ภัยร้ายในเด็กอ้วน ปฏิบัติตัวอย่างไร ห่างไกลภัยอ้วน

“เด็กอ้วน” หมายถึง เด็กที่มปริมาณไขมันอยู่ในร่างกายมากกว่าเกณฑ์ปกติ โดยดูความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกับส่วนสูง จากเกณฑ์อ้างอิงน้ำหนักส่วนสูง เพื่อประเมินภาวการณ์เติบโตของเด็กไทย เมื่ออ้วนจะก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพมากมาย

สาเหตุที่เด็กอ้วน

  1. กรรมพันธุ์
  2. กินจุบกินจิบ ไม่เป็นเวลา กินจุ
  3. ขาดการออกกำลังกาย
  4. มีพฤติกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ

โรคที่มักพบในเด็กอ้วน

โรคที่มักพบในเด็กอ้วนที่คุณคาดไม่ถึง คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ๆ ได้แก่

  1. โรคเบาหวาน
  2. โรคความดันโลหิตสูง
  3. โรคหัวใจขาดเลือด
  4. โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม

  1. อาหารและโภชนาการ จากการรับประทานอาหารประเภทหวาน มันเค็ม และรับประทานผักผลไม้น้อย
  2. การเลี้ยงดูเด็ก เด็กที่มีน้ำหนักมาก มักมีนิสัยรับประทานอาหารเร็ว และเคี้ยวอาหารน้อยกว่าเด็กที่มีน้ำหนักปกติ
  3. การออกกำลังกาย เด็กอ้วนมีการใช้พลังงานน้อยกว่าเด็กทั่วไป การใช้ชีวิตแบบสะดวกสบาย การออกกำลังกายน้อยลง มีส่วนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนมากขึ้น
  4. กระแสความนิยมในสังคม การโฆษณาที่ใช้ดารานักร้อง หรือบุคคลมีชื่อสเยงที่เด็กอยากเลียนแบบเป็นปัจจัยทางอ้อมต่อการเกิดโรคอ้วน

ผลกระทบของโรคอ้วนต่อสุขภาพเด็ก

  1. กระดูกและข้อ ความผิดปกติของข้อเข่า ทำให้ขาโก่งหรือขากางผิดปกติ
  2. ระบบหัวใจและหลอดเลือด
  3. การหายใจ เนื่องจาก ไขมันที่สะสมอยู่ในผนังช่องอก ช่องท้อง และกระบังลม ทำให้เด็กอ้วนร้อยละ 30 – 90 มีความผิดปกติของการหายใจขณะนอนหลับ
  4. ภาวการณ์ต่อต้านอินซูลิน เด็กอ้วนมีความผิดปกติของการเผาผลาญกลูโคส นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2
  5. ขาดความมั่นใจ วิตกกังวล เกิดปมด้อย
  6. เด็กที่มีน้ำหนักเกินมีผลการเรียนต่ำกว่าเด็กที่มีน้ำหนักปกติ
  7. ครึ่งหนึ่งของเด็กที่อ้วนในวัยเรียน จะยังคงอ้วนเมื่อเป็นผู้ใหญ่ และหากยังอ้วนเมื่อเป็นวัยรุ่น โอกาสที่จะเป็นผู้ใหญ่อ้วนยิ่งสูงมาก

ปฏิบัติตัวอย่างไร? ห่างไกลภัยอ้วน

  1. จัดกิจกรรมให้มีการเคลื่อนไหว ไม่นั่ง ๆ นอน ๆ ดูทีวี เล่นเกมส์ ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตไม่เกิน 2 ชั่วโมง/วัน
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์
  3. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  4. หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้รสไม่หวาน

ที่สำคัญ : ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่าง และช่วยดูแลเด็กในการปฏิบัติตัวเพื่อให้เด็กวันนี้มีสุขภาพดีในวันหน้า

“ลดอาหารเสี่ยง ไม่เกี่ยงเคลื่อนไหว จิตใจผ่อนคลาย ปลอดภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง”

ขอขอบคุณที่มาบทความ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *