แนวคิดเกี่ยวกับสังคมออนไลน์ แอพพลิเคชั่นออนไลน์ Shopee Instagram PayPal

แอพพลิเคชั่น Shopee หมายถึง ตลาดซื้อขายแบบโซเชียลที่มุ่งเน้นการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถืออันดับแรก (Mobile First) เพื่อให้ทุกคนสามารถเลือกดูและซื้อขายได้อย่างสะดวก[i]

สังคมออนไลน์ (Social Media) หมายถึง เป็นเว็บไซต์ที่ทำงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยมีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสารเล่าประสบการณ์ เรื่องราว รูปภาพ หรือวิดีโอ แล้วนำแบ่งผันให้ผู้อื่นซึ่งอยู่บนเครือข่ายของตน[ii]

อินสตาแกรม (Instagram) หมายถึง โปรแกรมที่สามารถนำรูปที่ถ่าย หรือวิดีโอมาตกแต่งให้สวยงามด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ในอินสตาแกรม หลังจากนั้นสามารถนำรูปภาพไปแบ่งปันให้ผู้ใช้งานท่านอื่นได้ดู และสามารถกดแสดงความชื่นชอบ หรือแสดงความคิดเห็น และในทางกลับกันเราก็สามารถเปิดดูแสดงความชื่นชอบและแสดงความคิดเห็นในรูปหรือวิดีโอของผู้ใช้ท่านอื่นได้ด้วยเช่นเดียวกัน[iii]

Pay Pal หมายถึง ธนาคารออนไลน์ ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง คอยรับ – สิ่งเงินออนไลน์จากผู้ใช้ทั่วโลกที่นำบัญชีธนาคารของตัวเองไปผูกไว้กับบัญชี PayPal นอกจากนี้แล้วล่าสุด PayPal ยังเปิดช่องทางใหม่ให้ผู้ใช้สามารถรับเงินจากคนที่ไม่ใช่ผู้ใช้ PayPal แต่มีบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตได้ด้วย ซึ่งนับว่า สะดวกมาก ๆ สำหรับคนขายของออนไลน์ ที่อยากรับเงินค่าสินค้าด้วยการชำระผ่านบัตรเครดิต/เดบิตจากลูกค้า[iv]

E – Marketplace หมายถึง E – Marketplace หรือ Electronic Marketplace คือ เว็บไซต์สื่อกลางการติดต่อซื้อ – ขาย ที่รวบรวมสินค้าและร้านค้าหรือบริษัท จำนวนมาก โดยรูปแบบของ E – Marketplace จะเป็นการบริการในรูปแบบของเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการโดยเราสามารถนำข้อมูลธุรกิจและข้อมูลสินค้าไปใส่ไว้ใน E – Marketplace เหล่านั้น ได้ในรูปแบบของการสร้างเว็บไซต์แค็ตตาล๊อกสินค้า และส่วนใหญ่ในเว็บไซต์เหล่านี้จะเป็นแหล่งที่มีคนเข้ามา หาข้อมูลสินค้า อยู่เป็นประจำมากมายในแต่ละวัน เหมือนกับตลาดนัด แต่เป็นตลาดนัดออนไลน์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสการเจอลูกค้าจากทั่วโลก การได้ออเดอร์สินค้าจากต่างประเทศได้โดยไม่ยาก ทำให้กิจกรรมทางการตลาดกระบวนการซื้อ – ขาย สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น[v]

E – Commerce การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E – Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจโดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่น อาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้นรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้น ข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป[vi]

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E – Commerce) หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า / บริการ การชำระเงิน ในส่วนของการสั่งสินค้าเข้ามาผ่านทางแอพพลิเคชั่น LAZADA ก็จะสามารถทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านทางออนไลน์ได้ทันที[vii]

Digital Marketing คือ การทำตลาดรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้หลักการของ Marketing พร้อมนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วย เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคหรือลูกค้ามากยิ่งขึ้น เพราะการทำการตลาดจะไม่หยุดแค่ที่โลก Offline อีกต่อไป โดยทุกวันนี้การสื่อสารกับลูกค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ โทรศัพท์ หรือหนังสือพิมพ์นั้น อาจจะไม่เข้าถึงลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายได้ดี เท่ากับสื่อออนไลน์ เพราะเนื่องด้วยการดำเนินชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไป[viii]

สมาร์ทโฟน (SmartPhone) หมายถึง โทรศัพท์มือถือที่นอกเหนือจากใช้โทรออก – รับสาย ยังรวมไปถึงการใช้งานแอพพลิเคชั่นออนไลน์อย่าง LAZADA ที่ผู้บริโภคสามารถดาวน์โหลดจากผู้ที่ให้บริการ โดยจะไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้นผ่านทางสมาร์ทโฟน[ix]

อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก และยังเป็นสถานที่หรือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถซื้อขายสินค้าอย่างหลากหลายประเภท รวมไปถึงการซื้อขายสินค้าแบบแอพพลิเคชั่น LAZADA[x]

แอพพลิเคชั่นออนไลน์ LAZADA หมายถึง แอพพลิเคชั่นสำหรับขายสินค้าบนพื้นที่ออนไลน์ จะประกอบไปด้วยข้อมูลรายการสินค้าโปรโมชั่นราคาพิเศษต่าง ๆ รวมถึง สินค้าแนะนำมีรายละเอียดข้อมูล สี ขนาด ราคา อย่างชัดเจน รูปภาพต่าง ๆ หลากหลายมุม สามารถดู รูปได้แบบรอบทิศ เสมือนได้ไปเลือกซื้อสินค้าจากหน้าร้านจริง ๆ นอกจากนี้ ยังมีส่วนที่ลูกค้าสามารถโพสต์ข้อความเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อสินค้านั้น ๆ ซึ่งถือเป็นการดึงดูดลูกค้าให้เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งผู้ใช้จะต้องดำเนินการโหลดแอพพลิเคชั่น LAZADA ติดตั้งลงมือถือ รูปแบบในการให้บริการของแอพพลิเคชั่น LAZADA มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองพฤติกรรมและการใช้ชีวิตของผู้บริโภคยุคดิจิทัลที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น[xi]

7 – Catalog หมายถึง ธุรกิจขายตรงผ่านแคตตาล็อก ภายใต้การดำเนินงานของซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายหลักโดยร้าน 7 – Eleven ประกอบไปด้วย 14 กลุ่มสินค้า 1,700 รายการต่อหนึ่งฉบับและจะมีหมุนเวียนกันไปด้วยซึ่งออกทุก ๆ 2 เดือน จำนวนการพิมพ์ใน 350,000 เล่มต่อครั้ง ซึ่งลูกค้าที่สนใจก็สามารถซื้อได้จากที่ร้าน 7 – Eleven ทุกสาขา ในราคาเล่มละ 10 บาทหรือถ้าเป็นสมาชิกจะทำการส่งฟรีถึงบ้าน ระบบในการสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าใน 7 – Catalog ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้จากหน้าร้าน 7 – Eleven โดยตรง หรือจะโทรศัพท์สั่งกับ Call Center ตลอด 24 ชั่วโมง และการสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์กับเว็บไซต์ www.7 – Catalog.com สำหรับการชำระค่าสินค้าก็ทำได้หลายวิธีทั้งจ่ายเงินสดที่ร้าน 7 – Eleven หรือบัตรเครดิตลูกค้าสามารถเลือกรับของด้วยการให้จัดส่งไปที่บ้านหรือร้าน 7 – Eleven สาขาที่สะดวกเจ้าหน้าที่จะส่ง sms แจ้งลูกค้าให้มารับสินค้า[xii]

ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ตลาดที่มีการทำธุรกรรมทุกรูปแบบ โดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า บริการ การชำระเงิน การโฆษณาผ่านเครือข่ายบนอินเตอร์เน็ต[xiii]


[i] สุชาดา ตันบุญเจริญ (2563) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. ภาคนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

[ii][ii] เจษฎาภรณ์ ศรศรีเกิด. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านโซเซียลมีเดียของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[iii] เอมิกา เหมมินทร์ (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[iv] สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online : กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ มหาวิทยาลัยเกริก.

[v] สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online : กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ มหาวิทยาลัยเกริก.

[vi] สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online : กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ มหาวิทยาลัยเกริก.

[vii] เปรมกมล หงษ์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

[viii] สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online : กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ มหาวิทยาลัยเกริก.

[ix] เปรมกมล หงษ์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

[x] เปรมกมล หงษ์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

[xi] เปรมกมล หงษ์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

[xii] รจนา มะลิวัลย์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า 7-Catalog ของผู้บริโภคในจังหวัดตราด. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[xiii] สุชาดา ตันบุญเจริญ (2563) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. ภาคนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *