พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ

พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ได้แก่ นักเรียนชายชอบแสดงพฤติกรรมออกเป็นหญิง หรือหญิงแสดงพฤติกรรมมาเป็นชาย เช่น เขียนคิ้ว ทาปาก การแต่งกายแบบชาย โดยเฉพาะในช่วงวันสำคัญที่โรงเรียนเปิดโอกาสให้พฤติกรรมดังกล่าวจะไม่แสดงออกในระดับชั้นเล็ก ๆ แต่จะเริ่มแสดงออกในช่วงชั้นที่ 2 (ป. 4 – 6) ชอบเข้าห้องน้ำหญิง ท่าทางกระตุ้งกระติ้ง พฤติกรรมเบี่ยงเบนดังกล่าวเป็นที่ยอมรับ เพราะไม่มีผลกระทบต่อใครหรือมีผลกระทบน้อยมาก กรณีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ พบว่า มีสาเหตุจากพี่น้องและคนในครอบครัวเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายทั้งหมด มีลูกชายคนเดียว ลูกสาวคนเดียว หรือลูกถูกทอดทิ้งอยู่ตามลำพัง เด็กขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ญาติ พี่ น้องมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ เช่น น้าหรืออา สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง คือ จิตใจในด้านความเชื่อมั่นและการยอมรับตนเอง และผลจากการเลี้ยงดูของครอบครัว ซึ่งพฤติกรรมเบี่ยงเบน แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ ความหมายในลักษณะตายตัว ความหมายเชิงสถิติ ความหมายเชิงตราประทับ และความหมายในเชิงสัมพัทธ์

ความหมายในลักษณะตายตัว หมายถึง “พฤติกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม” โดยพิจารณาว่า การเบี่ยงเบนหรือแปรปรวนออกจากบรรทัดฐานของสังคม โดยถือว่า วิถีทางใดก็ตามที่คนส่วนใหญ่กระทำ คือ วิถีทางที่ถูกต้อง

ความหมายเชิงสถิติ เป็นการให้ความหมายของพฤติกรรมเบี่ยงเบน โดยพิจารณาว่า เป็นการเบี่ยงเบนหรือแปรปรวนออกจากบรรทัดฐานของสังคมโดยเฉลี่ยของพฤติกรรม โดยถือว่า วิถีทางใดก็ตามที่คนส่วนใหญ่กระทำ คือ วิถีทางที่ถูกต้อง

ความหมายในเชิงตราประทับ เป็นการให้ความหมายโดยยึดถือผลของการใช้กฎเกณฑ์และบทลงโทษของผู้อื่นต่อผู้ “ละเมิด” ซึ่งถูกประทับตราว่า เป็น “ผู้เบี่ยงเบน” ด้ำสำเร็จ พฤติกรรมเบี่ยงเบนก็คือ “พฤติกรรมที่ถูกประทับตราว่า เป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนโดยหน่วยควบคุมทางสังคมอย่างเป็นทางการ มีปฏิกิริยาต่อพฤติกรรมนั้น ๆ ในฐานะที่เป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน” สาระสำคัญของความหมายนี้ ไม่ได้อยู่ที่การละเมิดบรรทัดฐาน แต่เป็นการประทับตราให้กับการละเมิดนั้น ๆ ดังนั้น พฤติกรรมใด ๆ จะไม่ถือว่า เป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนนอกเสียจากว่า คนอื่นค้นพบและมีปฏิกิริยาบางประการต่อพฤติกรรมนั้น

ความหมายในเชิงสัมพันธ์ เป็นการให้ความหมายโดยพิจารณาพฤติกรรมเบี่ยงเบนในแง่ความแปรปรวนและสัมพันธภาพในชีวิตสังคมปัจจุบัน โดยตัดสินจากการพิจารณาของกลุ่มในสังคมว่า กลุ่มใดถือว่า “เบี่ยงเบน” กลุ่มใดไม่ถือว่า เป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน ดังนั้น พฤติกรรมเบี่ยงเบนจึงเป็นเป็นสถานการณ์ที่ก่อขึ้นโดยกลุ่มคนในสังคม ซึ่งเป็นผู้สร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาและได้ทำการลงโทษพฤติกรรมบางชนิด การกระทำโดยตัวของมันเองไม่ได้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมหรือผิดศีลธรรม เบี่ยงเบน หรือไม่เบี่ยงเบน การประเมินตัดสินของกลุ่มต่อพฤติกรรมหนึ่ง ๆ ไม่ใช่ตัวพฤติกรรมเองที่เป็นตัวกำหนดและให้นิยามการเบี่ยงเบน ดังนั้น ตัวแปรที่สำคัญในการพิจารณาความเบี่ยงเบนก็คือ ผู้อื่น เนื่องจาก เขาเหล่านี้เองที่เป็นผู้ตัดสินว่า การกระทำที่เป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน

ดังนั้น พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ จึงหมายถึง การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีความสุข มีความพอใจทางเพศ รู้สึกตื่นเต้น พร้อมทั้งมีอารมณ์ตอบสนอง เมื่อมีแรงกระตุ้นทางเพศจากบุคคลเพศเดียวกัน โดยอาจแสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์จริง หรือเป็นเพียงจินตนาการก็ได้ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวต้องเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานจนเป็นนิสัย ส่วนแรงกระตุ้นเชิงรักต่างเพศจะอยู่เพียงเล็กน้อย หรืออาจไม่มีเลย ทั้งนี้ ไม่ถือว่า เป็นการเจ็บป่วยแต่อย่างใด

พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศเป็นพฤติกรรมของบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานหรือแปรปรวนออกจากบรรทัดฐาน พฤติกรรมเบี่ยงเบนจึงเป็นสถานการณ์ที่ก่อขึ้นโดยกลุ่มคนในสังคม ซึ่งเป็นผู้สร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาและได้ทำการลงโทษพฤติกรรมบางชนิด การกระทำโดยตัวของมันเองไม่ได้ถูกต้องทำนองคลองธรรมหรือผิดศีลธรรม การประเมินตัดสินของกลุ่มพฤติกรรมหนึ่ง ๆ ไม่ใช่ตัวพฤติกรรมเองที่เป็นตัวกำหนดและให้นิยามการเบี่ยงเบนพฤติกรรมเบี่ยงเบนไม่มีกฎที่เป็นสากลหรือตายตัว และแตกต่างกันออกไปตามสถานการณ์ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวต้องเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานจนเป็นนิสัย ส่วนแรงกระตุ้นเชิงรักต่างเพศจะมีอยู่เพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่มีเลย ทั้งนี้ไม่ถือว่า พฤติกรรมนี้เป็นการเจ็บป่วยแต่อย่างใด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *