท

มนต์คาถาธรรมบท ธรรมบท แปลว่า บทแห่งธรรมหรือธรรมที่ตรัสไว้เป็นบท หมายถึง บทธรรมภาษิตสั้น ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ต่างเวลา ต่างสถานที่ และต่างบุคคล นับเป็นจำนวนพระคาถา คือ 1 คาถากับอีกกึ่งพระคาถา นับเป็น 1 บทในธรรมบทเหล่านี้ ท่านรวบรวมไว้เป็นเรื่อง ๆ มีชื่อปรากฏตามสภาวธรรมหรือบุคคลที่ทรงปรารภถึง บางเรื่องไม่ปรากฏบุคคลชัดเจนท่านก็ใช้คำว่า บุคคลใดบุคคลหนึ่งบ้าง ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งบ้าง รวมได้ 305 เรื่อง โดยแต่ละเรื่องจัดไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า วรรค รวมเป็น 26 วรรค แต่ละวรรคมีชื่อปรากฏตามอำนาจเนื้อหาสาระของธรรมบทนั้น ๆ กล่าวคือ ธรรมบทใด ๆ และเรื่องใด ๆ ที่มีเนื้อหาสาระสัมพันธ์กันโดยเหมือนกัน คล้ายกันหรือตรงกันข้าม ท่านก็จัดธรรมบทนั้น ๆ และเรื่องนั้น ๆ เป็นหมวดหมู่หรือวรรคเดียวกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *