ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และบริการ

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด สามารถทำให้เห็นได้ว่า ถ้าธุรกิจต้องการที่จะประสบความสำเร็จนั้น ความเหมาะสมในการกำหนดส่วนประสมทางการตลาดเป็นเรื่องสำคัญ เพราะกระบวนการซื้อในปัจจุบันของผู้บริโภค ผู้ซื้อจะยึดหลักมูลค่าสูงสุด (Value Maximization) ธุรกิจที่มีคุณค่าที่มอบให้ลูกค้าสูงสุด (Highest Delivered Value) จะได้รับการซื้อผลิตภัณฑ์จากลูกค้ามูลค่าที่กล่าว คือ ความแตกต่างระหว่างมูลค่าผลิตภัณฑ์ในสายตาของลูกค้า (Total Customer Value) และราคา (ต้นทุน) ของผลิตภัณฑ์รวมในสายตาของลูกค้านั่นเอง ธุรกิจจะต้องทำการคาดคะเนมูลค่าของผลิตภัณฑ์รวในสายตาของลูกค้ารวมไปถึงต้นทุนรวมของลูกค้า การส่งมอบมูลค่าผลิตภัณฑ์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อธุรกิจได้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ โดยธุรกิจต้องเพิ่มมูลค่าด้านผลิตภัณฑ์ มูลค่าด้านภาพลักษณ์ บุคลากรและบริการ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และต้องทำการลดต้นทุนด้านเวลาที่ต้องเสียไปของลูกค้า ลดต้นทุนพลังงานที่ต้องใช้ไปกับผลิตภัณฑ์และลดต้นทุนที่เกิดจาความไม่สบายใจจากการใช้ผลิตภัณฑ์[i]

ส่วนประสมทางการตลาดเป็นเครื่องมือในการตอบสนองความต้องการให้แก่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย นักการตลาดจะต้องให้ความสำคัญกับเครื่องมือเหล่านี้ในการวางกลยุทธ์และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าในการซื้อสินค้าหรือเลือกใช้บริการ เพื่อให้สามารถแข่งขันเหนือคู่แข่งลูกค้าเกิดความประทับใจและซื้อซ้ำในอนาคต[ii]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านช่องทาง e-commerce platform ของคนในเขตกรุงเทพมหานคร[iii] พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านช่องทาง e-commerce platform ของคนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีทั้งหมด 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และบริการซึ่งผู้บริโภคมองว่า ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่ซื้อผ่านช่องทาง e-commerce platform มีความหลากหลาย มีการให้ข้อมูลสินค้าอย่างละเอียดครบถ้วน และยังคงมีคุณภาพเทียบเท่ากับการซื้อผ่านช่องทาง Offline ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขายซึ่งผู้บริโภค เห็นว่า การซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านช่องทาง e-commerce platform ได้รับส่วนลดหรือสิทธิพิเศษมากกว่าช่องทาง Offline มีการประชาสัมพันธ์และโฆษณาช่องทาง e-commerce platform อย่างทั่วถึง เช่น โซเชียลมีเดีย แผ่นป้ายโฆษณา รวมถึงมีบริการหลังการขายที่ดีกว่าซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านทาง Offline และช่องทาง e-commerce platform มีการส่งข้อมูล ข่าวสาร ติดต่อกับผู้บริโภคอยู่เสมอ ปัจจัยด้านบุคลากรซึ่งผู้บริโภคมองว่า ช่องทาง e-commerce platform มีการติดต่อกับผู้บริโภคเป็นรายบุคคลได้สะดวกและมีความรวดเร็ว สามารถการช่วยแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคได้ทันที มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ครบถ้วน เมื่อผู้บริโภคสอบถาม และมีความใส่ใจ คอยติดตามหลังการขายอย่างสม่ำเสมอ ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านองค์ประกอบทางกายภาพ ซึ่งผู้บริโภคเห็นว่า ช่องทาง e-commerce platform มีความสวยงาม เป็นระเบียบ อ่านง่าย มีการใช้งานง่าย รวมถึงมีการประมวลผลที่รวดเร็ว[iv]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ มีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และบริการอยู่ในระดับเห็นด้วย โดยเห็นด้วยมากที่สุดกับการที่มีผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่ซื้อผ่านช่องทาง e-commerce platform มีความหลากหลาย ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.37 รองลงมา คือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่ซื้อผ่านช่องทาง e-commerce platform ยังคงมีคุณภาพเท่ากับการซื้อผ่านช่องทาง Offline มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.22 และสุดท้าย คือ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่ซื้อผ่านช่องทาง e-commerce platform มีการให้ข้อมูลสินค้าอย่างลเอียดครบถ้วนที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.82 และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และบริการมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านช่องทาง e-commerce platform ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอสในเขตกรุงเทพมหานคร[v]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่านและกรุงเทพมหานคร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณารายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ในข้อ แอพพลิเคชั่นมีการบริการหลังการขายอย่างรวดเร็วมีการให้ข้อมูลรวมถึงการแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกทั้งเรื่องการส่งสินค้าและการติดตามความพึงพอใจ[vi]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าผ่านช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่านและกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ระดับมากที่สุด ผลการวิจัยดังกล่าวเป็นการซื้อสินค้าผ่านช่องทาง Online: ในปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด อยู่ในระดับมาก ทั้ง 7 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์และบริการ[vii]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ มีการบอกรายละเอียดสินค้าครบถ้วน รองลงมา คือ แสดงรูปสินค้าชัดเจน สินค้ามีคุณภาพ ตราสินค้ามีชื่อเสียงเป็นที่นิยม และสุดท้ายสินค้ามีความแตกต่างจากร้านอื่น และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ เนื่องจาก คุณภาพของสินค้าเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคจะต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเลือกซื้อ โดยผู้บริโภคจะพิจารณาคุณภาพของสินค้าว่าเหมาะสมกับราคาที่ตั้งไว้หรือไม่ และคุณภาพของสินค้ามีความเหมือนหรือแตกต่างจากร้านค้าออนไลน์อื่น ๆ อย่างไร หากผู้บริโภคจะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในร้านนั้น ๆ จะพิจารณาถึงความคุ้มค่าที่จะได้รับเป็นหลัก ซึ่งส่วนหนึ่งจะพิจารณาจากรายละเอียดของสินค้าและรูปสินค้าที่ชัดเจน[viii]


[i] วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[ii] สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

[iii] ธัญญ์นรี นิธิยศบุญวงศ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านช่องทาง e-commerce platform ของคนในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

[iv] ธัญญ์นรี นิธิยศบุญวงศ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านช่องทาง e-commerce platform ของคนในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

[v] ธัญญ์นรี นิธิยศบุญวงศ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านช่องทาง e-commerce platform ของคนในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

[vi] สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

[vii] สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

[viii]ชุติมา คล้ายสังข์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 15(1), 37 – 69.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *