แนวคิดเกี่ยวกับตราสินค้า

ความหมายเกี่ยวกับตราสินค้า

ตราสินค้า หมายถึง ชื่อ ถ้อยคำ เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ เครื่องหมายทางการค้าหรือหีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่สามารถระบุถึงความเป็นสินค้าหรือบริการของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอสที่ทำให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ๆ[i]

ตราสินค้า คือ เป็นเครื่องมือที่มีบทบาทในการสร้างความสำเร็จให้กับสินค้าหรือบริการในแต่ละธุรกิจอย่างมาก ความสำเร็จของการสร้างตราสินค้านั้น ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ดังนั้น แนวคิดเกี่ยวกับตราสินค้า จึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำความเข้าใจ และอธิบายถึงคุณค่าของตราสินค้าในจิตใจของผู้บริโภค[iii]

ตราสินค้า (Brand) หมายถึง ส่วนประสมของหลาย ๆ สิ่งไม่ว่าจะเป็นชื่อ (Name) คำ (Trem) เครื่องหมาย (Sign) สัญลักษณ์ (Symbol) การออกแบบ (Design) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสินค้าหรือบริการที่ผู้ขายต้องการสร้างความเป็นตัวเองออกมาให้แตกต่างไปจากคู่แข่งขัน[iv]

ตราสินค้า คือ ชื่อ คำพูด สัญลักษณ์ หรือรูปลักษณ์ที่องค์กรสร้างขึ้นให้มีความแตกต่างจากคู่แข่ง ประกอบด้วย องค์ประกอบลักษณะภายนอกของสินค้า ที่ช่วยสร้างการจดจำ คุณประโยชน์ของสินค้า คุณค่าของสินค้า วัฒนธรรมของตราสินค้า บุคลิกภาพของสินค้า และผู้ใช้สินค้าซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก[v]

ตราสินค้า คือ สิ่งต่าง ๆ ที่สามารถระบุถึงสินค้าหรือบริการ เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนที่มีมูลค่าและมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในตลาด โดยจะส่งผลให้ลูกค้าเกิดความจงรักภักดี และสามารถเพิ่มมูลค่าต่อสิน้าหรือบริการ คุณค่าตราสินค้าเป็นผลกระทบทางการตลาดที่เกิดจากความมีลักษณะเฉพาะตัวของตราสินค้า และเป็นคุณค่าเพิ่ม (Value added) ที่ให้เข้าไปในผลิตภัณฑ์ ซึ่งตราสินค้าทำให้เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ จนทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้คุณค่า เกิดความพึงพอใจ ความชอบ ความมั่นใจในสินค้า และสามารถผลักดันให้ผู้บริโภคยอมที่จะเสียเงินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้านั้น ๆ อันจะนำไปสู่การเกิดผลกำแก่เจ้าของสินค้าในที่สุด โดยการศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าตราสินค้ามักจะเน้นไปในมุมมองของผู้บริโภคเป็นหลัก[vi]

แบรนด์หรือตราสินค้า เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคพิจารณาก่อนการตัดสินใจซื้อ โดยมีเหตุผลและอารมณ์ที่ทำให้เลือกหรือตัดสินใจซื้อมากกว่ายี่ห้ออื่น ๆ ซึ่งชื่อ สัญลักษณ์ การออกแบบ สามารถบ่งบอกสินค้าหรือบริการที่แสดงถึงความแตกต่างจากคู่แข่งได้[vii] โดยแบรนด์สถาบันการศึกษา โดยสรุปได้ว่า เป็นลักษณะภาพรวมสถาบันการศึกษา ซึ่งรวมถึงชื่อเสียง ภาพลักษณ์ การบริหารการจัดการ มีการวางตำแหน่งของแบรนด์สถาบันการศึกษาในตลาดการแข่งขัน มีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะเข้ามาศึกษาที่ชัดเจน และช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับสถาบันการศึกษา สามารถสร้างความแตกต่างจากสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ได้[viii]

ตราผลิตภัณฑ์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ ตราหรือยี่ห้อของสินค้าที่ผู้บริโภคมองเห็นที่กิจการจะแสดงถึงสินค้า (Product) หรือการบริการ (Service) ของผู้ขาย ให้ลูกค้ารับรู้ถึงความน่าเชื่อถือของตัวสินค้านั้น ๆ ได้[ix]

ตราสินค้า หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ และโลโก้ ของเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพตราสก๊อต[x]

ตราสินค้า (Brand) หมายถึง ผลรวมของทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ทั้งที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้ ทำให้ลูกค้าเกิดการรับรู้ ความรู้สึก และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้น ๆ เพื่อที่จะแยกความแตกต่างของสินค้านั้นออกจากสินค้าของคู่แข่ง[xi]

ชิสากัญญ์ ศุภวงค์ธนากานต์ (2557) ตราสินค้า คือ สิ่งที่เรียกสินค้าที่มีการสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดสนใจ และจดจำเพื่อสร้างความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นของคู่แข่งขัน[xii]


[i] รัชดา กาญจนคีรีธำรง. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอสของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

[ii] รัชดา กาญจนคีรีธำรง. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเอไอเอสของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

[iii] เจตวัฒน์ เกษมไชยานันท์. (2561). การรับรู้คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อน้ำแร่บรรจุขวด. ภาคนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

[iv] เจตวัฒน์ เกษมไชยานันท์. (2561). การรับรู้คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อน้ำแร่บรรจุขวด. ภาคนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

[v] ปนัดดา สุวรรณสุข. (2564). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าแบรนด์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

[vi] พิมพ์ลภัทร ศรีมณฑา. (2554). ภาพลักษณ์ตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OPC) ในเขตจังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี : วิทยาลัยราชพฤกษ์.

[vii] ธีรนัย เจริญพานิช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในแบรนด์สถาบันการศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

[viii] ธีรนัย เจริญพานิช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในแบรนด์สถาบันการศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

[ix] ณฐภศา เดชานุเบกษา, กุณฑีรา อาษาศรี, วุฒิพล ฉัตรจรัสกูล, นาวา มาสวนจิก และอมร โททำ. (2563). การพัฒนาคุณค่าตราผลิตภัณฑ์และการจัดการสีเขียวของกลุ่มวิสาหกิจข้าวอินทรีย์ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดมหาสารคามเพื่อยกระดับมูลค่าทางการตลาดอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

[x] พักต์รสุดา พัฒน์คุ้ม. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีในตราสินค้าสก็อต (SCOTCH). ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยราชมงคลพระนคร.

[xi] มยุรา อรุณเรืองศิริเลิศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในตราสินค้ารถยนต์. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[xii] ชิสากัญญ์ ศุภวงค์ธนาการนต์. (2557). การรับรู้ตราสินค้าอิชิตันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานพินธ์บริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *