ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมกรตัดสินใจซื้อ

ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุและระดับการศึกษาปริญญาโท ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก โดยที่อายุที่มากขึ้นจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุน้อย ระดับการศึกษาปริญญาโทจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อลดลง เมื่อเทียบกับระดับมัธยม พฤติกรรมผู้บริโภค (6W 1H) ช่วงเวลา 18.00 – 21.00 น. ส่งผลให้มีการตัดสินใจซื้อมากขึ้น เมื่อเทียบกับ 0.01 – 03.00 น. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ สินค้ามีคุณภาพมาตรฐาน และหลากหลาย ด้านการส่งเสริมการตลาด ร้านค้ามีการโฆษณาและมีการลดราคาหรือแจกแถมสินค้า และด้านสิ่งที่ปรากฏต่อสายตาลูกค้าร้านค้ามีคนติดตามจำนวนมากและมีการแสดงข้อมูลอย่างชัดเจน[i]

ผู้บริโภคที่มีลักษณะประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะแตกต่างกัน[ii] พบว่า

  1. ลักษณะประชากรศาสตร์ ด้านเพศที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะ ด้านท่านรู้สึกเพลิดเพลินเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในข้อท่านรู้สึกเพลิดเพลินเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก โดยเพศหญิงจะรู้สึกเพลิดเพลินเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก มากกว่า เพศชาย เนื่องจาก โดยทั่วไปเพศหญิงมักจะมีพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยว และซื้อขนมมากกว่าเพศชาย จึงถือได้ว่า ความชอบของเพศหญิงต่อขนมขบเคี้ยวเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะ
  2. ลักษณะประชากรศาสตร์ ด้านอายุที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะ แตกต่างกัน โดยจำแนกเป็นรายด้าน คือ ท่านมักจะซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน (ตัดสินใจซื้อโดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า) และท่านจะรู้สึกเพลิดเพลินเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านท่านจะรู้สึกตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในข้อท่านมักจะซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน โดยไม่วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยผู้บริโภคที่มีอายุ 18 – 23 ปี มีพฤติกรรมซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน โดยไม่วางแผนไว้ล่วงหน้า มากกว่า เมื่อเทียบกับผู้บริโภคที่มีอายุมาก เนื่องจาก ผู้บริโภคที่อายุน้อยเป็นกลุ่มที่มีความชื่นชอบในการรับประทานขนมขบเคี้ยวสูง อีกทั้งในการคิด พิจารณา และการตัดสินใจมักจะใช้เวลาตัดสินใจน้อยกว่าผู้ที่มีอายุมาก ทำให้เมื่อพบสินค้าที่คุ้นเคย หรือเป็นที่รู้จัก จึงเกิดการซื้อแบบฉับพลัน โดยไม่วางแผนไว้ล่วงหน้า กลุ่มผู้ที่มีอายุมาก ในข้อท่านรู้สึกเพลิดเพลินเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก โดยผู้บริโภคที่มีอายุ 30 – 35 ปี จะรู้สึกเพลิดเพลินเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรกมากที่สุด เนื่องจาก เป็นกลุ่มที่เริ่มรู้ถึงความต้องการของตนเอง มีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า หากพบสินค้าที่ตรงกับความต้องการและมีความคุ้มค่าในการซื้อ ก็จะเกิดการซื้อสินค้านั้นด้วยความเพลิดเพลิน
  3. ลักษณะประชากรศาสตร์ ด้านระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะ แตกต่างกัน โดยจำแนกเป็นรายด้าน คือ ท่านมักจะซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน (ตัดสินใจซื้อโดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า) ท่านจะรู้สึกตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก และท่านจะรู้สึกเพลิดเพลินเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในข้อท่านมักจะซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน โดยไม่วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีพฤติกรรมซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน โดยไม่วางแผนไว้ล่วงหน้ามากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจาก กลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีนั้นเป็นกลุ่มที่มีการคิด พิจารณา หรือการใช้เหตุผลในการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารน้อยกว่า ซึ่งเมื่อพบสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ก็จะเกิดการซื้อผลิตภัณฑ์นั้นโดยทันที ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน ในข้อท่านรู้สึกตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก โดยระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จะตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก มากที่สุด เนื่องจาก กลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีนั้นเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญในเรื่องการบริโภคอาหาร การเลือกซื้ออาหาร ความตระหนักเกี่ยวกับสุขภาพน้อยกว่ากลุ่มผู้ที่ระดับการศึกษาที่สูงกว่า จึงทำให้เกิดการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความพึงพอใจ เลือกซื้อโดยไม่มีข้อกังวล ในขณะที่ผู้บริโภคกลุ่มที่ระดับการศึกษาสูงกว่านั้น อาจมีข้อกังวลในการเลือกบริโภคอาหาร ดังนั้น ผู้บริโภคในกลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีจึงเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะอย่างไม่มีข้อกังวล จึงทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรกเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ผู้ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน ในข้อท่านรู้สึกเพลิดเพลินเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก โดยระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จะรู้สึกเพลิดเพลินเวลาดที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก มากกว่าผู้ที่ระดับการศึกษาสูงกว่า เนื่องจาก ผู้ที่ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีเป็นกลุ่มที่เลือกซื้อสินค้าโดยการใช้เวลาในการพิจารณาเพียงเล็กน้อย ถ้าหากผลิตภัณฑ์นั้นตรงตามความต้องการ และมีราคาที่อยู่ในระดับที่สามารถจ่ายได้ ก็จะซื้อโดยทันที ในขณะเดียวกันผู้ที่ระดับการศึกษาที่สูงกว่ามักจะมีความระมัดระวังในเรื่องสุขภาพ รับประทานอาหารเป็นเวลา ให้ความสำคัญต่อสุขภาพ
  4. ลักษณะประชากรศาสตร์ ด้านอาชีพ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะ แตกต่างกัน โดยจำแนกเป็นรายด้าน คือ ท่านมักจะซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน (ตัดสินใจซื้อโดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า) และท่านจะรู้สึกตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนท่านจะรู้สึกเพลิดเพลินเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในข้อท่านมักจะซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน โดยไม่วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยอาชีพนักเรียน/นักศึกษามีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน โดยไม่วางแผนไว้ล่วงหน้า มากกว่าอาชีพอื่น เนื่องจาก กลุ่มนักเรียน/นักศึกษาอยู่ในสังคมแบบกลุ่มเพื่อน ที่มักจะมีการบริโภคขนมขบเคี้ยวอยู่เป็นปกติ และเมื่อยิ่งการกระตุ้น จากปัจจัยทางการตลาดแล้วก็จะยิ่งทำให้เกิดพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะสูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ในข้อท่านรู้สึกตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก โดยอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จะรู้สึกตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก มากกว่าอาชีพอื่น เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์กูลิโกะเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวที่บุคคลทั่วไปสามารถบริโภคได้ มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไป เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการ อีกทั้งผลิตภัณฑ์กูลิโกะมีการส่งเสริมการตลาดที่สามารถดึงดูดใจผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวได้ จึงทำให้ผู้บริโภครู้สึกตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก
  5. ลักษณะประชากรศาสตร์ ด้านรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะ แตกต่างกัน โดยจำแนกเป็นรายด้าน คือ ท่านมักจะซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน (ตัดสินใจซื้อโดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า) ท่านจะรู้สึกตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก และท่านจะรู้สึกเพลิดเพลินเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรกแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในข้อท่านมักจะซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน โดยไม่วางแผนไว้ล่วงหน้า โดยรายได้ 15,001 – 25,000 บาท มีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์กูลิโกะแบบฉับพลัน โดยไม่วางแผนไว้ล่วงหน้า มากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจาก เป็นกลุ่มที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นในการเข้าสู่วัยทำงาน ซึ่งมีอายุน้อย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการบริโภคขนมขบเคี้ยว อีกทั้งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีความเสี่ยงเรื่องสุขภาพจึงทำให้ผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวนี้มีการซื้อขนมขบเคี้ยวเพื่อรับประทาน ในข้อท่านรู้สึกตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก โดยรายได้ 35,001 – 45,000 บาท และ 45,001 – 55,000 บาท จะรู้สึกตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรกมากที่สุด เนื่องจาก ผลิตภัณฑ์กูลิโกะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นเต้นเวลาที่ได้ซื้อของที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อไว้ในตอนแรก 

[i] พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

[ii] ปานรวี ธนกิจรุ่งทวี และสุพาดา สิริกุตตา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อแบบฉับพลันของผลิตภัณฑ์กูลิโกะของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร http://kowdum.com/article/fileattachs/27072021114039_f_0.pdf

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *