พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ โรคจิต วิกลจริต

พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ หมายถึง การที่มีความพึงพอใจทางเพศกับบุคคลที่มีเพศเดียวกับตน โดยเฉพาะเพียงอย่างเดียวหรือเป็นส่วนใหญ่โดยอาจจะมีหรือไม่มีความสัมพันธ์ทางกายต่อกันก็ได้ และการที่จะวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นรักร่วมเพศนั้น ไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่า เป็นความผิดปกติทางจิตหรือไม่ ซึ่งพฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่แตกต่าง เปลี่ยนแปลงไปได้ตามเวลา สถานที่ และสภาพแวดล้อมทางสังคม พฤติกรรมเบี่ยงเบนยังเป็นเรื่องของจิตใจซึ่งขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานที่สังคมยึดถืออยู่ในขณะนั้น

การเบี่ยงเบนทางเพศเป็นความผิดปกติในคนที่มีความรู้สึกทางเพศ ทัศนคติ ตลอดจนพฤติกรรมทางเพศที่แสดงออกไม่เหมาะสม แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคม มักมีสาเหตุจากสภาพจิตใจที่ผิดปกติทำให้เขาไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ แต่มิได้หมายความว่า “เป็นโรคจิตหรือวิกลจริต” เป็นเพียงความผิดปกติทางจิตเวช พวกบุคลิกภาพผิดปกติเท่านั้น ความผิดปกติทางเพศมีหลายชนิด สรุปได้ดังนี้

  1. พฤติกรรมเบี่ยงเบน เป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้ไม่ใช่มีมาแต่กำเนิด หรือเป็นการสืบทอดทางพันธุกรรม
  2. พฤติกรรมเบี่ยงเบน เป็นการเรียนรู้จากการปฏิสังสรรค์กับบุคคลอื่นในกระบวนการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ
  3. หลักสำคัญของการเรียนรู้ที่จะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนนั้น จะเกิดขึ้นภายในกลุ่มที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกัน และบุคคลเกิดการเลียนแบบ
  4. เมื่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนถูกเรียนรู้ การเรียนรู้จะประกอบด้วยวิธีการในการเบี่ยงเบน ซึ่งในบางครั้งก็มีความซับซ้อน แต่ในบางครั้งก็มีความง่ายดาย และทิศทางที่เฉพาะเจาะจงของแรงจูงใจ แรงขับ การให้เหตุผลเข้าข้างตัวเอง และทัศนคติต่อการเบี่ยงเบน
  5. ทิศทางของแรงจูงใจและแรงขับจะถูกเรียนรู้จากการนิยาม กฎ ระเบียบในลักษณะของการนิยามว่าน่าพึงพอใจหรือไม่น่าพึงพอใจ
  6. บุคคลจะกลายเป็นผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนได้ เพราะยึดถือนิยามที่เอื้อหรือส่งระเบียบ
  7. การคบหาสมาคมที่แตกต่างกันออกไปในเรื่องของความถี่ ระยะเวลาลำดับก่อน – หลัง และความเข้มข้นของความสัมพันธ์
  8. กระบวนการของการเรียนรู้พฤติกรรมเบี่ยงเบน โดยการสมาคมกับผู้ที่เบี่ยงเบน หรือผู้ที่ต่อต้านเป็นการเชื่อมโยงถึงกลไกต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ ด้วยกล่าวคือ การเรียนรู้พฤติกรรมเบี่ยงเบนไม่จำกัดอยู่เพียงกระบวนการของการเลียนแบบเท่านั้น บุคคลที่ถูกล่อลวง หรือถูกชักชวนก็อาจจะเรียนรู้พฤติกรรมเบี่ยงเบนได้ โดยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมนั้น ๆ ซึ่งกระบวนการเช่นนี้ไม่ได้ถือว่า เป็นการเลียนแบบอย่างธรรมดาสามัญโดยทั่วไป
  9. พฤติกรรมเบี่ยงเบนนั้นเป็นการแสดงออกถึงความต้องการ และค่านิยมโดยทั่ว ๆ ไปแต่จะอธิบายว่า คนที่เบี่ยงเบนเพราะมีความต้องการและมีค่านิยมโดยทั่ว ๆ ไปนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะพฤติกรรมที่ไม่เบี่ยงเบนก็แสดงออกถึงความต้องการและค่านิยมแบบเดียวกัน เช่น ขโมยที่ลักขโมย (เบี่ยงเบน) ก็เพื่อต้องการที่จะได้เงินมาแต่คนที่ซื่อสัตย์ (เบี่ยงเบน) ก็ต้องการเงินเหมือนกัน

นักสังคมวิทยาโรเบิร์ต เค.เมอร์ตัน ได้นำแนวคิดภาระไร้บรรทัดฐานมาอธิบายการเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน โดยจำแนกปัจจัยที่นำไปสู่การมีพฤติกรรมที่ไม่เบี่ยงเบนเป็น 2 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมที่ยึดแนวบรรทัดฐานหรือไม่ กับด้านค่านิยมที่ยึดตามเป้าหมายของสังคมหรือไม่ โดยได้อธิบายว่า พฤติกรรมเบี่ยงเบนของบุคคลเกิดจากภาวะไร้บรรทัดฐาน ซึ่งเป็นภาวะที่บุคคลไม่สามารถใช้วิธีการ หรือกรอบบรรทัดฐานในการปฏิบัติที่สังคมให้มานำไปสู่เป้าหมายตามค่านิยมของสังคมได้ และเมอร์ตันได้จำแนกพฤติกรรมของบุคคลโดยใช้เป้าหมาย และวิธีการเป็นตัวจำแนก ได้เป็น 5 แบบ

  1. พวกคล้อยตาม (Conformist) พวกนี้จะปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่สังคมกำหนดเพื่อไปสู่เป้าหมายของพวกเขาก็เป็นสิ่งที่ยอมรับกันในสังคม ความร่ำรวย ความมีหน้ามีตา ความมีอำนาจ เป็นต้น เช่น ถ้าเป้าหมายของเขา คือ ความร่ำรวย เขาก็จะพยายามทำมาหากินในสัมมาชีพเพื่อให้ได้เงินมาเพื่อสร้างฐานะของตัวเขาเอง
  2. พวกแหวกแนว (Innovator) พวกนี้จะไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม แต่จะมีเป้าหมายในชีวิตสอดคล้องกับสังคม เช่น ความร่ำรวย อำนาจ เป็นต้น ตัวอย่างของพวกแหวกแนว เช่น ถ้าเป้าหมายในชีวิตของเขา คือ ความร่ำรวย เขาก็จะพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ได้เงินมา โดยเฉพาะทางที่ไม่ถูกกฎหมายแต่ได้เงินมาก เป็นต้น
  3. พวกเจ้าระเบียบ (Ritualist) พวกเจ้าระเบียบจะปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม หรือบางครั้งจะเคร่งครัดในบรรทัดฐานของสังคมอย่างมาก แต่ไม่สนใจเป้าหมายของชีวิตเช่นคนอื่น ๆ เช่น ความร่ำรวย ความก้าวหน้า ตัวอย่างเช่น ข้าราชการที่ทำงานเน้นกฎระเบียบอย่างละเอียดยิบ โดยไม่สนใจว่า มีความจำเป็นหรือไม่จนสร้างความวุ่นวายล่าช้าในการดำเนินการให้แก่ระบบราชการ หรือข้าราชการที่มุ่งทำงานโดยเน้นกฎระเบียบเป็นหลัก แต่ไม่สนใจความก้าวหน้าที่การงานของตัวเอง เป็นต้น
  4. พวกหนีโลก (Retreatist) พวกหนีโลกเป็นพวกที่ไม่มีเป้าหมายในชีวิต ไม่สนใจบรรทัดฐานของสังคม เป็นพวกที่ทุกข์ตรมและอาจทำร้ายตัวเองหรือคนอื่นได้ ตัวอย่างเช่น พวกติดยาเสพติด ติดสุรา เป็นต้น
  5. พวกกบฏ (Rebel) พวกกบฏเป็นพวกที่ปฏิเสธเป้าหมายและวิธีการบรรลุสู่เป้าหมายของสังคมทั้งหมดพวกนี้จะพยายามสร้างเป้าหมายและแบบแผนสังคมขึ้นใหม่ กลุ่มนี้มีทั้งที่เป็นคุณและโทษต่อสังคม ตัวอย่างเช่น พวกนักปฏิวัติ เป็นต้น

การเบี่ยงเบนทางเพศ มี 4 ลักษณะ คือ

  1. พวกที่เบี่ยงเบนทางเพศ แบ่งกลุ่มคนประเภทนี้ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    1. การรักร่วมเพศ พวกที่มีความรักใคร่เพศเดียวกัน
    2. ลักเพศ เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการได้รับความตื่นเต้นหรือความสุขทางอารมณ์หรือทางเพศ โดยการแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของเพศตรงข้าม คนพวกนี้ส่วนใหญ่จะพอใจเฉพาะการแต่งตัวเป็นเพศตรงข้ามและไม่ต้องการแปลงเพศ แต่มีบางคนประพฤติร่วมเพศและความสุขในครอบครัวได้โดยเฉพาะถ้าคู่สมรสของเขาเข้าใจและให้ความร่วมมือ
    3. ปฏิเสธเพศ เป็นความผิดปกติทางเพศ เนื่องจาก มีความเชื่อว่า เพศที่ปรากฏทางร่างกายของตนไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดความต้องการที่จะผ่าตัดเปลี่ยนเพศ หรือไม่ก็พยายามซ่อนเพศทางร่างกายของตนไว้ โดยการแต่งกายหรือประพฤติแบบเพศตรงข้าม ส่วนใหญ่ของคนที่มีปัญหานี้คือ ผู้ชาย
  2. พวกที่เบี่ยงเบนในการเลือกคู่ร่วมเพศ เช่น เลือกวัตถุ ส่วนของร่างกาย หรือบุคคลโดยแบ่งกลุ่มคนประเภทนี้ออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่
    1. การรักร่วมเพศ คือ ภาวะที่คนมีความสุขกับเพศเดียวกันกับตนเอง
    2. การมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก แปลตามตัวหนังสือว่า การรักเด็ก แต่โดยทั่วไปหมายถึง การที่ผู้ใหญ่มีความสุขทางเพศจากการมีสัมพันธ์ทางเพศกับเด็กเพศเดียวกันหรือเพศตรงข้ามที่ยังไม่ถึงวัยแตกหนุ่มแตกสาว
    3. การสมสู่ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ บางครั้งเรียกว่า Zoophilia เป็นความพอใจในทางเพศจากการมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ ซึ่งอาจเป็นการร่วมเพศตามปกติ การร่วมเพศทางทวารหนัก
    4. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ เป็นความผิดปกติทางเพศซึ่งคนอายุน้อยมีความสนใจทางเพศกับคนแก่ ความผิดปกตินี้อาจเป็นผลมาจากความผูกพันทางอารมณ์กับปู่ ย่า ตา ยาย กล่าวคือ คนที่มีแนวโน้มจะเป็น gerontophilia มักจะมีความรักต่อคนแก่เป็นพิเศษ อันอาจเกิดจากการมีบิดา มารดา เป็นคนสูงอายุ
    5. การมีเพศสัมพันธ์กับศพ ความสุขทางเพศเกิดจากการดูศพหรือรักร่วมเพศกับศพ บางครั้งจะมีการตัดศพเป็นชิ้นด้วย เป็นความผิดปกติทางเพศที่พบได้น้อยมาก แต่แสดงถึงความผิดปกติทางจิตอย่างรุนแรงถึงขนาดโรคจิต
    6. การมีเพศสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของ เป็นความผิดปกติทางเพศซึ่งสิ่งที่เป็นความต้องการทางเพศของคนผู้นั้น กลายเป็นวัตถุหรือส่วนของร่างกาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางเพศแทนที่จะเป็นคน เช่น เป็นชุดชั้นใน หมวก รองเท้า (โดยเฉพาะรองเท้าส้นสูง) หรือถุงมือ ผม มือ ต้นขา เท้า หู หรือตาวัตถุหรือส่วนของร่างกายเหล่านี้จะให้ความสุขโดยการ จับ จ้อง มอง
    7. การมีเพศสัมพันธ์กับพี่น้องสายเลือดเดียวกัน คือ การร่วมเพศระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับทางสายเลือด ซึ่งกฎหมายห้ามไว้ สถาบันทางกฎหมายหลายแห่งยังรวมไปถึงการรักร่วมเพศกับเด็ก ซึ่งตนขอมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมด้วย
  3. พวกที่เบี่ยงเบนในวิธีปฏิบัติทางเพศ แบ่งกลุ่มนี้ออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่
    1. ความวิปริตที่มีความสุขใจเมื่อผู้อื่นทรมาน แยกออกมาเป็น 2 ชนิด
      1. ความวิปริตทางเพศ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความพอใจทางเพศจากการทำให้ผู้ร่วมเพศเจ็บปวดทางร่างกายหรือจิตใจ
      2. กามวิตถาร หมายถึง การมีความสุขหรือมีความพอใจทางเพศจากการถูกคู่ร่วมเพศทำให้เจ็บปวด จะโดยทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้
    2. ชอบอวดอวัยวะเพศ คือ การมีความสุขทางเพศจากการโอ้อวดอวัยวะเพศของตนต่อผู้อื่นซึ่งเป็นคนแปลกหน้า และไม่เต็มใจจะดู
    3. ถ้ำมอง คือ การมีความสุขทางเพศจากการได้แอบดูคนอื่นเปลือยหรือร่วมเพศกัน
    4. การสังวาสของผู้อื่น หมายถึง การมีความสุขทางเพศจากการดูอวัยวะเพศของผู้อื่นหรือดูการร่วมเพศของผู้อื่น
    5. การร่วมเพศทางทวารหนัก หมายถึง การมีความสุขทางเพศกับบุคคลเพศเดียวกัน
    6. เบียดเสียดถูไถ หมายถึง การมีความสุขทางเพศจากการถูหรือกดอวัยวะเพศกับส่วนของร่างกายของเพศตรงข้ามซึ่งมีเสื้อผ้าปกปิดอยู่ การกระทำนี้อาจไม่เป็นที่สังเกตเพราะมักทำให้ที่ที่มีคนหนาแน่น เช่น ในรถประจำทางหรือในงานที่คนเบียดเสียดยัดเยียดกัน
  4. พวกที่เบี่ยงเบนในปริมาณและความรุนแรงของความต้องการทางเพศ แบ่งกลุ่มประเภทนี้ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    1. ความต้องการทางเพศสูง คือ สภาวะที่มีความต้องการร่วมเพศมากผิดปกติในผู้หญิงเรียกว่า nymphomania และผู้ชายเรียกว่า satyriasis ผู้ผิดปกติมักสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองบ่อย ๆ อย่างยับยั้งใจไม่ได้ด้วย
    2. ความส่ำส่อน หมายถึง การร่วมเพศแบบไม่เลือกบุคคล
    3. การข่มขืน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *