แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค (3)

นิยามเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค

พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง การศึกษาแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการโดยการศึกษาพฤติกรรมการบริโภค รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลทำให้เกิดกระบวนการซื้อ สามารถตอบสนองความพึงพอใจและความต้องการของผู้บริโภคแบบจำลองพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior model)[i]

พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง การกระทำของบุคคลบุคคลหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการหาให้มาและการใช้ซึ่งสินค้าและบริการ[ii]

พฤติกรรมผู้ซื้อ หมายถึง การกระทำของบุคคลในบุคคลหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการด้วยเงิน และรวมถึงการตัดสินใจ[iii]

พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อและการใช้สินค้าหรือบริการ โดยผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนที่บุคคลต้องมีการตัดสินใจทั้งก่อนและหลังการกระทำต่าง ๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพอใจและความต้องการของบุคคล[iv]

พฤติกรรมผู้บริโภค พบว่า ลูกค้าร้านหนึ่งโมดิฟายส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี มีอาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้ระหว่าง 10,000 – 20,000 บาท ส่วนใหญ่รู้จักและรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการแนะนำ/บอกต่อ และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับท่อไอเสียดัดแปลงด้วยตนเอง และส่วนใหญ่ซื้อท่อไอเสียดัดแปลง 2 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่ใช้ท่อไอเสียดัดแปลงแบบกลม ต้องการเปลี่ยนท่อไอเสียดัดแปลงเป็นแบบกลม ส่วนใหญ่ซื้อท่อไอเสียดัดแลง โดยมารับท่อไอเสียด้วยตนเอง[v]

นิยามเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค

ธงชัย สันติวงษ์ (2554) กล่าวว่า การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค หมายถึง การวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุทั้งปวงที่มีอิทธิพลทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการซึ่งโดยการเข้าใจถึงสาเหตุต่าง ๆ ที่มีผลจูงใจหรือกำกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ลักษณะนี้เองที่จะทำให้นักการตลาดสามารถตอบสนองผู้บริโภคได้สำเร็จผล ด้วยการชักนำและหว่านล้อมให้ลูกค้าซื้อสินค้าและมีความจงรักภักดีที่จะซื้อซ้ำครั้งต่อไปเรื่อย ๆ ดังนั้น การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องของการศึกษาการตัดสินใจของผู้บริโภคว่า เกิดจากปัจจัยอิทธิพลอะไรเป็นตัวกำหนด หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการตัดสินใจซื้อดังกล่าว พฤติกรรมในขณะทำการซื้อ จึงเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดสินใจซื้อและในการตัดสินใจซื้อจะประกอบไปด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความต้องการการเรียนรู้ความเข้าใจ ฯลฯ ปัจจัยต่าง ๆ นี้มีอยู่ในความนึกคิดและจิตใจของทุกคน ซึ่งต่างก็ได้มีการสร้างสมและขัดเกลาตามความนึกคิดและจิตวิทยาของตนตามสังคมและวัฒนธรรมที่ต่างกันจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งคุณลักษณะที่แท้จริงภายในของผู้บริโภคแตกต่างกัน[vi]

ปัจจัยด้านพฤติกรรมในการใช้ หมายถึง ปัจจัยที่เป็นตัวแปรต้นที่เป็นกระบวนการตัดสินใจและการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค เช่น พฤติกรรมการเลือกใช้ เหตุผลที่เลือกใช้ ค่าใช้จ่ายในการซื้อ ยี่ห้อที่เลือกซื้อหรือสนใจซื้อ[vii]

พฤติกรรมในการซื้อของผู้บริโภค

ยุวดี จารุนุช (2554) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ของผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า พฤติกรรมการซื้ออะไหล่ พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่จะมียอดซื้ออะไหล่เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 50,001 – 100,000 บาท มีความถี่ในการซื้ออะไหล่ทุก 2 – 5 วันทำการ และมีการจัดซื้ออะไหล่ปะรเภทระบบเบรกมากที่สุด รองลงมา คือ ระบบช่วงล่าง ผู้ประกอบการเป็นผู้กำหนดคุณภาพของสินค้าที่จะซื้อมากกว่าลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในอู่ซ่อมรถยนต์เอง ซึ่งผู้ประกอบการจะกำหนดคุณภาพของสินค้าจากยี่ห้อเป็นหลักจะมีนโยบาย การจัดซื้ออะไหล่จากแหล่งขายหลายแหล่งไม่ขึ้นกับแหล่งใดแหล่งหนึ่ง เพราะแหล่งขายแหล่งเดียวอาจรองรับความต้องการได้ไม่เพียงพอ โดยส่วนใหญ่เป็นแหล่งขายในอดีตและแหล่งขายในปัจจุบันเป็นหลักโดยเน้นที่สินค้าดีมีคุณภาพ[viii]

ปาริชาติ จำเขียน (2555) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อจักรยานประเภทเสือภูเขาของผู้ปั่นจักรยานในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 40 – 49 ปี ระดับการศึกษาสูงสุด คือ ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพธุรกิจส่วนตัวและมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 25,000 บาท ข้อมูลพื้นฐานในการซื้อจักรยานเสือภูเขา พบว่า ส่วนใหญ่มีจักรยานเสือภูเขา จำนวน 1 คัน ยี่ห้อที่ซื้อมากที่สุด คือ Trek เหตุผลในการซื้อจักรยาน คือ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ระดับราคาในการซื้ออยู่ระหว่าง 10,001 – 30,000 บาท ระยะเวลาการใช้งานของจักรยานเสือภูเขาที่กลุ่มตัวอย่างใช้อยู่ปัจจุบันอยู่ระหว่าง 1 – 3 ปี พฤติกรรมการปั่นจักรยานเสือภูเขา พบว่า ช่วงเวลาประจำที่กลุ่มตัวอย่างออกปั่นจักรยาน คือ ตอนเย็นความถี่ในการปั่นจักรยาน คือ 4 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ความถี่ในการปั่นเพื่อท่องเที่ยว คือ 2 – 3 ครั้งต่อเดือน ลักษณะการปั่นส่วนใหญ่จะปั่นเป็นกลุ่มเล็กน้อยกว่า 20 คน รูปแบบของสถานที่ที่ปั่นไปเป็นประจำ คือ ภูเขา รูปแบบของสถานที่ท่องเที่ยวที่ปั่นไปเพื่อการท่องเที่ยว คือ ภูขา จำนวนชั่วโมงเฉลี่ยที่ใช้ในการปั่นเพื่อการท่องเที่ยวอยู่ระหว่าง 4 – 8 ชั่วโมง[ix]

ดวงใจ หทัยวิวัฒน์กุล (2553) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารสำเร็จรูปในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21 – 30 ปี เป็นโสด การศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน รายได้ 5,001 – 10,000 บาทต่อเดือน จำนวนสมาชิกในครอบครัว 3 – 5 คน พฤติกรรมการซื้ออาหารสำเร็จรูป พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้ออาหารสำเร็จรูปมากกว่า 10 ครั้งต่อเดือน ซื้ออาหารสำเร็จรูปในวันจันทร์ – วันศุกร์ ซื้ออาหารสำเร็จรูปหลังจาก 16.00 นาฬิกา ใช้เวลาในการซื้อ 10 – 20 นาที มีค่าใช้จ่าย 100 – 200 บาท ซื้อที่ร้านขายอาหารใกล้บ้าน เหตุผลที่เลือกซื้ออาหารสำเร็จรูป คือ มีความสะดวกในการซื้อทราบแหล่งข้อมูลอาหารสำเร็จรูปด้วยตนเอง[x]

พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้ามีองค์ประกอบย่อยจำนวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การซื้อเพื่อทดลองใช้ การซื้อซ้ำเป็นบางครั้งบางคราว การซื้อซ้ำในระยะสั้น การซื้อซ้ำในระยะยาว[xi]

พฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นตราเกรฮาวด์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25 – 29 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้โดยเฉลี่ย 10,000 – 20,000 บาทต่อเดือน และประเภทของสินค้าแฟชั่นตราสินค้าเกรฮาวด์ที่เคยซื้อภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา คือ เสื้อผ้า รองลงมา คือ กระเป๋า/รองเท้า เครื่องประดับ และอื่น ๆ ตามลำดับ[xii]

สุภาวรรณ ชัยทวีวุฒิกุล (2555) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์แบบร่วมกลุ่มกันซื้อทางเว็บไซต์ ENSOGO ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าและบริการ มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์แบบร่วมกลุ่มกันซื้อทางเว็บไซต์ ENSOGO ด้านราคาเฉลี่ยของสินค้าที่เคยซื้อในแต่ละครั้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05[xiii]

ยุวดี จารุนุช (2554) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ของผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดสมุทรสาคร พฤติกรรมการซื้ออะไหล่ พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่จะมียอดซื้ออะไหล่เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 50,001 – 100,000 บาท มีความถี่ในการซื้ออะไหล่ทุก 2 – 5 วันทำการ และมีการจัดซื้ออะไหล่ประเภทระบบเบรกมากที่สุด รองลงมา คือ ระบบช่วงล่าง ผู้ประกอบการเป็นผู้กำหนดคุณภาพของสินค้าที่จะซื้อมากกว่าลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในอู่ซ่อมรถยนต์เอง ซึ่งผู้ประกอบการจะกำหนดคุณภาพของสินค้าจากยี่ห้อเป็นหลักจะมีนโยบาย การจัดซื้ออะไหล่จากแหล่งขายหลายแหล่งไม่ขึ้นกับแหล่งใดแหล่งหนึ่ง เพราะแหล่งขายแหล่งเดียวอาจรองรับความต้องการได้ไม่เพียงพอ โดยส่วนใหญ่เป็นแหล่งขายในอดีตและแหล่งขายในปัจจุบันเป็นหลักโดยเน้นที่สินค้าดีมีคุณภาพ[xiv]


[i] สุภารัตน์ คามบุตร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงของผู้บริโภคในเขตนนทบุรี. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

[ii] โสภิต พรหมวิจิตร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสกินไวเทนนิ่งของพนักงานออฟฟิตในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

[iii] โสภิต พรหมวิจิตร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสกินไวเทนนิ่งของพนักงานออฟฟิตในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

[iv] กฤษณ์ เถียนมิตรภาพ. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าที่มีต่อร้านธารินีเบเกอรี่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

[v] ศศิธร บุญชุม. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อท่อไอเสียดัดแปลงสำหรับตกแต่งรถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง กรณีศึกษาร้านหนึ่งโมดิฟาย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.

[vi] ธงชัย สันติวงษ์. (2554). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญพัฒน์.

[vii] โสภิต พรหมวิจิตร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสกินไวเทนนิ่งของพนักงานออฟฟิตในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

[viii] ยุวดี จารุนุช. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ของผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดสมุทรสาคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[ix] ปาริชาติ จำเขียน. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อจักรยานประเภทเสือภูเขาของผู้ปั่นจักรยานในจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[x] ดวงใจ หทัยวิวัฒน์กุล. (2553). พฤติกรรมการซื้ออาหารสำเร็จรูปของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

[xi] วัชราภรณ์ ตั้งประดิษฐ์. (2560). รูปแบบคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยสยาม.

[xii] ภารดี ผิวขาว. (2558). คุณค่าตราสินค้า ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้า และความเกี่ยวพันในเรื่องแฟชั่นที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นตราสินค้าเกรฮาวด์ของผู้บริโภคภายในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[xiii]สุภาวรรณ ชัยทวีวุฒิกุล. (2555). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์แบบร่วมกลุ่มกันซื้อบนเว็บไซต์ ENSOGO ของลูกค้าในเขตกรุงทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

[xiv] ยุวดี จารุนุช. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ของผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดสมุทรสาคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *