ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านเพศ ที่มีพฤติกรรม การตัดสินใจ ที่แตกต่างกัน

ลักษณะทางประชากรศาสตร์ คือ คุณลักษณะของประชากร เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้แบ่งการตลาดในการทำธุรกิจที่สำคัญ โดยตัวแปรจะมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามากำหนดตัวแปรนั้น ๆ เช่น ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริโภค ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เป็นต้น ดังนั้น ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ถือว่า เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำธุรกิจหรือทำการตลาดเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ผู้ขายหรือผู้ผลิตภสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในกรเลือกกลุ่มตลาดเป้าหมายหรือสินค้าที่จะนำมาขายแก่ผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง[i]

ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ไม่ต่างกัน ทั้งนี้ เนื่องจาก ในยุคปัจจุบันเป็นสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลให้ผู้บริโภคทุกเพศ ทุกช่วงอายุ ทุกระดับการศึกษา ทุกอาชีพ ทุกระดับ และทุกช่วงรายได้ สามารถเข้าถึงเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างทั่วถึง และมีความเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ เครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ก็ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันไป ทำให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจและมีความคุ้นเคยในการใช้งานเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์เป็นอย่างดี รวมถึงการซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นไปด้วย ความสะดวก ง่าย ไม่ซับซ้อน อีกทั้งร้านค้าออนไลน์ในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้มีสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น มีกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคทุกคนได้อย่างทั่วถึง ไม่มีการแบ่งอยกปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ทุกด้านทั้งด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน การซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์จึงสามารถตอบสนองผู้บริโภคได้หลากหลาย ปัจจัยกล่าวข้างต้นจึงไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์[ii]

ลักษณะด้านประชากรศาสตร์ หมายถึง การแบ่งส่วนตลาดตามตัวแปรด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน[iii]

ยุพเรศ พิริยพลพงศ์ (2558)[iv] ได้ศึกษาปัจจัยและพฤติกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โมบายแอพพลิเคชั่นซื้อสินค้าผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า เพศชายและเพศหญิงมีระดับการตัดสินใจใช้โมบายแอพพลิเคชั่นซื้อสินค้าออนไลน์ ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด ไม่แตกต่างกัน

ผู้บริโภคที่มีเพศแตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ โดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจาก เพศหญิงตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน Facebook จากการเปิดรับโฆษณาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งจากเครือข่ายเพื่อน จากการเปิดรับโฆษณาจาก Facebook มากกว่าเพศชาย[v]

ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านเพศที่ต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน Online จังหวัดน่านและกรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[vi]

ชลธิชา คงสุวรรณ (2559)[vii] ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคขนมเบเกอรี่ร้านเฑล พบว่า ปัจจัยบุคคล คือ เพศ ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคขนมเบอร์เกอรี่ของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลไม่แตกต่างกัน

ปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านเพศ ผลการศึกษา พบว่า เพศของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[viii]


[i] ศรัณยนันท์ ศรีจงใจ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[ii]ชุติมา คล้ายสังข์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 15(1), 37 – 69.

[iii] ศรัณยนันท์ ศรีจงใจ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[iv] ยุพเรศ พิริยพลพงศ์. (2558). ปัจจัยและพฤติกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โบมายแอพพลิเคชั่นซื้อสินค้าผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

[v] ศรัณยนันท์ ศรีจงใจ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[vi] สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

[vii] ชลธิชา คงสุวรรณ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคขนมเบเกอรี่ร้านแพริลเบอเกรี่ของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[viii]ชุติมา คล้ายสังข์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 15(1), 37 – 69.

One Comment

  1. mostbet aze45

    Not bad

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *