การนำสีมาใช้กับภาชนะ

การนำสีมาใช้กับภาชนะ

“ภาชนะ” ความหมายตามพจนานุกรมบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง เครื่องใช้จำพวก ถ้วย ชาม แก้ว หม้อ ไห เป็นต้น สำหรับใส่สิ่งของ ในสมัยโบราณภาชนะใส่อาหารมักจะทำมาจากผลผลิตจากต้นไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ต้นมะพร้าว โดยการใช้กะลามะพร้าวมาทำเป็นชามใส่อาหาร หรือภาชนะตักน้ำ และมีการพัฒนามาทำภาชนะบรรจุสิ่งของประเภทเครื่องปั้นดินเผา ในยุคแรก ๆ ยังไม่มีการใช้สีมาตกแต่งภาชนะ สีที่ได้จะเป็นสีที่มาจากวัสดุที่ใช้ทำ แต่เมื่อเรามีการค้าขายกับชาวต่างชาติ ทำให้คนไทยได้เห็นภาชนะที่มีสีสวยงาม จึงมีการคิดค้นที่จะใช้สีมาใช้ให้ภาชนะที่ทำเกิดความสวยงาม การตกแต่งภาชนะดังกล่าวมีด้วยกันหลายวิธี คือ

1. การตกแต่งด้วยลายเขียนสี

การตกแต่งด้วยลายเขียนสีเป็นเทคนิคที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ส่วนลวดลายเขียนสีก็ขึ้นอยู่กับความนิยมของแต่ละท้องถิ่น แต่ละสมัย เช่น

ลายเขียนสีแดงบนพื้นสีนวล ใช้กับภานะประเภทเนื้อบาง

ลายเขียนสีดำบนพื้นสีน้ำตาล ใช้กับภาชนะประเภทเนื้อหยาบ

ลายเขียนสีน้ำตาลบนพื้นสีนวล ใช้กับภาชนะประเภทเนื้อหนาหยาบ

2. การตกแต่งด้วยการทาน้ำมันดิน

การตกแต่งด้วยการทาน้ำมันดิน เป็นเทคนิคการตกแต่งที่ทำให้ผิวภาชนะเรียบและสดขึ้น สีที่นิยมใช้ ได้แก่ สีแดง ใช้กับภาชนะอ่างเนื้อบาง และสีส้มใช้กับภาชนะทั้งอ่างเนื้อบางและอ่างเนื้อหนา

สีเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งภาชนะให้สวยงาม และยังเชิดชูให้ภาชนะดูมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สีก็สามารถทำลายภาชนะชิ้นนั้นได้เหมือนกัน เพราะสีเป็นตัวบ่งบอกว่า ภาชนะชิ้นหนึ่ง เกิดความรู้สึกสง่างามและเข้มแข็ง แต่กลับใช้สีที่อ่อนหวานหรือหมองมัว อาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ขัดแย้งกันดูขาดเอกภาพไป สิ่งที่ทำให้ภาชนะโดยเฉพาะสีภาชนะประเภทเครื่องปั้นดินเผา ควรแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่ทำให้เกิดขึ้น โดยสื่อความให้ตรงกับความคิดรวบยอดของผลงานชิ้นนั้น เพื่อส่งผลให้ผลงานชิ้นนั้น ๆ ออกมาอย่างมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

นอกจากเครื่องปั้นดินเผาแล้วยังมีภาชนะประเภทแก้วที่มีการแบ่งชนิดของแก้วตามสีของธาตุประกอบต่าง ๆ ของแก้ว ดังนี้

  1. กลุ่มแก้วที่มีโปรแตสเซียมสูง พบในแก้วทุกสี คือ สีฟ้า สีน้ำเงิน สีเขียวและสีแดง
  2. แก้วโซดา พบในแก้วสีแดงและเขียว แต่จะมีสีแดงมากกว่า
  3. แก้วอลูมิน่า ได้แก่ แก้วสีฟ้า
  4. แก้ว Mixed akali ได้แก่ แก้วสีแดง

แก้วที่ใช้ในปัจจุบันได้มีการใช้สีมาตกแต่งให้เกิดความสวยงามหลายอย่างด้วยกัน เช่น การผลิตแก้วสีแดงของเนสกาแฟ เพื่อแสดงถึงความรัก ความห่วงใย เป็นต้น

จากอดีตจนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ทุกชาติ ทุกภาษา มีความพยายามที่จะทำภาชนะในการใส่สิ่งของหรืออาหารที่มีรูปแบบหลากหลายด้วยกัน และมีการตกแต่งให้สวยงามขึ้น โดยการใช้สีที่ได้จากธรรมชาติ และสีจากการสังเคราะห์ มาตกแต่งให้ภาชนะดูน่าใช้ยิ่งขึ้นโดยเฉพาะ สีของภาชนะยังสามารถดึงดูดให้คนสนใจที่จะซื้ออาหารชิ้นนั้นอีกด้วย เช่น การที่เด็กสนใจอาหารที่อยู่ในจานมีสีสันสวยงามมากกว่าที่จะเลือกอาหารที่อยู่ในจานธรรมดาไม่มีสี เป็นต้น

จิตวิทยาความเชื่อเรื่องการใช้สีในชีวิตประจำวัน

  • น้ำเงิน ทาไว้ตามสะพานไฟฟ้า เครื่องทุ่นแรง และเครื่องจักรที่กำลังซ่อม
  • สีชมพู ใช้กับห้องนั่งเล่นที่ต้องการความสนุกสนานร่าเริง
  • สีแดง ใช้กับเรื่องของไฟ ไฟไหม้ อันตราย การเตือนให้ระวังอันตราย หยุด หรือห้ามเข้าไป เมื่อใช้ในไฟสัญญาณจราจรตามสี่แยกหรือห้ามข้ามถนน
  • สีขาว ใช้กับไฟสัญญาณจราจรตามทางข้ามซึ่งเป็นสี่แยก มีความหมายว่า ปลอดภัยหรือข้ามได้
  • สีเหลือง ใช้เตือนภัย เตือนอันตราย เพื่อให้เกิดความระมัดระวัง ในการจราจร การเดินทาง การข้ามถนน เตือนภัยจากการใช้เครื่องจักรกล
  • สีส้ม ใช้การเตือนระวังอันตราย ห้ามเข้าไปในที่นั้น ๆ เพราะเป็นที่อันตราย
  • สีเขียว เป็นเครื่องหมายแสดงความปลอดภัย มักทาไว้ตามตู้ยา ตู้เก็บเครื่องปฐม
  • สีม่วง ทาไว้ในที่ซึ่งระวังรังสีปรมาณู

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *