แนวคิดเกี่ยวกพับพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อ

ธงชัย ชูสุ่น (2556) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อเลือกซื้อคอนโดมิเนียม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นนักศึกษา สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3 – 4 คน มีรายได้เฉลี่ย 20,001 – 40,000 บาท มีที่อยู่อาศัยเดิม คือ อพาร์ทเม้นท์/แมนชั่น มีงบประมาณในการซื้อคอนโดมิเนียมอยู่ที่ 1.51 – 2 ล้านบาท ต้องการพื้นที่ใช้สอย 31 – 40 ตารางเมตร มีผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อ คือ บิดา – มารดา / ญาติพี่น้อง[i]

สมฤทัย ผุยวรรณ (2556) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของผู้บริโภคในเขตฝั่งธนบุรี พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เพื่ออาศัยอยู่เอง ส่วนเหตุผลที่เลือกซื้อ เนื่องจาก สะดวกในการเดินทาง โดยก่อนจะตัดสินใจซื้อจะเปรียบเทียบโครงการอื่น 1 – 3 โครงการ และตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ผู้บริโภคมีการวางแผนที่จะซื้อคอนโดมิเนียมมากกว่า 3 ปีโดยขนาดพื้นที่ใช้สอยที่ต้องการมากที่สุด คือ ขนาด 36 – 40 ตารางเมตร ส่วนราคาคอนโดมิเนียมที่เลือกซื้อมากที่สุด คือ ราคา 1,500,000 – 2,000,000 บาท ประเภทของสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมมากที่สุด ได้แก่ สื่อโทรทัศน์และผู้บริโภคต้องการซื้อคอนโดมิเนียมที่มีระยะห่างจากสถานีรถไฟฟ้าต่ำกว่า 200 เมตร[ii]

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์ (2556) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 23 – 30 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี และประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือนที่ 20,001 – 30,000 บาท โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกซื้อเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) และส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามจะมีความถี่ในการซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) เดือนละ 1 ครั้ง และส่วนใหญ่ซื้อสินค้าครั้งละ 500 – 1,000 บาท[iii]

ณัฏฐ์ธนานัญ ฤทัยสว่างกุล (2555) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง พบว่า ช่วงเวลาการใช้อินเทอร์เน็ต บ่อยที่สุดช่วง 18.01 – 21.00 น. จำนวนครั้งการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์ มากกว่า 15 ครั้ง จำนวนนาทีเฉลี่ยต่อการใช้งานต่อครั้ง 30 – 60 นาที สถานที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด คือ บ้าน วัตถุประสงค์การใช้งาน คือ การสื่อสาร (E – Mail, Chat, Facebook, Instagram, Line) และมีอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ มือถือ และสมาร์ทโฟน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในภาพรวมมีค่าลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านขนส่งและการจัดจำหน่าย ด้านมาตรฐานสินค้าและบริการ ด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ ด้านค่านิยมและการดำเนินชีวิต ด้านมูลค่าสินค้าและบริการ ด้านความทันสมัยของเทคโนโลยีและด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ[iv]

มัทวัน กุศลอภิบาล (2555) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟสดของผู้บริโภคในอำเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 18 – 28 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 12,001 – 19,000 บาท นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่บริโภคกาแฟสดระหว่าง 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วงเวลา 09.00 – 12.00 น. โดยจะบริโภคกาแฟประเภท CAPUCINO และ ESPRESSO ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน เลือกใช้บริการร้านกาแฟสด เนื่องจาก รสชาติของผลิตภัณฑ์มากที่สุด มีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง มากที่สุดอยู่ระหว่าง 26 – 45 บาท และระหว่าง 46 – 65 บาท ในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ส่วนสถานที่ที่ใช้บริการมากที่สุด คือ ร้านกาแฟในห้างสรรพสินค้า โดยบริโภคกาแฟสดที่ร้านกาแฟโอ่งมังกรมากที่สุด สำหรับบุคคลที่มีส่วนในการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟสดมากที่สุด คือ ตนเอง และยังพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้ร้านกาแฟเป็นสถานที่นัดพบมากที่สุด[v]

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.00 ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการซื้อเครื่องสำอางบนเฟซบุ๊กง่ายต่อการเปรียบเทียบสินค้าและราคา มีค่าเฉลี่ย 4.15 รองลงมา คือ การซื้อเครื่องสำอางบนเฟซบุ๊กง่ายต่อการค้นหาและมีความหลากหลายมากกว่าซื้อจากร้านค้า มีค่าเฉลี่ย 4.40 การใช้เฟซบุ๊กเป็นประจำส่งผลต่อการซื้อเครื่องสำอางกับการซื้อเครื่องสำอางบนเฟซบุ๊กสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลามากกว่าซื้อที่ร้าน มีค่าเฉลี่ย 4.08 มีการแนะนำร้านเครื่องสำอางบนเฟซบุ๊กให้คนรู้จัก มีค่าเฉลี่ย 3.96 การซื้อเครื่องสำอางบนเฟซบุ๊กพบปัญหาน้อยกว่าการไปซื้อที่ร้าน มีค่าเฉลี่ย 3.85 และหากต้องการซื้อเครื่องสำอางจะเลือกซื้อจากเฟซบุ๊กเป็นที่แรก มีค่าเฉลี่ย 3.84 ตามลำดับ[vi]

สื่อ ณ จุดขายของผลิตภัณฑ์กูลิโกะ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความคิดเห็นโดยรวมในระดับน่าสนใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน่าสนใจมาก คือ ด้านการจัดวางสินค้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 รองลงมา ได้แก่ ด้านชั้นโชว์สินค้าแบบวางบนพื้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 ด้านป้ายโฆษณาล้อมกอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน่าสนใจปานกลาง คือ ด้านป้ายโฆษณาแบบห้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.34 และด้านป้ายโฆษณาที่ชั้นวางของ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.33 ตามลำดับ และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความคิดเห็นกับพฤติกรรมการซื้อ โดยรวมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นในระดับมาก คือ ท่านรู้สึกเพลิดเพลินเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก ท่านมักจะซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน (ตัดสินใจซื้อโดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า) และท่านรู้สึกตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 3.58 และ 3.55 ตามลำดับ[vii]

พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงของผู้บริโภคในเขตนนทบุรี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุตั้งแต่ 26 – 35 ปี มีสถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ 20,001 – 30,000 บาท มีงบประมาณในการซื้อคอนโด ราคา 1.00 – 1.520 ล้านบาท มีภาระหนี้สิน มีภาระหนี้สิน น้อยกว่า 100,000 บาท มีระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ 5 – 10 ปี[viii]


[i] ธงชัย ชูสุ่น. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[ii] สมฤทัย ผุยวรรณ์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของผู้บริโภคในเขตฝั่งธนบุรี. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป) , มหาวิทยาลัยสยาม.

[iii] วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[iv] ณัฏฐ์ชิสา อัฐศักดิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.

[v] มัทวัน กุศลอภิบาล. (2555). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟสดของผู้บริโภคในอำเมือง จังหวัดราชบุรี. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

[vi] พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

[vii] ปานรวี ธนกิจรุ่งทวี และสุพาดา สิริกุตตา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร http://kowdum.com/article/fileattachs/27072021114039_f_0.pdf

[viii] สุภารัตน์ คามบุตร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงของผู้บริโภคในเขตนนทบุรี. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *