โรคอ้วนลงพุงกับผลกระทบต่อสุขภาพทางกาย ความน่ากลัวของโรคอ้วนและอ้วนลงพุง

โรคอ้วนและภาวะอ้วนลงพุงส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง รวมถึงการทำให้เกิดการทุพพลภาพและกรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรงที่เกิดจากการมีน้ำหนักตัวและไขมันมากเกิน ได้แก่ โรคข้อเสื่อม โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจไม่ว่าจะเป็นนอนกรนหรือโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ การไหลเวียนเลือดจากขาขึ้นสู่หัวใจไม่สะดวก มีปัญหาจากการดมยาสลบ การผ่าตัด การคลอดบุตร และแผนผ่าตัดหายช้ามากกว่าคนทั่วไป อาจมีอาการท้องผูก ถ่ายอุจจาระลำบาก ในผู้หญิงอาจมีอาการกลั้นปัสสาวะได้ไม่ดีเกิดความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ เช่น ฮอร์โมนระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ หรือเกิดกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ มีภาวะไขมันผิดปกติ และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องมาจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม นอกจากนี้ ยังพบว่า โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรัง อย่างเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งบางชนิด โรคนิ่วในถุงน้ำดี และโรคตับอักเสบจากไขมันสะสม เป็นต้น

ความน่ากลัวของโรคอ้วนและอ้วนลงพุง

ความเชื่อในการรับประทานอาหารในวัยเด็ก

ความเชื่อความจริง
1.เด็กอ้วนจะผอมลงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ในความเป็นจริงโอกาสที่จะอ้วนตอนโต มีร้อยละ 50 – 60 สาเหตุที่ไม่ควรให้เด็กอ้วน ก็เพราะเซลล์ไขมันเจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนตามขนาดร่างกายของเด็ก โดยเจริญเต็มที่ในวัย 6 ปี ยิ่งปล่อยให้อ้วนมากยิ่งพัฒนาเซลล์มาก จึงส่งผลต่อการอ้วนในวัยผู้ใหญ่
2.เด็กอ้วนเป็นเด็กน่ารักเด็กอ้วนจัดเป็นโรคชนิดหนึ่งและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
3.ถ้าลูกกินยาก น้ำหนักน้อย แปลว่า พ่อแม่เลี้ยงไม่ดีธรรมชาติของเด็กอายุ 1 ขวบเป็นต้นไป จะสนใจการกินน้อยลง ห่วงเล่นมากกว่ากิน เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
4.พ่อแม่เข้าใจผิดว่า ลูกน้ำหนักน้อยเกินไป ทั้ง ๆ ที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติเด็กอ้วนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เด็กที่น้ำหนักปกติถูกเปรียบเทียบกับเด็กอ้วนและมองว่า ลูกน้ำหนักน้อยเกินไป
5.ลูกไม่กิน แปลว่า ผิดปกติรายงานการวิจัย พบได้ถึงร้อยละ 30 – 40 ของเด็กในช่วงวัย 1 – 3 ขวบ จะมีพฤติกรรมไม่กินอาหารซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามวัย
6.พ่อแม่เปรียบเทียบการกินของลูกกับเด็กคนอื่นในความเป็นจริงเด็กแต่ละคนอาจกินอาหารได้มากน้อยต่างกัน ขึ้นกับอัตราการใช้พลังงาน การย่อยการดูดซึม ของเด็กแต่ละคน
7.พ่อแม่คาดหวังมากเกินว่า ลูกจะกินหมดในความเป็นจริงพ่อแม่ส่วนใหญ่ จะตักอาหารให้ลูกในปริมาณมากกว่าที่ร่างกายของลูกต้องการจริง ๆ เมื่อเด็กกินไม่หมด ทำให้พ่อแม่พยายามยัดเยียด
8.พ่อแม่ใช้วิธีดุว่า บังคับ หรือลงโทษ เพื่อให้ลูกกินมากขึ้นในความเป็นจริง พ่อแม่พยายามกดดันให้ลูกกินมากขึ้นยิ่งสร้างความเครียด เด็กยิ่งต่อต้านการกินและไม่รู้สึกหิวเมื่อถึงมื้ออาหารเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมขึ้น เช่น อมข้าม ใช้เวลานานในการกินข้าวแต่ละมื้อ กินไปเล่นไป หรือแม้แต่อาเจียน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *