ช้อนกลาง ป้องกันโรค

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทยปี 2546 พบว่า มีครัวเรือนที่ใช้ช้อนกลางถูกต้อง เพียงร้อยละ 43.4 ไม่มีการใช้ช้อนกลาง ร้อยละ 42.7 ใช้ช้อนกลางไม่ถูกต้อง คือ ใช้ช้อนกลางตักอาหารกินเลย ร้อยละ 13.8

ในร้านอาหารมีการสำรวจในปี 2548 พบว่า มีโต๊ะรับประทานอาหารมีช้อนกลางไว้บริการประจำโต๊ะ ร้อยละ 39.6 ไม่มีการเสิร์ฟช้อนกลาง ร้อยละ 31.5 มีการเสิร์ฟ/มีไว้ประจำโต๊ะ/มีไว้ให้บริการตนเอง ร้อยละ 68.5

โรคติดต่อผ่านทางน้ำลาย เสมหะผู้ป่วย

แค่กินอาหารร่วมกันก็ติดโรค ถ้าไม่ใช้ช้อนกลางโดยเฉพาะโรคที่ติดต่อผ่านทางน้ำลาย จะมีโอกาสเสี่ยงในการได้รับเชื้อโรคที่ออกมาในน้ำลาย เช่น คอตีบวัณโรค โปลิโอ ไวรัสตับอักเสบชนิดบี ไข้หวัดใหญ่ คางหมู รวมทั้งยังเสี่ยงกับโรคที่เกิดจากเชื้อโรคที่พบเชื้อในน้ำลายอื่น ๆ เช่น โรคซาร์ส และโรคที่ติดต่อผ่านทางอาหารและน้ำเป็นสื่อได้ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ

การใช้ช้อนกลางที่ถูกสุขลักษณะ

เตรียมช้อนสะอาดหรืออุปกรณ์ที่เหมาะกับชนิดของอาหาร ให้ครบตามจำนวนชนิดของอาหารที่จะรับประทานอาหาร อย่างน้อย 1 อันต่ออาหาร 1 ชนิด ใช้ช้อนกลางที่เตรียมไว้ตักอาหารใส่จานตนเอง

ห้ามใช้ช้อนกลางตักอาหารในสำรับเข้าปากโดยตรง

ช้อนกลาง หมายถึง ช้อนที่มีไว้สำรับกับข้าว เพื่อใช้ตักแบ่งอาหารมาใส่จานของผู้กิน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *