การใช้สีเพื่อจำแนกสถานภาพของบุคคล

คตินิยมในการเขียนภาพจิตรกรรมไทยโดยทั่วไป มีลักษณะรูปแบบเป็นภาพสัญลักษณ์นิยมนี้ ปรากฏอย่างชัดเจนกับภาพประเภทบุคคล คือ การกำหนดรูปแบบบุคคลต่าง ๆ ในภาพให้สัมพันธ์กับคติที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนเป็นคตินิยม (Mythology) ในที่สุด เช่น การกำหนดว่า พระนายรายณ์มี 4 กร พระอินทร์กายสีเขียว หนุมานเป็นลิงสีเขียว (เผือก) เป็นต้น

จากลักษณะดังกล่าวนั้นเป็นที่สังเกตได้ว่า ในภาพจิตรกรรมไทยได้ใช้สีกำหนดฐานะและความสำคัญของรูปแบบให้แตกต่างกันออกไป ลำดับของสีที่ปรากฏบนพื้นผิวของรูปแบบบุคคล อาจจะลำดับฐานะและความสำคัญแห่งรูปแบบบุคคลได้โดยสรุป ดังนี้

  1. ผิวสีทอง เป็นผิวสีเนื้อ ภาพพระพุทธเจ้า
  2. ผิวสีขาว เป็นผิวเนื้อ ภาพบุคคลที่มีฐานะเป็นท้าวพระยาหมากษัตริย์
  3. ผิวสีขาวนาล เป็นผิวเนื้อ ภาพบุคคลประเภทที่มีฐานะบุคคลชั้นสูง
  4. ผิวสีดินตัดหรือสีน้ำตาลอ่อน เป็นผิวเนื้อ ภาพบุคคลประเภทไพร่พล หรือสามัญชน
  5. ผิวสีคล้ำหรือสีหมึก เป็นผิวเนื้อภาพคนประเภท “กาก” หรือคนเลว คนชั่ว

ความเชื่อเรื่องสีในศิลปะแขนงต่าง ๆ

ในการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนมีการใช้สีที่สอดคล้องกับเรื่องราวในเรื่องตลอดตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ มีการจัดวางโครงสีวัตถุประสงค์การใช้โทนสีหรือควบคุมสี หนังจะแสดงอารมณ์ในแต่ละช่วงไปพร้อมกับความรู้สึกของสีเช่นกัน เช่น โทนสีเขียว เหลือง ดำและม่วง เป็นตัวแทนความชั่วร้าย โทนสีจะค่อย ๆ ผ่อนคลายลงเป็นตอน ๆ จนกระทั่งใกล้จบเป็นสีน้ำเงินเข้ม เปลี่ยนมาเป็นสีชมพูและสีฟ้าอ่อน ๆ การเปลี่ยนลักษณะนี้สื่อให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งดำมืดทุกข์ โศก มาเป็นความสดใสสว่างมีความสุข ทำให้เกิดมีอารมณ์คล้อยตามความเชื่อไปกับภาพยนตร์จากการนำโทนสีมาใช้เป็นช่วงเป็นตอนของหนังตลอดทั้งเรื่อง (3d world) ในภาพยนตร์การ์ตูนสียังสามารถบอกอารมณ์ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น เมื่อเราเห็นสีสดใส จิตใจของเราก็พลอยสดใสไปด้วย ในขณะที่เห็นสีดำมืด เราก็อาจรู้สึกเหงา เศร้า ซึมไปด้วยเช่นกันการกำหนดสีในภาพยนตร์การ์ตูนมักเกิดจากการตีความของเรื่อง เช่น ในฉากรักอาจใช้สีที่ดูนุ่มนวล อ่อนหวาน สบายตา ในฉากสนุกสนานอาจใช้สีที่สดใส แพรวพราว ในแกต่อสู้อาจใช้สีโทนร้อน จัดจ้านรุนแรง ในฉากน่ากลัวอาจใช้สีออกไปในทางมืดทึม หรือฉากต่อสู้อาจใช้สีโทนร้อน จัดจ้านรุนแรง ในฉากน่ากลัวอาจใช้สีออกไปในทางมืดทึม หรือฉากที่ต้องการความยิ่งใหญ่อลังการ อาจใช้สีที่สว่างเรืองรอง เป็นต้น

การออกแบบโปสเตอร์ เพื่อจุดประสงค์ประชาสัมพันธ์หรือประโยชน์ทางโฆษณาสินค้า ต้องมีการใช้สีสัน ที่สื่อถึงเหตุการณ์บ่งบอกอารมณ์ความรุนแรง หรือความสุขสรรต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลทางโฆษณาสินค้าหรือประชาสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งด้วยการดึงดูดผู้คนที่ผ่านไปมาให้เกิดความสนใจด้วย การใช้สีที่ตัดกัน สีกลมกลืนกัน สื่อถึงอารมณ์ร่วมให้เกิดผลคล้อยตามความเชื่อในเนื้อหาของโปสเตอร์ชิ้นนั้นเป็นต้น ได้มีผู้แบ่งบุคลิกภาพของสีดังต่อไปนี้สำหรับการพิจารณานำไปใช้ในโอกาสทำงานออกแบบต่าง ๆ

ในงานศิลปะมีงานหลายแขนงที่ทำขึ้นมาจากมือของมนุษย์ เช่น

  • ของชำร่วย ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง ของตอบแทนผู้มาช่วยงาน เช่น งานแต่ง งานศพ
  • การผลิตของชำร่วยในไทยมีการทำกันมาตั้งแต่อดีต แต่ในอดีตเป็นการทำขึ้นเพื่อเป็นของขวัญให้กับคนสนิท หรือคนคุ้นเคยกัน และมีวิวัฒนาการมาจนถึงการให้เป็นของที่ระลึกในงานต่าง ๆ ในปัจจุบัน
  • การผลิตของชำร่วยมีการคิดค้นวิธีการผลิตให้แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับตลาดของสินค้านั้น และงานพิธีที่จะใช้ซึ่งจะมีสีมาเกี่ยวข้องด้วยทั้งนั้น เช่น ในงานแต่งงาน การใช้เหรียญสีเงิน กับสีทองเป็นของชำร่วย บอกถึงการขอให้คู่บ่าวสาวและแขกผู้มาในงาน ความเจริญรุ่งเรือง

ในปัจจุบันของชำร่วย หรือของที่ระลึกมีการทำกันอย่างกว้างขวางถึงขั้นส่งของไปยังต่างประเทศ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เช่น ของชำร่วยประเภทผ้าไทยต่าง ๆ หรือของชำร่วยที่เป็นพวงมาลัยจากแป้ง และดินชนิดต่าง ๆ เป็นต้น  

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *