ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับการซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก โดยเป็นปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.18 และเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.00 ซึ่งปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก ผู้บริโภคเห็นด้วยมากที่สุดในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ย 4.33 และด้านราคา มีค่าเฉลี่ย 4.21 ส่วนในด้านกระบวนการในการจัดการด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ย 4.18 ด้านสิ่งที่ปรากฏต่อสายตามลูกค้า มีค่าเฉลี่ย 4.09 และด้านการส่งเสริมการขาย มีค่าเฉลี่ย 4.00 ผู้บริโภคเห็นด้วยในระดับมาก[i]

ส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์กูลิโกะ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความคิดเห็นโดยรวมในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก คือ ด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านราคาและด้านการส่งเสริมทางการตลาด มีค่าเฉลี่ยเท่ากันเท่ากับ 3.32 ตามลำดับ[ii]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาลูกค้าและด้านผลิตภัณฑ์ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก[iii]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) และด้านสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาลูกค้า (Physical Evidence) ด้านสถานที่ (Place) ด้านบุคคล (People) และด้านกระบวนการ (Process) ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก โดยสามารถอภิปรายผล[iv] ได้ดังนี้

  1. ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก ผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ โดยผู้บริโภคได้คำนึงถึงสินค้าควรมีคุณภาพ และมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ควรมีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
  2. ด้านราคา (Price) ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก
  3. ด้านสถานที่ (Place) ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก
  4. ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก
  5. ด้านบุคคล (People) ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก
  6. ด้านสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาลูกค้า (Physical Evidence) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก
  7. ด้านกระบวนการ (Process) ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางเฟซบุ๊ก

จากการศึกษา ควรให้ความสำคัญกับด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) และด้านสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาลูกค้า (Physical Evidence) เนื่องจาก ปัจจัยดังกล่าว ผู้บริโภคให้ความสำคัญและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก

วีระนุช รายระยับ (2556) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าจากสื่ออินเทอร์เน็ตในกลุ่มวัยรุ่น พบว่า ปัจจัยทางด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาและด้านผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าจากอินเทอร์เน็ตในกลุ่มวัยรุ่น[v]

ปุลณัช เดชมานนท์ (2556) ศึกษาเรื่อง การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ในช่วงเวลาจำกัด พบว่า อายุที่มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทุกด้าน ส่วนอาชีพมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านสถานที่และด้านการส่งเสริมการขาย รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา ด้านสถานที่ และด้านการส่งเสริมการขาย เพราะความสะดวกในการรับสินค้า ส่วนเหตุผลการเลือกซื้อมีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา ด้านสถานที่ และด้านการส่งเสริมการขาย ในขณะที่วิธีการสั่งซื้อ และระยะเวลาในการสั่งซื้อมีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทุกด้าน[vi]

ชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม (2558) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่ายส่งผลกระตุ้นให้พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการทางออนไลน์ทางด้านระบบรักษาความปลอดภัย และผู้บริโภคได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการตลาดเกี่ยวกับ ลด แลก แจก แถมสินค้าหรือบริการจากระบบออนไลน์ รวมถึงการได้รับสิทธิพิเศษเมื่อทำการสั่งซื้อสินค้า[vii]

รัชดาวรรณ สังข์คำภาร์ (2557) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมของมารดาต่อการซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยทางออนไลน์ ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยทางออนไลน์ พบว่า มารดาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในระดับมาก ในปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายทางออนไลน์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา ตามลำดับ โดยปัจจัยย่อยของส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยทางออนไลน์ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ แสดงข้อมูลและรูปถ่ายของสินค้าอย่างละเอียด ระบบการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และการสื่อสารการให้ข้อมูลของสินค้าอย่างถูกต้อง ตามลำดับ[viii]

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์ (2556) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านความไว้วางใจ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสำคัญมาก และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านความไว้วางใจ และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05[ix]


[i] พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

[ii] ปานรวี ธนกิจรุ่งทวี และสุพาดา สิริกุตตา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร http://kowdum.com/article/fileattachs/27072021114039_f_0.pdf

[iii] พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

[iv] พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

[v] วีระนุช รายระยับ. (2556). พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าจากสื่ออินเทอร์เน็ตในกลุ่มวัยรุ่น. ภาคนิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรชมงคลพระนคร.

[vi] ปุลณัช เดชมานนท์. (2556). การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อเครือข่ายออนไลน์ในช่วงเวลาจำกัด. ภาคนิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[vii] ชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม. (2558). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนคร.

[viii] รัชดาวรรณ สังข์คำภาร์. (2557). พฤติกรรมของมารดาต่อการซื้อสินค้าสำหรับเด็กปฐมวัยผ่านสื่อออนไลน์. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[ix] วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหวิทยาลัยกรุงเทพ.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *