แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา (2)

ส่วนประสมทางการตลาด หมายถึง เครื่องมือทางการตลาดที่ธุรกิจนำมาใช้เพื่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้[i]

ปัจจัยด้านราคา หมายถึง จำนวนเงินที่บุคคลต้องจ่ายเพื่อตอบแทนกับการได้รับกรรมสิทธิ์ สิทธิ ความสะดวกสบาย และความพอใจในผลิตภัณฑ์นั้นให้กับเจ้าของเดิม[ii]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา หมายถึง ความเหมาะสมของราคาเสื้อผ้าที่มีการจำหน่ายผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ คุณภาพคุ้มค่ากับราคา มีหลากหลายราคาให้เลือกซื้อ สามารถมีการต่อรองราคาในขณะที่ทำการซื้อขาย สินค้าได้[iii]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภค รายการสูงสุด ได้แก่ ราคามีความเหมาะสมกับคุณภาพของบ้าน รองลงมา คือ มีราคาบ้านหลากหลายให้เลือกซื้อ และราคาสามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่น ๆ ได้ ตามลำดับ[iv]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออันดับสุดท้าย มีความสำคัญอยู่ในเกณฑ์ ระดับมากและอันดับแรกที่มีผลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรร คือ ราคามีความเหมาะสมกับคุณภาพของบ้านที่เลือกซื้อ ซึ่งผู้ดำเนินการบ้านจัดสรรอาจกำหนดราคาในการชำระเงินให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจปัจจุบัน[v]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ มีราคาเหมาะสมกับคุณภาพสินค้า รองลงมาคือ มีสินค้าราคาถูกกว่าร้านค้าออนไลน์อื่น ๆ และปัจจัยด้านราคาส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยปกติแล้วในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผู้บริโภคจะต้องมีการเปรียบเทียบราคาก่อนซื้อเสมอ อย่างแรกจะเปรียบเทียบราคากับคุณภาพสินค้าว่า มีคามคุ้มค่าที่ได้รับจากสินค้านั้น ๆ หรือไม่ และอย่างที่สองมีการเปรียบเทียบราคาสินค้ากับร้านค้าออนไลน์อื่น ๆ อีกด้วย เนื่องจาก ในสื่อสังคมออนไลน์นั้นการค้นหาราคาสินค้าของแต่ละร้านเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย จึงทำให้ผู้บริโภคต้องมีการเปรียบเทียบราคาก่อนซื้อเสมอ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด[vi]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา หมายถึง มูลค่าของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่มีจำหน่ายในร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ในจังหวัดพัทลุง ในรูปตัวเงินหรือเป็นสิ่งที่ต้องจ่ายสำหรับการได้มาซึ่งความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคา[vii]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคาที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าผ่านช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่านและกรุงเทพมหานคร พบว่า ในภาพรวมอยู่ระดับมาก พิจารณารายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ในข้อ ราคาคุ้มค่าเมื่อซื้อผ่านแอพพลิเคชั่น[viii]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา โดยรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก โดยระดับความสำคัญมากที่สุด คือ ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ และระดับความสำคัญปานกลาง คือ ราคาต่ำกว่าสินค้าคู่แข่ง และมีป้ายแสดงราคาชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจาก ผู้บริโภคในเขตจังหวัดปทุมธานีต่างมีความเข้าใจถึงสินค้าในเรื่องคุณภาพ และราคา จึงมองเรื่องคุณภาพที่สมกับราคามาเป็นอันดับหนึ่ง ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ผู้บริโภคต่างมีความเข้าใจว่า ราคาที่ถูกที่สุดไม่ใช่ประเด็นที่ต้องเอามาพิจารณเป็นอันดับแรกเสมอไป แต่เป็นเรื่องคุณภาพที่เหมาะสมกับราคาที่วางเอาไว้ต่างหาก จึงจะเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมาเป็นอันดับแรก[ix]

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อสิ่งกระตุ้นทางด้านราคาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสิ่งที่กระตุ้นทางด้านราคาอยู่ที่ระดับมากที่สุดเรียงลำดับดังนี้ มีความหลากหลายของวิธีการชำระเงิน ความชัดเจนในการแสดงราคาสินค้า มีราคาในเลือกหลายระดับราคา ราคามีความเหมาะสมกับคุณภาพ และราคาเสื้อผ้าถูกกว่าการซื้อผ่านแหล่งจำหน่ายอื่น ตามลำดับ ดังนั้น การมีความหลากหลายของวิธีการชำระเงิน ทั้งจ่ายด้วยบัตรเครดิต แอปพลิเคชั่นวอลเลท หรือการเก็บเงินปลายทาง ก็จะช่วยให้ลูกค้ามีทางเลือกที่หลากหลายเพิ่มความสะดวกในการชำระเงิน ความชัดเจนในการแสดงราคาสินค้า ราคามีความเหมาะสมกับคุณภาพ และราคาเสื้อผ้าถูกกว่าการซื้อผ่านแหล่งจำหน่ายอื่น ๆ ก็จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้รวดเร็วและลดการที่ลูกค้าจะไปซื้อกับคู่แข่ง[x]

โยษิตา นันทภาคย์ และคม คัมภิรานนท์ (2563) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้ามัลติแบรนด์ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท Instagram ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4Ps ปัจจัยด้านราคา ทำให้การซื้อสินค้าตามราคาที่ต้องการโดยไม่ตระหนักถึงคุณภาพ ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าร้านค้ามัลติแบรนด์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวายเท่านั้น ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ไม่ส่งผลและพบว่า ไม่มีเหตุผลใดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้ามัลติแบรนด์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย[xi]


[i] ศรัณยนันท์ ศรีจงใจ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[ii] อนัสรีย์ เพชรขุ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

[iii] ศรัณยนันท์ ศรีจงใจ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[iv] อนัสรีย์ เพชรขุ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

[v] อนัสรีย์ เพชรขุ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

[vi]ชุติมา คล้ายสังข์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 15(1), 37 – 69.

[vii] ภัทรวดี กฤตรัชตนันต์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ของประชาชนในจังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

[viii] สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

[ix] สุกัญญา เรียงเครือ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกระชับสัดส่วน Wealthy ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดปทุมธานี. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

[x] นิรากร คำจันทร์.  (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิงของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ผ่านแอปพลิเคชั่นอินสตาแกรมในประเทศไทย. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

[xi] โยษิตา นันทิภาคย์ และคม คัมภิรานนท์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้ามัลติแบรนด์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท Instagram ของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารรัชภาคย์, 14(36), 130 – 146.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *