พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง การกระทำ การแสดงออก หรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการที่ผู้บริโภคทำการค้นหา การซื้อ การใช้การประเมินผล การใช้สอยผลิตภัณฑ์ และการบริการซึ่งคาดว่า จะสนองความต้องการของเขารวมทั้งการตัดสินใจและการกระทำของคนที่เกี่ยวกับการซื้อ และการใช้สินค้านั้น ๆ อีกด้วย จะเห็นได้ว่า พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นมีความสำคัญต่อธุรกิจค้าปลีกเป็นอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกให้ความสำคัญต่อพฤติกรรมผู้บริโภคมากขึ้น เพราะนั่นหมายความถึง การขายสินค้าและสถานะภาพของกิจการว่า จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นหรือไม่ ส่งผลต่อกำไรของกิจการอีกด้วย ดังนั้น จึงต้องมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อการวางแผนในการดำเนินธุรกิจและสามารถทราบถึงความต้องการของลูกค้าได้และเกิดความพอใจสูงสุด[i]

พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง การกระทำของบุคคลบุคคลหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการหาให้มาและการใช้ซึ่งสินค้าและบริการ ส่วนพฤติกรรมผู้ซื้อนั้น หมายถึง การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการด้วยเงิน และรวมถึงการตัดสินใจ[ii]

พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง การกระทำต่าง ๆ ของบุคคลที่แสดงออกมา ในการแสวงหาซื้อสินค้า และบริการที่คาดหวังว่า จะสามารถตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของตนเองภายใต้กระบวนการตัดสินใจที่มีมาก่อนซื้อ โดยพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้น จะเกี่ยวข้องกับความรู้สึก นึกคิด หรือมีการแสดงออกในชีวิตประจำวันแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละบุคคลย่อมมีพฤติกรรมการแสดงออกแตกต่างกัน เพราะแต่ละคนมีทัศนคติ หรือสิ่งจูงใจของตนเอง จึงทำให้พฤติกรรมของตนเองนั้นแตกต่างจากคนอื่น นอกจากนี้ การมีทัศนคติที่ต่างกันจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่เหมือนกันในด้านการเลือกซื้อหรือเลือกบริโภคสินค้าต่าง ๆ[iii]

พฤติกรรมของผู้บริโภค หมายถึง การกระทำต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซื้อสินค้าและบริการรวมทั้งกระบวนการตัดสินใจที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการกระทำดังกล่าว[iv]

พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง การกระทำต่าง ๆ ของบุคคลที่แสดงออกมาในการแสวงหาซื้อสินค้าและบริการที่คาดหวังว่า จะสามารถตอบสนอง ความต้องการและความพึงพอใจของตนเองภายใต้กระบวนการตัดสินใจที่มีมาก่อนการซื้อ[v]

บุษบา วงษา (2557) กล่าวว่า พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของนักท่องเที่ยวต่างชาติในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีภูมิลำเนาในทวีปยุโรปมีอายุ 41 – 45 ปี มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นเจ้าของธุรกิจหรืออาชีพอิสระ มีสถานภาพโสด มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 1,301 – 1,600 USD มีระยะเวลาที่พักในประเทศ 1 – 2 สัปดาห์ มีผู้ร่วมเดินทาง คือ สมาชิกกรุ๊ปทัวร์ มีค่าใช้จ่ายสำหรับการมาท่องเที่ยวในประเทศไทยครั้งนี้ คือ 1,501 – 2,000 USD[vi]

ณัฐฐา จันทร์จรัสวงษ์ (2556) กล่าวว่า พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 40 – 49 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือประกอบอาชีพอิสระ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท สถานที่ที่เลือกซื้อเครื่องประดับส่วนใหญ่ซื้อเครื่องประดับจากร้านค้าออนไลน์ มีความถี่ในการเลือกซื้อเครื่องประดับ 1 ครั้งต่อเดือน ประเภทของเครื่องประดับที่เลือกซื้อ คือ เครื่องประดับตกแต่ง (กระเป๋า เข็มขัด ฯลฯ) บุคคลที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องประดับ คือ ตนเอง และมีงบประมาณ 3,001 – 4,000 บาท ในการเลือกซื้อเครื่องประดับต่อครั้ง[vii]

พฤติกรรมผู้บริโภคที่มาใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมเมื่อมีความต้องการสินค้าอย่างเร่งด่วน ร้อยละ 27.0 เหตุผลจูงใจที่ทำให้ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม คือ ราคาสินค้าถูกกว่าร้านทั่วไป ร้อยละ 28.0 ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ประมาณครั้งละ 101 – 300 บาทต่อครั้ง ร้อยละ 56.0 สินค้าที่ซื้อจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น น้ำอัดลม นมกล่อง น้ำผลไม้ ร้อยละ 55 ระยะทางจากบ้านถึงร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม คือ 50 เมตร ร้อยละ 56.5[viii]

สงบ สิงสันจิตร (2552) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ประเภทของสินค้าที่ซื้อจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมเป็นประจำ คือ ของใช้ในครัวเรือน เช่น น้ำปลา น้ำมันพืช ซีอิ๊ว น้ำตาล นมข้น กาแฟ ข้าวสาร เหตุผลที่ซื้อสินค้าหรือบริการที่ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม เพราะสะดวกในการเดินทางและในการซื้อสินค้าหรือบริการที่ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมต่อครั้ง จำนวนเงิน 51 – 100 บาท ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อมาเพื่อใช้ โดยความถี่ในการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม คือ 1 – 2 ครั้ง/สัปดาห์ สินค้าที่ซื้อจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น น้ำอัดลม นมกล่อง น้ำผลไม้ ของใช้ประจำบ้าน เช่น สบู่ ยาสีฟัน แป้ง ขนมขบเคี้ยว เช่น ถั่ว กระป๋อง เลย์ ฮานามิ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และบุหรี่ และสินค้าเบ็ดเตล็ด[ix]


[i] ลออทิพย์ เกิดน้อย. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อ.เมือง จ.เชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[ii]เสาวนีย์ สุวรรณาภรณ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

[iii] ศิริลักษณ์ คำพึ่ง. (2562). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการเลือกซื้อโยเกิร์ตแช่แข็ง กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

[iv] ลออทิพย์ เกิดน้อย. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อ.เมือง จ.เชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[v]ศิริลักษณ์ คำพึ่ง. (2562). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการเลือกซื้อโยเกิร์ตแช่แข็ง กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

[vi] บุษบา วงษา. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร และคุณลักษณะของผู้นำเสนอสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของนักท่องเที่ยวต่างชาติในจังหวัดพิษณุโลก. การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[vii] ณัฐฐา จันทร์จรัสวงษ์. (2556). การตลาดเชิงสร้างคุณค่ามนุษย์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[viii] ลออทิพย์ เกิดน้อย. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขต อ.เมือง จ.เชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[ix] สงบ สิงสันจิตร. (2552). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สารนิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.