แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยประชากรศาสตร์ต่อการตัดสินใจซื้อ

ณัฏฐ์ชิสา อัฐศักดิ์ (2558) ศึกษาเรื่อง การเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนมทางออนไลน์ประเภทกระเป๋าและรองเท้าสุภาพสตรี พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s ผลิตภัณฑ์ ราคา กระบวนการ การส่งเสริมการตลาด บุคลากร สถานที่ และกายภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก[i] ได้แก่

  1. ด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ คุณภาพและความคงทนของสินค้า คุณภาพและความคงทนของสินค้า และสินค้ามีความทันสมัย ความมีชื่อเสียงของตรายี่ห้อและใช้เป็นของขวัญในโอกาสพิเศษ
  2. ด้านราคา ได้แก่ ราคาและคุณภาพของสินค้ามีความเหมาะสม มีการชี้แจงราคาที่ชัดเจน
  3. ด้านสถานที่ ได้แก่ หน้าร้าน หรือหน้าเว็ปมีความน่าเชื่อถือ ช่องทางการซื้อมีความสะดวกสบาย มีช่องทางการซื้อที่ทันสมัย เช่น ทางอินเทอร์เน็ต ช่องทางการซื้อที่หลากหลาย
  4. ด้านการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ มีบริการหลังการขาย มีการจัดส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนคืนสินค้าได้ มีโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย
  5. ด้านบุคคล ได้แก่ มีความกระตือรือร้นในการบริการ การให้คำแนะนำคำปรึกษาเป็นอย่างดี มีความสุภาพและเป็นกันเองกับลูกค้า
  6. ด้านกระบวนการให้บริการ ได้แก่ กระบวนการขายมีความน่าเชื่อถือ มีความพึงพอใจในกระบวนการขายในทุกขั้นตอน มีขั้นตอนการชำระค่าสินค้าที่น่าเชื่อถือ และขั้นตอนการชำระค่าสินค้าที่รวดเร็ว
  7. ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี มีหลากหลายสาขาให้เลือกไปใช้บริการตกแต่งร้านมีความทันสมัย

รัชดาวรรณ สังข์คำภาร์ (2557) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมของมารดาต่อการซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยทางออนไลน์ ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยทางออนไลน์ พบว่า มารดาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในระดับมาก ในปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายทางออไนลน์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา ตามลำดับ โดยปัจจัยย่อยของส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยทางออนไลน์ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ แสดงข้อมูลและรูปถ่ายของสินค้าอย่างละเอียด ระบบการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และการสื่อสารการให้ข้อมูลของสินค้าอย่างถูกต้อง ตามลำดับ[ii]

สุภาวรรณ ชัยทวีวุฒิกุล (2555) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์แบบรวมกลุ่มกันซื้อบนเว็บ ENSOCO ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร ลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าและบริการที่มีอายุ อาชีพ และระดับรายได้แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าด้านราคาเฉลี่ยของบริการที่เคยซื้อในแต่ละครั้งแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ด้านกระบวนการ ด้านสถานที่ ด้านระยะเวลา ด้านประชาสัมพันธ์ สามารถทำนายพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์แบบรวมกลุ่มกันซื้อบนเว็บ ENSOCO ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01[iii]

พิชามาญชุ มะลิขาว (2554) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก พบว่า ส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ด้านค่าใช้จ่ายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนประสมทางการตลาดที่ใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาและด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ด้านจำนวนครั้ง และจำนวนชิ้นที่ซื้อเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05[iv]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับการซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก โดยเป็นปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.18 และเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.00 ซึ่งปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก ผู้บริโภคเห็นด้วยมากที่สุดในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ย 4.33 และด้านราคา มีค่าเฉลี่ย 4.21 ส่วนในด้านกระบวนการในการจัดการด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ย 4.18 ด้านสิ่งที่ปรากฏต่อสายตามลูกค้า มีค่าเฉลี่ย 4.09 และด้านการส่งเสริมการขาย มีค่าเฉลี่ย 4.00 ผู้บริโภคเห็นด้วยในระดับมาก[v]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) และด้านสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาลูกค้า (Physical Evidence) ด้านสถานที่ (Place) ด้านบุคคล (People) และด้านกระบวนการ (Process) ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก โดยสามารถอภิปรายผล[vi] ได้ดังนี้

  1. ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก ผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ โดยผู้บริโภคได้คำนึงถึงสินค้าควรมีคุณภาพ และมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ควรมีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
  2. ด้านราคา (Price) ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก
  3. ด้านสถานที่ (Place) ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก
  4. ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก
  5. ด้านบุคคล (People) ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก
  6. ด้านสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาลูกค้า (Physical Evidence) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก
  7. ด้านกระบวนการ (Process) ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางเฟซบุ๊ก

จากการศึกษา ควรให้ความสำคัญกับด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) และด้านสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาลูกค้า (Physical Evidence) เนื่องจาก ปัจจัยดังกล่าว ผู้บริโภคให้ความสำคัญและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก


[i] ณัฏฐ์ชิสา อัฐศักดิ์. (2558). ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนมทางออนไลน์ประเภทกระเป๋าและรองเท้าสุภาพสตรี. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

[ii] รัชดาวรรณ สังข์คำภาร์. (2557). พฤติกรรมของมารดาต่อการซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยผ่านสื่อออนไลน์. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[iii] สุภาวรรณ ชัยทวีวุฒิกุล. (2555). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์แบบร่วมกลุ่มกันซื้อบนเว็บไซต์ ENSOGO ของลูกค้าในเขตกรุงทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

[iv] พิชามาญชุ์ มะลิขาว. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[v] พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

[vi] พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *