แนวคิดความหมายเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรืออี – คอมเมิร์ช (E – Commerce) หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุก ๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้[i]

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ ธุรกิจ e – Commerce หมายถึง ธุรกิจที่มีการขายสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ด้วยวิธีการลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า ห้องรับรองลูกค้า เป็นต้น ส่วนการชำระเงินและการจัดส่งจะทำผ่านช่องทางใดก็ได้ ดังนั้น ระยะทางและเวลาที่มีความแตกต่างกันจึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป[ii]

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E – Commerce) หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น[iii]

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E – Commerce) หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า / บริการ การชำระเงิน ในส่วนของการสั่งสินค้าเข้ามาผ่านทางแอพพลิเคชั่น LAZADA ก็จะสามารถทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านทางออนไลน์ได้ทันที[iv]

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว หรือ e – Tourism หมายถึง การนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น การจองโรงแรม และชำระค่าบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต[v]

E – commerce คือ กระบวนการทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์รวมไปถึงการให้บริการภาพเสียง โฆษณา หรือการทำการซื้อขายสินค้า โดยการใช้คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมเข้ากับระบบเครือข่าย เพื่อเป็นสื่อกลางที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ซื้อผู้ขายให้สามารถทำธุรกรรมการค้ากันได้[ix]

เว็บไซต์ที่ให้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศไทย หมายถึง เว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น การให้รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของประเทศไทย เช่น สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และการเดินทาง การให้บริการจองทัวร์ บริการรายการนำเที่ยว บริการจองโรงแรมและที่พัก บริการจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น[vi]

อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำให้เกิดการสื่อสารรูปแบบใหม่ โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างระบบเครือข่ายจำนวนมหาศาลทั่วโลกเข้าด้วยกัน ภายใต้หลักเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน คือ ใช้โปรโตคอลเป็นสื่อกลางในการสื่อสารของคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกันเป็นเครือข่ายและสามารถติดต่อถึงกันได้ทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อ สืบค้นข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลถึงกันได้โดยสะดวก รวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย[vii]

อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก และยังเป็นสถานที่หรือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถซื้อขายสินค้าได้อย่างหลากหลายประเภท รวมไปถึงการซื้อขายสินค้าบนแอพพลิเคชั่น LAZADA[viii]


[i]มัธณา กันชะนะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช้อปปิ้งออนไลน์ของซุปเปอร์สโตร์. วิทยานพินธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

[ii]เสาวนีย์ สุวรรณาภรณ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

[iii]วัชราภรณ์ เจียงของ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์โดยมุ่งเน้นปัจจัยด้านช่องทางการรับสินค้า. ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

[iv] เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

[v]เสาวนีย์ สุวรรณาภรณ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

[vi]เสาวนีย์ สุวรรณาภรณ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

[vii]เสาวนีย์ สุวรรณาภรณ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

[viii] เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

[ix] ขจรศักดิ์ ธีระทวีสุข. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้ารูปแบบดิจิทลของประชากรในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *